กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระบาดในเด็กตามสถานศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระบาดในเด็กตามสถานศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองควนลัง

งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

เทศบาลเมืองควนลัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด

 

100.00
2 ร้อยละของเด็กเล็ก 2-6 ปี ที่เป็นโรคมือเท้าปากระบาด

 

100.00
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

100.00

จากสถานการณ์การเกิดโรคมือ เท้า ปาก ข้อมูลระบาดวิทยาตำบลควนลังตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕60 – ๒๕64(1 มกราคม 2564 – 31 ตุลาคม 2564) พบผู้ป่วย20, 11, 16, 22 และ 32 ตามลำดับคิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร คือ47.93, 27.24, 35.56, 29.72 และ 66.10 ตามลำดับ ซึ่งอัตราป่วยดังกล่าวนี้เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (เกณฑ์ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร) ในปี 2564 มีการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในเด็ก ซึ่งทำให้มีเด็กติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กติดเชื้อเหล่านี้ มีความเสี่ยงที่จะแพร่ระบาดระหว่างเด็กด้วยกันทำให้มียอดผู้ติดเชื้อจากโรคนี้เพิ่มมากขึ้น โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในลำไส้ ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้จะถูกขับออกจากร่างกายมากับอุจจาระ สามารถแพร่กระจายไปสู่คนอีกคนหนึ่งได้โดยการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสที่มาจากอุจจาระ และติดต่อได้ง่าย โดยการสัมผัสโดยตรงกับน้ำมูก น้ำลาย และน้ำจากในตุ่มใส เชื้อโรคอาจติดมากับสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ หรือการไอ จาม รดกันก็ได้ มักพบในเด็กเป็นส่วนใหญ่ เพราะเด็กจะมีความเสี่ยงสูงที่สุดเพราะมักจะไม่สามารถรักษาความสะอาดส่วนตัวได้ดี เด็กจึงมักแพร่เชื้อไวรัสไปสู่เด็กอื่นๆ ได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่อยู่รวมกันมากๆ อย่างโรงเรียนอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก เป็นต้นและจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ข้อมูลระบาดวิทยาตำบลควนลังตั้งแต่วันที่1เมษายน-30พฤศจิกายนพ.ศ. 2564พบผู้ป่วยจำนวน1,916รายคิดเป็นอัตราป่วย3,884.75ต่อแสนประชากรส่วนผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ20 - 29ปี รองลงมา30 - 39 ปีและ 40 - 49 ปีตามลำดับถึงแม้ว่าจำนวนผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ที่อยู่ในวัยเรียนจะพบน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่หรือวัยทำงาน และยังไม่พบเหตุการณ์การระบาดในสถานศึกษาก็ตามแต่ในกลุ่มเด็กเล็กและเด็กวัยเรียนผู้ปกครองและครูต้องดูแลและสังเกตอาการเป็นพิเศษเพราะเด็กอาจป่วยและไม่สามารถบอกอาการเองได้แม้ว่าเทศบาลเมืองควนลังได้ดำเนินการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ระบาดในเด็กตามสถานศึกษามาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557แต่ในการดำเนินงานจำเป็นต้องมีการป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องทุกปีเพื่อให้เด็กในสถานศึกษาปลอดภัยจากโรคมือ เท้า ปากและโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ดังนั้น งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อฝ่ายบริการสาธารณสุขกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเห็นความสำคัญในการรณรงค์ให้ความรู้และวิธีป้องกัน โรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019แก่ผู้ประกอบการสถานศึกษา คุณครู พ่อแม่และผู้ปกครองของเด็ก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ดังกล่าวเพื่อยับยั้งการระบาดของโรค ที่จะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ระบาดในเด็กตามสถานศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการเป็นโรคมือเท้าปากของเด็กเล็ก(2-6 ปี)

ร้อยละของเด็กเล็ก 2-6 ปี ที่เป็นโรคมือเท้าปากระบาด

100.00 100.00
2 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด

การแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด(ร้อยละ)

100.00 100.00

1. เพื่อรณรงค์ให้ความรู้ในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ในสถานศึกษา
2. เพื่อป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ในสถานศึกษา

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โรคมือ เท้า ปาก ขนาด 1.20*2.50 ม. รวม 3 ตร.ม. ๆละ 120.- บาท จำนวน 13 ป้าย เป็นเงิน 4,680.- บาท
  2. ค่าจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขนาด 1.20*2.50 ม. รวม 3 ตร.ม. ๆละ 120.- บาท จำนวน 13 ป้าย เป็นเงิน 4,680.- บาท
  3. ค่าแผ่นพับประชาสัมพันธ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา แผ่นละ 2.50 จำนวน 20,000 ใบ เป็นเงิน 25,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2022 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนได้รับแผ่นพับเพื่อเป็นความรู้ในการป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34360.00

กิจกรรมที่ 2 2. ค่าใช้จ่ายกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
2. ค่าใช้จ่ายกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ จำนวน 300 กล่อง ๆละ 120.- บาท เป็นเงิน 36,000.- บาท
  2. ค่าสบู่เหลว ขนาด3,800 ซีซี จำนวน 65 ขวด ๆละ 340.- บาท เป็นเงิน 22,100.- บาท
  3. ค่าขวดหัวปั้มใส่สบู่เหลว จำนวน 65 ขวด ๆละ 80 บาท เป็นเงิน 5,200.- บาท
  4. ค่าเจลแอลกอฮอล์ล้างมือแบบหัวปั้ม 500 ซีซี จำนวน 300 ขวด ๆละ 125.- บาท เป็นเงิน 37,500.- บาท
  5. ค่าแอลกอฮอล์ 75 % จำนวน 65 แกลลอน ๆละ 620.- บาท เป็นเงิน 40,300.- บาท
  6. ค่ากระบอกฉีดน้ำ จำนวน 65 ใบ ๆละ 45.- บาท เป็นเงิน 2,925.- บาท
  7. ค่าน้ำยาเดทตอล ขนาด 1,200 ซีซี จำนวน 65 ขวด ๆละ 600.- บาท เป็นเงิน 39,000.- บาท
  8. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นเงิน 2,615.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2022 ถึง 30 กันยายน 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนได้รับความรู้ในการป้องกันโรคและอุปกรณ์ในการป้องกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
185640.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 220,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครูมีความรู้ในการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคมือ เท้า ปากและโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2. เด็กในโรงเรียนไม่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปากและโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และลดการติดเชื้อในสถานศึกษา


>