กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพเฝ้าระวังโรคและป้องกันภาวะเสี่ยงสำหรับผู้ปฏิบัติงานเก็บขนขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูล สิ่งโสโครก ต่อการสัมผัสสารเคมีจากการทำงาน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพเฝ้าระวังโรคและป้องกันภาวะเสี่ยงสำหรับผู้ปฏิบัติงานเก็บขนขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูล สิ่งโสโครก ต่อการสัมผัสสารเคมีจากการทำงาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

องค์การบริหารส่วนตำบลบานา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตำบลบานามีประชากร ณ เดือน เมษายน 2565 แยกเป็นชาย10,528 คนหญิง10,877 คนประชากรแฝง ประมาณ 15,000 คน รวมทั้งหมด 36,405 คน ส่งผลให้มีปริมาณขยะมูลฝอย ประมาณ 15 ตันต่อวัน องค์การบริหารส่วนตำบลบานา มีภารกิจด้านการรักษาความสะอาด การเก็บขนและรวบรวมขยะมูลฝอย แล้วส่งไปกำจัดยังบ่อฝังกลบขยะมูลฝอยตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี นอกจากภารกิจด้านการรักษาความสะอาดในพื้นที่แล้วมีภารกิจดูดสิ่งปฏิกูล สิ่งโสโครก ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุง และงานซ่อมบำรุงการปฏิบัติงานดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม อันเป็นผลมาจากเชื้อโรคต่างๆ ที่เกิดจากขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล สิ่งโสโครก และสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของสารกำจัดยุง สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย เสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ และพนักงานส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ ทำให้เกิดโรคและอาการเจ็บป่วยอยู่เสมอ ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยและประสิทธิภาพการทำงาน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดโครงการเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน และตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติ เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สามารถป้องกันอันตรายที่เกิดจากมูลฝอยติดเชื้อได้

 

0.00
2 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 28
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/10/2022

กำหนดเสร็จ 21/10/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่เกิดจาก มูลฝอยแก่ผู้ปฏิบัติงานเก็บขนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

ชื่อกิจกรรม
อบรมป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่เกิดจาก มูลฝอยแก่ผู้ปฏิบัติงานเก็บขนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน 50 คน × 70 บาทเป็นเงิน 3,500.-บาท

2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน × 35 บาท × 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500.-บาท

3.ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท × 6 ชั่วโมง เป็นเงิน3,600.-บาท

4.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 × 3 เมตร × 1 ป้ายเป็นเงิน 750.-บาท

5.ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ 1X 2 เมตร X 2ป้ายเป็นเงิน1,000.-บาท

6.ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม (แนบท้าย)เป็นเงิน 4,500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ตุลาคม 2565 ถึง 21 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน

2. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเฝ้าระวังความเสี่ยงจากการทำงาน

3. ผู้เข้าร่วมอบรมมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


>