กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชนตำบลนาหว้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการบริการดูแลด้านสาธารณสุขโดยอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ณ ที่ครัวเรือน

 

50.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีภาวะแทรกซ้อน

 

50.00

ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงอายุ” (Aged Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 กล่าวคือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ และเพิ่มเป็นร้อยละ 15 ของประชากรทั้งประเทศเมื่อสิ้นปี พ.ศ.2558 ที่ผ่านมา และคาดว่าประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุสูงถึงร้อยละ 20 ใน พ.ศ.2564 กลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” (complete aged society) จากการสำรวจของกรมอนามัย (2556) พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 95 เจ็บป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรังซึ่งจะนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและพึ่งพิง และมีผู้ป่วยนอนติดเตียง ร้อยละ ๑นอกจากนั้นยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระดับสูงแต่ต้องดูแลตนเองหรือไม่มีคนดูแลถึงร้อยละ 13 ในกลุ่มเดียวกัน รัฐบาลจึงให้ความสำคัญในการดำเนินการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ มีเป้าหมายสำคัญที่จะป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมีการเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง และหากผู้สูงอายุอยู่ในภาวะพึ่งพิงจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
กระทรวงมหาดไทยได้ขับเคลื่อนโครงการอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามแนวทางที่เกี่ยวข้อง ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้าได้ดำเนินการตามแนวทางและเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้านสุขภาพพื้นฐาน การฟื้นฟูสมรรถภาพและกายภาพ ซึ่งตำบลนาหว้ามีประชากรทั้งหมด 7,803 คนพบว่ามีผู้สูงอายุจำนวน 1257 คน คิดเป็นร้อยละ16.10 ของประชากรจากการตรวจประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอลโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหว้า และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขี้แรด จากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ ทั้งหมด 1,201 คน พบผู้สูงอายุที่มีคะแนน ADL เท่ากับหรือน้อยกว่า ๑๑ คะแนน (ติดบ้าน ติดเตียง) จำนวน 18 คน เป็นกลุ่มที่ติดเตียง จำนวน 2 คน และกลุ่มติดบ้าน จำนวน 16 คน ข้อมูล ณ วันที่ 14 มกราคม 2565ซึ่งผู้สูงอายุเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือทั้งด้านบริการสาธารณสุขและด้านสังคม โดยเฉพาะกลุ่มติดเตียง ถึงแม้จะมีคนในครอบครัวดูแล แต่ก็เป็นภาระของผู้ดูแลไม่น้อย
งานบริหารงานสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชนตำบลนาหว้าขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้ามีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดภาระของครอบครัว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการบริการดูแลด้านสาธารณสุขโดยอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ณ ที่ครัวเรือน

เพิ่มร้อยละของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการบริการดูแลด้านสาธารณสุขโดยอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ณ ที่ครัวเรือน

50.00 80.00
2 เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน

ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีภาวะแทรกซ้อนน้อยลง

50.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 8
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ดูแลนักบริบาล 2

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่มีคะแนนประเมินเอดีแอลเท่ากับหรือน้อยกว่า 11

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่มีคะแนนประเมินเอดีแอลเท่ากับหรือน้อยกว่า 11
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่มีคะแนนประเมินเอดีแอลเท่ากับหรือน้อยกว่า 11

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประเมินวัดผลผู้ป่วย คนไข้ติดเตียง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินวัดผลผู้ป่วย คนไข้ติดเตียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินวัดผลผู้ป่วย คนไข้ติดเตียง เดือนละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดหาวัสดุอุปกรณ์

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุอุปกรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าเครื่องวัดความดันดิจิตอล จำนวน 2 เครื่องๆ ละ 3,650 บาท เป็นเงิน 7,300 บาท
  2. ค่าเครื่องเจาะเบาหวาน จำนวน 2 เครื่องๆ ละ 2,800 บาท เป็นเงิน 5,600 บาท
  3. ค่าถาดหลุมสแตนเลส สำหรับทำแผล จำนวน 2 ถาดๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 700 บาท
  4. ค่าปากคีบสแตนเลสแบบมีเขี้ยว 2 อันๆ ละ 365 บาท เป็นเงิน 730 บาท
  5. กระเป๋าปฐมพยาบาล จำนวน 2 ใบๆ ละ 1,800 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  6. ค่าแถบตรวจและเข็มเจาะน้ำตาลในเลือด 100 ชิ้น/กล่อง จำนวน 2 กล่องๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  7. ค่าถุงมือยางตรวจโรคแบบใช้แล้วทิ้ง จำนวน 5 กล่องๆละ 280 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
  8. ค่าหน้ากากอนามัย จำนวน 5 กล่องๆ ละ 125 บาท เป็นเงิน 625 บาท
  9. ค่าสำลีก้อน 450 กรัม จำนวน 4 ห่อๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  10. ค่าสำลีก้านปลอดเชื้อ (5 ก้าน/ซอง ถุงละ 50 ซอง) จำนวน 4 ถุงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  11. ค่าผ้าก๊อซ 4*4 นิ้ว (5 ชิ้น X 20 ซอง/กล่อง) จำนวน 6 กล่องๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  12. ค่าเทปใสใช้แต่งแผล ขนาด ½ นิ้ว * 10 หลา จำนวน 10 ม้วนๆ ละ 42 บาท เป็นเงิน 420 บาท
  13. ค่าน้ำเกลือล้างแผล ขนาด 1000 ml จำนวน 6 ขวดๆ ละ 140 บาท เป็นเงิน 840 บาท
  14. ค่าแอลกอฮอล์ 450 ml จำนวน 6 ขวดๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 720 บาท
  15. ค่าน้ำยาใส่แผล เบตาดีน ขนาด 30 cc จำนวน 24 ขวดๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 1,440 บาท
  16. ค่าถุงขยะสีแดง จำนวน 6 กิโลกรัมๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 450 บาท
  17. ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ไซต์ M ขนาด 28 ชิ้น จำนวน 3 แพ็คๆ ละ 550 บาท เป็นเงิน 1,650 บาท
  18. ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ไซต์ L ขนาด 24 ชิ้น จำนวน 6 แพ็คๆ ละ 550 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34975.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามดูแลผู้ป่วย/ประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
ติดตามดูแลผู้ป่วย/ประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามดูแลผู้ป่วย/ประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วย

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,975.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการบริการดูแลด้านสาธารณสุขโดยอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ณ ที่ครัวเรือน
2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้ามีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>