กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากโดยการใช้นวัตกรรมนมโพรไบโอติกส์ป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแหลมโตนด ปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากโดยการใช้นวัตกรรมนมโพรไบโอติกส์ป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแหลมโตนด ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

รพ.สต.แหลมโตนด

ศพด.บ้านกองเกวียน,ศพด.วัดแหลมโตนด,ศพด.บ้านเตง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กอายุ 2-5 ปี ที่มีปัญหาฟันน้ำนมผุ

 

55.80

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุในเด็กเล็กซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ สุขภาพ การบดเคี้ยว ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวันข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 ปี พ.ศ. 2560 พบว่ากลุ่มเด็กอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 52.9 โดยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 52 และเด็กอายุ 5 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 75.6ไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 73.8ในขณะที่ภาคใต้ พบว่าเด็ก 3 ปีมีอัตราการเกิดฟันผุสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ เป็นร้อยละ 51 และเป็นฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาสูงสุดร้อยละ 50สำหรับจังหวัดพัทลุง ปัญหาฟันผุใน เด็กเล็กยังเป็นปัญหาสำคัญ โดยจากระบบรายงานสาธารณสุข(HDC) ปี พ.ศ. 2561 -2562พบว่ามีความชุกฟันผุในฟันน้ำนม เป็นร้อยละ 55.2 และ 49.2 ตามลำดับ และจากการสำรวจสภาวะช่องปากในเด็กอายุ 1- 5 ปีของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ในปี 2551 พบว่า เด็กมีอัตราการเกิดฟันผุ ร้อยละ 55.8ส่วนใหญ่เด็กมีฟันผุในช่องปากอย่างน้อย 1ซี่
สำหรับมาตรการในการแก้ปัญหาโรคฟันผุในเด็กเล็ก เน้นการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยการให้บริการเชิงรุก บูรณาการงานสุขภาพช่องปากกับสหวิชาชีพ ในทุกสถานบริการ ได้แก่ การให้ความรู้ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภคและการดูแลช่องปากเด็กเล็กแก่ผู้ปกครอง ฝึกทักษะการแปรงฟันให้กับผู้ปกครอง รณรงค์การแปรงฟันก่อนนอนให้เด็กโดยผู้ปกครอง การตรวจสุขภาพช่องปากและคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การทาฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุ และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมทั้งการมุ่งเน้นการใช้นวัตกรรมใหม่เพื่อพัฒนากิจกรรมด้านการสร้างเสริมป้องกันโรคในช่องปากให้มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ คือ การพัฒนาจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์เพื่อป้องกันฟันผุ จากการคัดเลือกสายพันธ์สู่การนำไปใช้ ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยที่ได้รับรางวัลดีเด่นในระดับนานาชาติ ของ ศ.ดร.รวี เถียรไพศาล และผศ.ดร.ทพญ.สุพัชรินทร์ พิวัฒน์ คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์โดยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ (อย.กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 346 พ.ศ.2555) กลไกการทำงานของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ได้แก่ แข่งขันการได้รับสารอาหารและพื้นที่ยึดเกาะจากเชื้อที่ก่อโรค ปล่อยสารโปรตีนที่ต้านจุลชิพ และกระตุ้นภูมิคุ้มกันในช่องปาก ปัจจุบันมีการพัฒนาในรูปแบบ “นมอัดเม็ดผสมโพรไบโอติกส์” ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่า ผลการป้องกันฟันผุและการเกิดฟันผุใหม่ในเด็กเล็กที่มีฟันผุ 0-2 ซี่ ได้ถึง 5.25 เท่าและในเด็กที่มีฟันผุ 2-5 ซี่ มีผลในการป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ 3.6 เท่า และเด็กที่มีฟันผุมากกว่า6 ซี่ มีผลในการป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ 2.7 เท่า (nuntiya et. Al,2018 ) การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ในการป้องกันฟันผุจึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่นำมาส่งเสริมให้เด็กสร้างภูมิต้านทานเชื้อโรคโดยตนเองภายใต้การจัดการให้ได้รับอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี ร่วมกับการแปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน ให้สอดคล้องในการป้องกันโรคในภาวะชีวิตวิถีใหม่ (new normal)และในปี 2565เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแหลมโตนด
ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมโตนดอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ได้เห็นความสำคัญของการใช้นวัตกรรมนมโพรไบโอติกส์ในการป้องกันฟันผุอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากโดยการใช้นวัตกรรมนมโพรไบโอติกส์ป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลแหลมโตนด ปี 2565ขึ้น เพี่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพช่องปากที่ดีในชีวิตวิถีใหม่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเป็นการใช้นวัตกรรมนมโพรไบโอติกส์ในการป้องกันโรคฟันผุในเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตเทศบาลตำบลแหลมโตนด

จำนวนเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้รับนมไพรไบโอติกส์

0.00
2 2. เพื่อป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ในฟันน้ำนมในเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

อัตราการเกิดฟันผุในเด็กปฐมวัยไม่เพิ่มขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 88
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ใช้นวัตกรรมนมโพรไบโอติกส์ในการป้องกันโรคฟันผุในเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
ใช้นวัตกรรมนมโพรไบโอติกส์ในการป้องกันโรคฟันผุในเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหานมโพรไบโอติกส์ในการป้องกันโรคฟันผุในเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตรับผิดชอบแหลมโตนด 3 ศูนย์ จำนวน 88 คน x  50 ซองต่อเทอม (4 เดือน) x ซองละ 12 บาท  เป็นเงิน  600  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับนมโพรไบโอติกส์ 50 ซอง/เทอม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 ป้องกันการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมในเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
ป้องกันการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมในเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชุดแปรงสีฟัน แปรงเด็ก+ยาสีฟันเด็ก+ถุงกิ๊ฟเซ็ท จำนวน 88 คน ราคา 45 บาท เป็นเงิน 3960 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีอุปกรณ์ในการแปรงฟัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3960.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,560.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมสู่สุขภาพ 3 ดี (สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ
พัฒนาการสมวัย)
2. ผู้ปกครองและภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพเด็กสู่สุขภาพ 3 ดี
3. ลดอัตราการเกิดฟันผุอย่างน้อยร้อยละ2 ต่อปี


>