กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหลักสูตรฝึกอบรมปฐมพยาบาลและช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน เทศบาลเมืองคอหงส์ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์

1. นายเดชา วิมาลัย ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โทร. 089 463 3904

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน(คน)

 

200.00
2 จำนวนประชาชนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน(คน)

 

60.00
3 จำนวนจุดเสี่ยงก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน

 

80.00

ในปัจจุบันสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่เกิดจาก โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองความดันโลหิตสูง อุบัติภัยสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น ทารก เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ นอกจากนั้นยังมีภัยพิบัติต่างๆ อีกมากมายที่ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ มีอาการที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงคุกคามต่อการมีชีวิต โดยเฉพาะภาวะหัวใจหยุดเต้น การหยุดหายใจกะทันหันถ้าปล่อยไว้นานเกิน 4 นาที แม้จะช่วยให้ฟื้นคืนชีพกลับมาได้ แต่จะเกิดสภาวะการตายของสมองอย่างถาวร ดังนั้นการได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างถูกต้องจากผู้เห็นเหตุการณ์คนแรกผู้ป่วยจะมีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น ก่อนการส่งต่อไปรับการรักษาขั้นต่อไปในโรงพยาบาล


เจ้าหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉิน เทศบาลเมืองคอหงส์ เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานด้านสุขภาพในพื้นที่รับผิดชอบ หากได้รับความรู้ที่ถูกต้องและได้รับการฝึกฝนคาดว่าจะสามารถนำความรู้ไปช่วยเหลือชีวิตผู้อื่นได้ นอกจากนั้นประชาชนทุกคนควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเพื่อช่วยเหลือคนในครอบครัวและสังคม อันจะนำมาซึ่งการดูแลสุขภาพในยามฉุกเฉินและในภาวะวิกฤติได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนประชาชนที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน

จำนวนประชาชนที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ลดลง

200.00 150.00
2 เพื่อลดจำนวนประชาชนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน(คน)

จำนวนประชาชนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ลดลง

60.00 30.00
3 เพื่อลดจุดเสี่ยงก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนลง

จำนวนจุดเสี่ยงก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน ลดลง

80.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่กู้ชีพกู้ภัยเทศบาลเมืองคอหงส์
เจ้าหน้าสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมชี้แจงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน
  • จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร และงบประมาณในการดำเนินงาน
  • ฝึกอบรมปฏิบัติการจำนวน 5 วัน รวม 40 ชั่วโมง
  • จัดอบรมตามแบบแผนโครงการที่กำหนดไว้
  • จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์
  • สรุปปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน ประเมินผลโครงการ

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คน x 80 บาท x 5 มื้อ
เป็นเงิน 16,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คน x 25 บาท x 10 มื้อ
เป็นเงิน 10,000 บาท
3. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1 x 3 เมตร x 150 บาท
เป็นเงิน 450 บาท
4. ค่าวิทยากรภาคทฤษฎี จำนวน 1 คน x 600 บาท x 18 ชั่วโมง
เป็นเงิน 10,800 บาท
5. ค่าวิทยากรภาคปฏิบัติ จำนวน 5 คน x 600 บาท x 22 ชั่วโมง
เป็นเงิน 66,000 บาท
6. ค่าที่พักวิทยากร จำนวน 6 วัน x 600 บาท x 2 ห้อง
เป็นเงิน 7,200 บาท
7. ค่าเช่าหุ่น จำนวน 10 ตัว x 1,000 บาท
เป็นเงิน 10,000 บาท

.
8. ค่าเครื่อง AED (sall) จำนวน 3 เครื่อง x 89,000 บาท
เป็นเงิน 267,000 บาท
9. ค่าจัดทำเอกสาร จำนวน 200 บาท x 40 ชุด
เป็นเงิน 8,000 บาท
10. ค่าเดินทางวิทยากร เป็นเงิน 5,000 บาท
11. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 10,000 บาท
12. ค่าวัสดุ เป็นเงิน 8,000 บาท

.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ด้านสติปัญญา ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องได้รับผลการประเมินที่สอดคล้อง กับความรู้ที่ได้จากการเรียนแต่ละรายวิชา
  2. ด้านทักษะ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการ ปฏิบัติโดยการฝึกทักษะภาคปฏิบัติตามเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง 27 ทักษะ
  3. ด้านเจตคติ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องแสดงให้เห็นถึงจิตสำนึกที่ดีและความสนใจในการเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
418450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 418,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ด้านสติปัญญา ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องได้รับผลการประเมินที่สอดคล้อง กับความรู้ที่ได้จากการเรียนแต่ละรายวิชา
2. ด้านทักษะ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการ ปฏิบัติโดยการฝึกทักษะภาคปฏิบัติตามเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง 27 ทักษะ
3. ด้านเจตคติผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องแสดงให้เห็นถึงจิตสำนึกที่ดีและความสนใจในการเรียน


>