กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการแพทย์แผนไทยในชุมชน รพ.สต.บ้านฝาละมี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายนำการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกผสมผสาน เข้าสู่ระบบบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพ่อให้บริการเชิงรุกแก่ประชาชนในชุมชนในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่น กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มหญิงหลังคลอด กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบกล้ามเนื้อเรื้อรังในชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นให้ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และมีนโยบายสนับสนุนให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง มีการใช้ยาสมุนไพรในหน่วยบริการร่วมกับการให้บริการแพทย์แผนไทย เช่น บริการนวด อบ ประคบสมุนไพร และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดูแลมารดาหลังคลอด โดยบุคลากรแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรต่างๆ เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน และเป็นทางเลือกแก่ประชาชนในพื้นที่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี มีหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ จำนวน 5 หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด จำนวน 4,391 ตน ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวน รับจ้าง จากสถิติการให้บริการในหน่วยบริการ พบว่า ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง อาทิเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเส้นเลือด และโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตหรือโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ซื้อทำให้เกิดภาวะเเทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย ที่สำคัญทำให้ผู้ป่วยต้องรับประทานยาหลายชนิดในปริมาณที่มากในระยะเวลานานซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของดับและไตของผู้ป่วยได้
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า ปัญหาโรคเรื้อรังต่างๆ ข้างต้นล้วนเป็นโรคที่คุกคามต่อชีวิตและความเป็นอยู่ ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัวต้องใช้งบประมานสูง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา พยาบาล การบำบัดรักษาด้วยศาตร์การเเพทย์แผนไทย เป็นการรักษาความเจ็บป่วยแบบองค์รวมเป็นทางเลือกในการดูแลส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคการเฝ้าระวังโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่ได้ผลในการรักษาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจควบคู่ไปกับการเเพทย์แผนปัจจุบันที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นการลดการใช้ยาแผนปัจจุบันที่มากเกินความจำเป็นในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อาทิ การนวดเพื่อบำบัดหรือการนวดเพื่อฟื้นฟูร่างการของผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์อัมพาตหรือโรคหลอดเลือดสมอง การฟื้นฟูโดยการนวดจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลมในร่างกาย ทำให้เกิดความผ่อนคลาย ช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อและข้อลดหรือบรรเทาการยึดติดของข้อ ช่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันเพื่อช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีกรรมวิธีการดูแลรักษากลุ่มอาการต่างๆ การดูแลบำรุงรักษาเท้าในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตและโรคเบาหวานด้วยการแช่เท้าในน้ำสมุนไพร การพอกข้อหรือข้อเข่าที่มีภาวะอักเสบ บวม แดง ร้อนด้วยเครื่องยาพอกสูตรต่างๆ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องข้อหรือผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม การอยู่ไฟในสตรีหลังคลอดด้วยการอบไอน้ำสมุนไพร การทับหม้อเกลือ การนั่งถ่าน และการอาบน้ำสมุนไพร เพื่อให้ร่างกายพ้นจากความเมื่อยล้า เพื่อการส่งเสริมดูแลสุขภาพแบบองค์กรรวม ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งในวิธีที่ใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ เป็นการลดการใช้ยา รวมถึงการปรับภูมิทัศน์อาคารสถานที่ให้พร้อมและสะดวกต่อการให้บริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยของประชาชนที่มารับบริการ ตลอดจนการส่งเสริมและให้ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยให้ผู้รับบริการ
ในปี 2563-2564 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี มีผู้มารับบริการด้วยการแพทย์แผนไทยและยาสมุนไพร จำนวน 1,400 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 16.33 และมูลค่าการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาพยาบาล จำนวน 43,099 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.46 ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข
จากเหตุผลข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยให้กับประชาชนผู้มารับบริการ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการแพทย์แผนไทยในชุมชน รพ.สต.บ้านฝาละมี ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะในชุมชนด้วยการให้คนในชุมชนใช้สมุนไพรที่ปลูกเองเป็นทางเลือกในการรักษาโรค

ประชาชนในชุมชนใช้สมุนไพร/แพทย์ทางเลือก ที่ปลูกเองเป็นทางเลือกในการรักษาโรค มากว่าร้อยละ 25

10.00 25.00
2 ส่งเสริมให้เกิดการปลูกสมุนไพรเพื่อทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ สามารถสร้างรายได้ต่อไปในอนาคต

ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกสมุนไพร เพื่อใช้ในครัวเรือน

10.00 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการแพทย์แผนไทยในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการแพทย์แผนไทยในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าใช้จ่ายในการประชุมให้ความรู้
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้ร่วมประชุม จำนวน 60 คน ๆ ละ 1 มื้อๆละ 20 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,400บาท
- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ป้ายๆ 600 บาทเป็นเงิน 600 บาท
- ค่าวิทยากรให้ความรู้โครงการส่งเสริมพืชสมุนไพรในหมู่บ้าน 4 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มิถุนายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน60 คน
ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความสามารถในการปลูกพืชสมุนไพรได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในชุมชน ค่าวัสดุสนับสนุนแปลงสมุนไพรชุมชนสาธิต
- ค่ากระถางปลูกสมุนไพรจำนวน 200 ลูกๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าปุ๋ยหมักชีวภาพ 50 กระสอบๆละ 30 เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าดินปลูกสมุนไพรจำนวน100 ถุงๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าวัสดุพันธุ์พืชสมุนไพร เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชน 60 ครัวเรือนมีการปลูกพืชผักสมุนไพร ในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร ในการดูแลผู้ป่วย/มารดาหลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร ในการดูแลผู้ป่วย/มารดาหลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร ในการดูแลผู้ป่วย/มารดาหลังคลอด
1. การฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบกล้ามเนื้อ อัมพฤกษ์ อัมพาต
- ค่าวัสดุในการผลิต น้ำมันหม่องไพลเป็นเงิน 5,000 บาท
2. การดูแลมารดา หลังคลอด
- ค่าวัสดุ ยาสมุนไพร ในการอบ ประคบทับหม้อเกลือเป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบกล้ามเนื้อ อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้รับการดูแลด้วยการแพทย์แผนไทย มากกว้าร้อยละ 20
- มารดา หลังคลอด ได้รับการดูแลด้วยการแพทย์แผนไทย มากกว้าร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มเป้าหมายทุกกลุมได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ทำให้เกิดความรู้และมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัวและชุมชน มีการใช้สมุนไพรและการแพทย์แผนไทยเป็นทางเลือกในการรักษา และช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ทั้งได้พัฒนาหน่วยบริการได้มาตราฐานบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก


>