กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยสู้ไปด้วยกันป้องกันโควิด (COVID-19) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาแบป๊ะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาแบป๊ะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาแบป๊ะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กวัยเรียน(2 ปีขึ้นไป-6 ปี ) ที่ได้รับการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID19)

 

80.00

สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยยังคงมีความจำเป็นต้องเฝ้าระวังและดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามหลักการควบคุมป้องกันโรค ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ดังนั้นการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องสร้างความรู้ ความตระหนัก ในการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคมการสวมและใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีการมีและใช้สบู่หรือเจลแอลกอล์ฮอล์ในการล้างมือเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจมาจากกการสัมผัส การทำความสะอาดพื้นที่การให้บริการหรือพื้นที่ ที่มีคนอยู่รวมกัน ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นระยะเวลานานโดยมีกระบวนการให้ความรู้ คำแนะนำต่อกลุ่มเป้าหมาย การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาแบป๊ะ มีความตระหนักถึงความรับผิดชอบในการดูแลเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัยและบุคลากรของศพด.บ้านจาแบป๊ะ รวมถึงผู้ปกครอง และผู้มาติดต่อราชการ จึงต้องมีมาตรการเฝ้าระวังและป้องการการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของทุกคน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างได้
ด้วยเหตุนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาแบป๊ะ จึงขอเสนอโครงการหนูน้อยสู้ไปด้วยกันป้องกันโควิด (COVID-19) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาแบป๊ะ เพื่อเป็นการจัดกระบวนการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ซึ่งมีความเสี่ยงสูงเมื่อเกิดการระบาดอีกครั้ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้เด็กตระหนักถึงความปลอดภัยและการสวมหน้ากากอนามัยป้องกันโรคโควิด (COVID-19) 2. เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3. เพื่อสนับสนุนให้เด็กได้ประชาสัมพันธ์กับผู้ปกครองนำความรู้ไปใช้และป้องกันโรคโควิด 19 ได้

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 110
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะครูและบุคลากร 11

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 หนูน้อยสู้ไปด้วยกันป้องกันโควิด(COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
หนูน้อยสู้ไปด้วยกันป้องกันโควิด(COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1 ประชุมเพื่อวางแผนงานการดำเนินการจัดโครงการ 2 เขียนโครงการและเสนอขออนุมัติโครงการ 3 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการ 4 จัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์เพื่อจัดทำโครงการ 5 ดำเนินกิจกรรมคัดกรอง ATK ให้กับคณะครู เด็ก และบุคลากรทางการศึกษา 6 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน รายละเอียดดังนี้ โครงการหนูน้อยสู้ไปด้วยกันป้องกันโควิด(COVID19) เด็ก คณะครู และบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาแบป๊ะ จำนวน 121 คน - ค่าชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตนเองหรือ ATK (แบบตรวจน้ำลาย) จำนวน 2 ชุดๆละ 90 บาท (2 ชุด x 90 บาท x 121 คน)เป็นเงิน21,780 บาท - ค่าหน้ากากอนามัยเด็ก จำนวน 110 กล่องๆ ละ 60 บาท (110 x 60 ) เป็นเงิน 6,600. บาท - ค่าหน้ากากอนามัยสำหรับผู้ใหญ่ จำนวน 50 กล่องๆละ 60 บาท (50 x 60) เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ขนาด 500 ml. ขวดละ 100 บาท จำนวน 1 โหล (100 บาท x 12 ขวด)เป็นเงิน 1,200. บาท - ค่าถุงมือยางป้องกันเชื้อโรคจำนวน2กล่องๆละ195บาท (2 กล่อง x 195ทบาท)เป็นเงิน 390. บาท - ค่าถุงแดงขยะติดเชื้อ ขนาด 18 x 20 นิ้ว จำนวน 1 ห่อๆละ 130 บาท (130 บาท x 1 ชุด)เป็นเงิน130. บาท - ค่าถังขยะ ขนาด60 ลิตร จำนวน 1 ใบๆ ละ 450 บาท
(1 อัน x 450 บาท)เป็นเงิน 450.บาท - ค่าเอกสารประกอบโครงการ(110 ชุด x 10 บาท)เป็นเงิน 1,100. บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด1.4 X 2.6 เมตรจำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 910. บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 35,560 บาท

(หมายเหตุทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะครู เด็ก และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการคัดกรอง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 97

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35560.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,560.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ส่งเสริมให้เด็กตระหนักถึงความปลอดภัยและการสวมหน้ากากอนามัย
2. เพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
3. สนับสนุนให้เด็กได้ประชาสัมพันธ์กับผู้ปกครองนำความรู้ไปใช้และป้องกันโรคโควิด 19 ได้


>