กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริการทันตกรรมเชิงรุกในนักเรียนประถมศึกษา ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

รพ.สต.แหลมโตนด

รร.วัดแหลมโตนดและโรงเรียนบ้านเตง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็ก 6-12 ปี ได้รับบริการทันตกรรม

 

85.47
2 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

45.00

งานดำเนินงานทันตสาธารณสุขในกลุ่มเด็กประถมศึกษา ถือว่าเป็นงานที่สำคัญประการหนึ่งของการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย ซึ่งเป็นการเข้าไปมีบทบาทในการให้บริการทางด้านสาธารณสุขที่ภาครัฐจัดให้แก่ประชากรกลุ่มวัยเรียน ดังนั้นกลุ่มเด็กวัยเรียนควรได้รับการส่งเสริมทันตสุขภาพ ด้วยเหตุผลอันเนื่องมาจากเด็กวัยเรียนเป็นวัยพื้นฐานของการเจริญเติบโต จำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กวัยเรียนต้องได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคม อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อก้าวหน้าสู่วัยทำงานที่มีคุณภาพ ดังนั้นแนวคิดใหม่ในการพัฒนาเด็กวัยเรียนควบคู่ไปกับการศึกษาจึงเกิดขึ้น โดยมีโรงเรียนซึ่งถือเป็นสถาบันทางสังคมพื้นฐาน และที่สำคัญมีหน้าที่พัฒนาเยาวชนให้มีศักยภาพสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข และเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกฝังความรู้ ทางสุขภาพ ทัศนคติที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และพัฒนากลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี มีศักยภาพและ คุณภาพที่พึงประสงค์เพื่อร่วมพัฒนาประเทศต่อไป
ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษา เมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ ที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกันและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้น นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็กนักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ ๖-๑๒ ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่าย นอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานอาหารของหวานตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ โรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันและสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดี และการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะแรกของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้จากการดำเนินงานทันตกรรมในเด็กวัยเรียน ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ พบว่าเด็กวัยเรียนเกิดโรคฟันผุร้อยละ ๕๒.๐ เฉลี่ย (DMFT) ๑.๔ ซี่/คน จากการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาจะเห็นได้ว่าโรคฟันผุยังเป็นปัญหาสำคัญในเด็กวัยเรียน ในขณะที่เด็กมากกว่าครึ่งมีฟันผุแต่กลับเข้าถึงการบริการทันตกรรมได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งหากได้การดูแลส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพอย่างเหมาะสม รวมถึงการการตรวจคัดกรองและให้บริการตามความจำเป็น จะสามารถควบคุมและลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กประถมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ดังนั้น งานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมโตนดจึงจัดทำโครงการบริการทันตกรรมเชิงรุกในนักเรียนประถมศึกษา ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายในการประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพช่องปากนักเรียน และให้บริการทันตกรรมตามความจำเป็น เพื่อป้องกัน รักษา และส่งเสริมสุขภาพช่องปากนักเรียนให้มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล ๑ - ประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

นักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล ๑ - ประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

0.00 0.00
2 เพื่อให้นักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล ๑ - ประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับการบริการทันตกรรมตามความจำเป็น เช่น ่เคลือบฟลูออไรด์ เคลือบหลุมร่องฟัน ขูดหินปูนและถอนฟัน

นักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล ๑ - ประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับการบริการทันตกรรมตามความจำเป็น

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล ๑ - ประถมศึกษาปีที่ ๖ มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น (Cavity free)

นักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล ๑ - ประถมศึกษาปีที่ ๖ มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น (Cavity free)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 253
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดหาอุปกรณ์ให้นักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล ๑ - ประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับการบริการทันตกรรมตามความจำเป็น เช่น เคลือบฟลูออไรด์ เคลือบหลุมร่องฟัน ขูดหินปูนและถอนฟัน

ชื่อกิจกรรม
จัดหาอุปกรณ์ให้นักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล ๑ - ประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับการบริการทันตกรรมตามความจำเป็น เช่น เคลือบฟลูออไรด์ เคลือบหลุมร่องฟัน ขูดหินปูนและถอนฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. ค่าถ่ายเอกสารแบบตรวจสุขภาพช่องปากจำนวน๒๓๖ใบ ๆ ละ ๕๐ สตางค์เป็นเงิน ๑๑๘บาท ๒. ชุดแปรงสีฟัน+ยาสีฟันเด็กอนุบาลจำนวน๕๕ ชุดๆละ ๓๕ บาท เป็นเงิน ๒๒๐๐ บาท ๓. ชุดแปรงสีฟัน+ยาสีฟันเด็กชั้น ป๑-ป.๖ จำนวน ๑๘๑ ชุดๆละ ๓๕ บาท เป็นเงิน ๖๓๓๕ บาท ๔. เก้าอี้สนามจำนวน ๑ ตัวๆ ละ ๑๓,๕๐๐บาท เป็นเงิน ๑๓,๕๐๐ บาท ๕. เครื่องดูดเสมหะแบบมีตู้จำนวน๑เครื่อง ๆ ละ๑๖,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๖,๐๐๐ บาท ๔. กระบอกฉีดยาชา (syring Injec) จำนวน๒๐ อันๆ ละ ๘๕๐บาท เป็นเงิน ๑๗,๐๐๐ บาท ๕. หัวขูดหินปูน (P๑๐) จำนวน ๒๐ หัวๆละ ๑,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท ๖. ฟลูออไรด์วานิช แบบซอง จำนวน ๒๓๖ซองๆละ๗๐ บาท เป็นเงิน ๑๖,๕๒๐ บาท ๗. พู่กันฟลูออไรด์ ๑๐๐ ก้าน จำนวน๓กระปุกๆละ๑๕๐บาท เป็นเงิน ๔๕๐ บาท ๘. Sealant จำนวน ๓ แพ็คๆ ละ ๑,๘๕๐บาท เป็นเงิน ๕,๕๕๐ บาท ๙. Etching จำนวน ๓ แพ็คๆละ ๔๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๒๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละนักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล ๑ - ประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับการบริการทันตกรรมตามความจำเป็น เช่น เคลือบฟลูออไรด์ เคลือบหลุมร่องฟัน ขูดหินปูนและถอนฟัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
98340.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 98,340.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ร้อยละ ๘๐ นักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล ๑ - ประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
๒. ร้อยละ ๘๐ นักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล ๑ - ประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับการบริการทันตกรรม ตามความจำเป็น
๓. ร้อยละ ๖๐ นักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล ๑ - ประถมศึกษาปีที่ ๖ มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น (Cavity free)


>