กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ครัวเรือนสะอาด น่าอยู่ ปลอดภัย ไร้โรคหมู่ที่ 1 บ้านฝาละมี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

ชมรม อสม. หมู่ที่ 1 ตำบลฝาละมี

1. นางบุญพาพรหมแก้ว2. นส.นิยมณ พัทลุง 3. นส.โสพิศภักดีบำรุง 4. นางนุชนาจไหมแก้ว 5. นางกัญญาภัครจิตรหมั้น

หมู่ที่ 1 ตำบลฝาละมี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัด ปัญหาขยะนับเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบัน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพ ขยะเป็นต้นเหตุสำคัญในการก่อให้เกิดโรค เพราะขยะเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของเชื้อโรค ซึ่งโรคที่เกิดจากขยะมูลฝอย ได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร ,โรคจากสัตว์/แมลง เช่น โรคไข้เลือดออก , โรคจากการติดเชื้อ ,โรคภูมิแพ้ ,โรคปวดศีรษะ คลื่นไส้และอาเจียนจากกลิ่นเน่า ,โรคมะเร็งอันเนื่องจากการได้รับสารพิษต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และผลกระทบต่อระบบต่างๆ ภายในร่างกาย

ประเภทขยะสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ขยะอินทรีย์ พบร้อยละ 64, ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 30, ขยะอันตราย ร้อยละ 3 และขยะทั่วไป ร้อยละ 3 จะเห็นได้ว่าขยะอินทรีย์มีปริมาณที่เยอะมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะที่เหลือใช้จากครัวเรือน เช่น จากเศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหาร ถ้าไม่มีการกำจัดอย่างถูกวิธีก็จะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค/พาหะนำโรคได้

จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับแผนรณรงค์ “แยกก่อนทิ้ง” และการจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะในเปียกครัวเรือนโดยการทำถังขยะหลุมเป็น ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงมหาดไทย กลุ่มบริหารจัดการขยะในชุมชนตำบลบ้านควน ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการ “ครัวเรือนสะอาด น่าอยู่ ปลอดภัย ไร้โรค
ชุมชนบ้านฝาละมี” ขึ้น เพื่อให้มีการคัดแยกขยะและการจัดการขยะที่ถูกวิธี ถูกสุขลักษณะเพื่อการป้องกันโรค โดยการสร้างความเข้าใจความตระหนักของประชาชนภายใต้ความร่วมมือของชุมชน นำไปสู่การป้องกันโรคภัยที่จะเกิดจากขยะ อีกทั้งเป็นการสร้างชุมชนให้มีความสะอาดเรียบร้อยเป็นชุมชนที่น่าอยู่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อป้องกันโรคจากขยะมูลฝอย

ประชาชนไม่ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากขยะมูลฝอย เช่น โรคไข้เลือดออก โรคท้องเสีย เป็นต้น

50.00 30.00
2 2.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพในชุมชน

ร้อยละ 80 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีการมีการคัดแยกขยะ

60.00 80.00
3 ครัวเรือนมีการจัดการขยะอย่างถูกวิธี

ร้อยละ 80 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีการมีการจัดการขยะอย่างถูกวิธี

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์โครงการ โดยการประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้นำชุมชน อสม. กลุ่มแกนนำต่างๆในหมู่บ้านจำนวน 30 คน โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้1. ค่าจัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์ โครงการจำนวน 3 ป้ายๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 30 คน 2.ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจ ในโครงการ และได้แนวทางการดำเนินงาน 3. มีผู้เข้าร่วมโครงการ 80 ครังเรือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และสาธิตการทำถังหลุมและน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้และสาธิตการทำถังหลุมและน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 80 คน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 80 คน ๆละ 25 บาทต่อมื้อจำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน2,000 บาท3. ค่าสมนาคุณตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท 3. ค่าวัสดุสาธิต การทำน้ำหมักชีวภาพ เป็นเงิน2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 เมษายน 2565 ถึง 6 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 80 คน 2.ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4900.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม Big Cleaning Day ในชุมชนทุกวันศุกร์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม Big Cleaning Day ในชุมชนทุกวันศุกร์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม รณรงค์ทำความสะอาดในชุมชน และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปการดำเนินกิจกรรม ก่อน หลัง โครงการ จำนวน 2 ครั้ง โดยมีค่าใช้จ่างดังนี้ 1.1. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 80 คน ๆละ 25 บาทต่อมื้อจำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มีนาคม 2565 ถึง 26 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 4 จัดตั้งจุดคัดแยกขยะรีไซเคิล จำนวน 1 จุด

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งจุดคัดแยกขยะรีไซเคิล จำนวน 1 จุด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดตั้งจุดคัดแยกขยะรีไซเคิล จำนวน 1 จุด โดยมีค่าใช้จ่าย 1. ค่าจัดทำถังตะแกรงเหล็ก คัดแยกขยะรีไซเคิล จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มีนาคม 2565 ถึง 15 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจประเภทของขยะ และการจัดการขยะแต่ละประเภท 2. ปริมาณขยะมูลฝอยครัวเรือนลดลง บ้านเรือนสะอาด น่าอยู่ ปลอดภัย ไร้โรค
3.มีแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี และปลอดภัยจากโรค


>