กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนวิถีใหม่ ห่างไกลโรคเรื้อรังหมู่ที่ 10 บ้านชุมแสง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

อสม. หมู่ที่ 10 บ้านชุมแสง

1. นางสมใจพรหมจินดา2. นางละม่อม มณีสุวรรณ 3. นส.ภคนันท์ ละอองวัลย์4. นางสมมาตรเกตุหมุหย๊ะ 5. นางผินนุ่นมี

หมู่ที่ 10 บ้านชุมแสง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น
จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกกำลังกายเครียดทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมโดยในปี 25ุ64 ในพื้นที่หมู่ที่ 10 ตำบลฝาละมี มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 21คน คิดเป็นอัตราป่วย 3,532.49ต่อแสนประชากร และมีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน51 คน คิดเป็นอัตราป่วย 5,057.52 ต่อแสนประชากร
จากการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ขึ้นไปในพื้นที่ หมู่ที่ 10 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จำนวน 258 คน พบว่า ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานจำนวน 11คน คิดเป็นร้อยละ 1.75 และ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 8.73 และมีแนวโน้มผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรค เบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่สูงขึ้น ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 10 ตำบลฝาละมี ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรคเรื้อรัง ดังกล่าวต่อไปได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง  มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

60.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงในวัยดังกล่าว สามารถลดระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

อให้กลุ่มเสี่ยงในวัยดังกล่าว  สามารถลดระดับความดันโลหิต  และระดับน้ำตาลในเลือด  ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้  มากกว่าร้อละ  50

36.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/05/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจ จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
สำรวจ จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจ จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2565 ถึง 25 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้จำนวนกลุ่มเป้าหมายมีการจัดทำทะเบียนอย่างถูกต้องครบถ้วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มสำหรับการอบรม ให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน50 คน ๆ ละ 25 บาทต่อมื้อจำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท
- ค่าสมนาคุณตอบแทนวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมงๆ 300 บาท เป็นเงิน 900บาท -ค่าจัดทำสมุดบันทึก/คู่มือจำนวน 50 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ การจัดทำโครงการเป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าจัดทำป้ายไวนิลขนาด 1x3 ตร.ม.x200 จำนวน 1 ป้าย ป้ายละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2565 ถึง 20 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 50 คน- ผู้เข้ารับการอบรมมีความรุ้ พฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4750.00

กิจกรรมที่ 3 มีการติดตามและประเมิน ผลทุกเดือนเพื่อดูความก้าว หน้าของกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
มีการติดตามและประเมิน ผลทุกเดือนเพื่อดูความก้าว หน้าของกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การติดตามและประเมิน ผลทุกเดือนเพื่อดูความก้าว หน้าของกลุ่มเป้าหมาย
- จัดหาวัสดุทางการแพทย์เพื่อใช้ในการติดตามและประเมินภาวะสุขภาพ - เครื่องวัดความดันโลหิตจำนวน 1 เครื่องๆ ละ 3, 700บาท เป็นเงิน 3,700 บาท - เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 1,000บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการเยี่ยมติดตามทึกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4700.00

กิจกรรมที่ 4 มอบรางวัล/ประกาศผู้ประสบความสำเร็จซึ่งผ่านการประเมิน

ชื่อกิจกรรม
มอบรางวัล/ประกาศผู้ประสบความสำเร็จซึ่งผ่านการประเมิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการสรุปบทเรียน หาบุคคลต้นแบบ
- ค่าวุฒิบัตรและของรางวัลเป็นเงิน 1,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 สิงหาคม 2565 ถึง 15 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้บุคคลต้นแบบ จำนวน 5 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ประชาชนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค
- ประชาชนมีการนำความรู้ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯ
- ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น


>