กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองควนลัง

งานส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายบริการสาธารณสุข

เทศบาลเมืองควนลัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

200.00
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

200.00

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นการพัฒนาคุณภาพประชากรซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลก่อนตั้งครรภ์เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพมารดาและทารกปลอดภัยได้รับการดูแลครอบคลุมทั้งร่างกายจิตใจสังคมและจิตวิญญาณตามคำกล่าวที่ว่าลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยอย่างมีคุณภาพซึ่งผลจากการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์หญิงหลังคลอดและทารกแรกเกิดในปีที่ผ่านมาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงจากโรคที่สามารถป้องกันและดูแลได้หากได้รับการดูแลที่เหมาะสมซึ่งหากได้รับคำแนะนำในเรื่องการปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์การได้รับความรู้เรื่องโภชนาการที่เหมาะสมสามารถส่งเสริมพัฒนาการของทารกในครรภ์และยังสามารถลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของแม่ตลอดจนความฉลาดทางสติปัญญา ( IQ ) ของเด็กปฐมวัยมีแนวโน้มลดลงซึ่งปัจจัยที่เกิดจากปัญหาสุขภาพของแม่ได้แก่ภาวะทุพโภชนาการเช่นขาดไอโอดีนภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์หรือปัจจัยอื่น ๆเช่นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภาวะโรคต่าง ๆโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครแกนนำสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง ในพื้นที่ในการประสานงานการติดตามการเฝ้าระวังของหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับความปลอดภัย
เทศบาลเมืองควนลังได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เพื่อแก้ไขปัญหาอนามัยแม่และเด็กในแต่ละปีมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ182คนจากจำนวนที่ตั้งเป้าหมายไว้200คนคิดเป็นร้อยละ91ของหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานพบว่าอัตราหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์12สัปดาห์จำนวน94คนคิดเป็นร้อยละ51.64หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ5ครั้งตามเกณฑ์จำนวน232คนคิดเป็นร้อยละ97.07มีการแท้งจำนวน2รายมีภาวะโลหิตจางจำนวน32คนคิดเป็นร้อยละ17.58หญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า20ปีจำนวน 45คนคิดเป้นร้อยละ27และมีหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ5ครั้งตามเกณฑ์จำนวน232คนคิดเป็นร้อยละ97.07ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า2,500กรัมจำนวน7คนคิดเป็นร้อยละ3.84
ดังนั้นเพื่อให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลเมืองควนลังในการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเทศบาลเมืองควนลังจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่รับผิดชอบของการดูแลอย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นและมีการต่อเนื่องในการส่งเสริมสุขภาพจึงได้นำปัญหาจากการดำเนินงานมาพัฒนาและแก้ไขอย่างมีระบบเพื่อลดอันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดส่งเสริมให้อาสาสมัครแกนนำสุขภาพเทศบาลเมืองควนลังเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานแบบเชิงรุกติดตามเยี่ยมและส่งเสริมการให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมทุกระยะของการตั้งครรภ์ส่งเสริมด้านโภชนาการที่เหมาะสมเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้นมีความรู้ความเข้าใจเข้าใจในการดูแลสุขภาพดังนั้นงานส่งเสริมสุขภาพฝ่ายบริการสาธารณสุขจึงได้จัดทำ“โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ปีงบประมาณพ.ศ.25๖5”ขึ้นโดยขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลังเป็นเงิน342,000.-บาท(เงินสามแสนสี่หมื่นสองพันบาทถ้วน)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

200.00 200.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

200.00 200.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 200
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและสร้างกระแสการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์แบบเชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและสร้างกระแสการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์แบบเชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผ่านเว็บไซต์เทศบาล วารสารเทศบาล (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์ได้รับทราบข่าวสาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ให้มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ให้มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าชุดส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรก ก่อน 12 สัปดาห์ จำนวน 200 คน ๆละ 1 ครั้ง รวม 200 ชุดๆละ 500.- บาท เป็นเงิน 100,000.- บาท ประกอบด้วย 1.1 นมยูเอสที รสจืด ขนาด 180 มล. 4 กล่อง/แพ็ค จำนวน 9 แพ็ค 1.2 กระเป๋าผ้าพร้อมสกรีนชื่อโครงการฯ 1 ใบ
  2. ค่าชุดส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ จำนวน 200 คน ๆละ 3 ครั้ง รวม 600 ชุดๆละ 400.- บาท เป็นเงิน 240,000.- บาท ประกอบด้วย 1.1 นม UHT  รสจีด  ขนาด  180  ml. 4 กล่อง/แพ็ค  จำนวน  9  แพ็ค
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์ได้รับชุดส่งเสริมสุขภาพตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
342000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 342,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถประชาสัมพันธ์และการสร้างกระแสการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ให้กับประชาชนในพื้นที่
2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปดูแลตนเองในการประเมินภาวะแทรกซ้อนตามระยะของการตั้งครรภ์ตลอดจนมีการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
3.หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมทารกแรกเกิดมีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า2,500กรัม


>