กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ศพด.วัดท่าบอน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ศพด.วัดท่าบอน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดท่าบอน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดท่าบอนหมู่ที่ 3ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กไม่ชอบกินผัก

 

20.00

เด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ควรจะได้รับการส่งเสริมด้านโภชนาการเพื่อเด็กปฐมวัยได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอเหมาะสมกับวัย ซึ่งจะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สติปัญญาดี อาหารกลางวันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนจะต้องได้รับประทานทุกคน และได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มาพัฒนาประเทศชาติ ต่อไปศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดท่าบอนจึงได้ดำเนินโครงการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้การปลูกผักและรับประทานผักที่ตนเองปลูก ณ บริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งได้เชิญผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเข้าร่วมโครงการ เพื่อปลูกฝังให้ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยได้น้อมนำปรัชญาทางของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำรงใช้ในชีวิตประจำวัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยในบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้เด็กปฐมวัยสามารถปลูกผักได้และเพื่อปลูกฝังให้ผู้ปกครองและเด็กได้น้อมนำปรัชญาแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำรงใช้ในชีวิตประจำวัน

เด็กปฐมวัย จำนวน 43 คนได้รับประทานผักที่ปลูกผักเอง เด็กปฐมวัย จำนวน 43 คนสามารถบอกวิธีปลูกผักได้ ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยได้น้อมนำปรัชญาแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำรงใช้ในชีวิตประจำวัน

20.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 43
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 28/02/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อจัดจ้าง

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อจัดจ้าง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เมล็ดพันธุ์พืช 1,000 บาท
  2. ปุ๋ยคอก 60 กระสอบ 1,800 บาท
  3. ปุ๋ยชีวภาพ จำนวน 50 กระสอบ 2,500 บาท
  4. กากนำ้ตาล จำนวน 1 ถัง 20 ลิตร ราคา 300 บาท
  5. อีเอ็ม 1 ลิตร 100 บาท
  6. ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 ราคา 1,000 บาท
  7. ไม้ไฝ่ จำนวน 2 มัดราคา 400 บาท
  8. ฟางข้าว จำนวน 2 ก้อน 120 บาท
  9. เชือกฟาง(กลม) 1 ม้วน 20 บาท
  10. ถาดเพาะเมล็ดผัก 2 ถาด 60 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2565 ถึง 1 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีวัสดุอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7300.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการปลูก

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการปลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ 2. คัดกรองเด็กที่ไม่ชอบกินผัก
3. วิทยากร บรรยายเรื่องการน้อมนำปรัชญาแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำรงใช้ในชีวิตประจำวัน และสาธิตการทำปุ๋ยชีวภาพ (อีเอ็ม) 4. เตรียมพื้นที่ปลูก และเพาะเมล็ดพันธุ์
5. ดำเนินการปลูก 6. บำรุง รดน้ำใส่ปุ๋ยพรวนดิน 7. ครูรณรงค์ให้เด็กปฐมวัยรับประทานผัก 8. เก็บผลผลิตทำอาหารให้เด็กปฐมวัยได้รับประทานที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและนำผักกลับไปรับประทานที่บ้าน 9. เตรียมพื้นที่ปลูกต่อในแปลงที่เก็บผลผลิตแล้ว

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ได้จัดตั้งกลุ่มผู้ปกครองร่วมปลูกผักกับเด็กปฐมวัยในบริเวณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  2. ได้คัดกรองเด็กที่ไม่ชอบกินผัก
  3. เด็กได้เรียนรู้วิธีปลูกผัก
  4. เด็กได้กินผัก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรม

ชื่อกิจกรรม
อบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัย  การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยในบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้เด็กปฐมวัยสามารถปลูกผักได้และเพื่อปลูกฝังให้ผู้ปกครองและเด็กได้น้อมนำปรัชญาแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำรงใช้ในชีวิตประจำวันและสาธิตการทำปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 มิถุนายน 2565 ถึง 24 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมมีความรู้ความเข้าใจในการน้อมนำปรัชญาแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำรงใช้ในชีวิตประจำวัน  และสามารถทำปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,500.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กเกิดการเรียนรู้ และมีความภาคภูมิใจ ในการจัดกิจกรรม


>