กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

รพ.สต.นาเสมียน

6 หมู่บ้าน ประกอบด้วย ม.3,4,5,7,9,11

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.ประชาชน(อสค), อสม. อสค.น้อย ขาดความรู้เข้าความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 2. เพื่อควบคุมและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

0.00

จากสถานการณ์ผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลนาทับพบว่ามีผู้ป่วยต่อเนื่องในทุกๆปี จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของ รพ.สต.นาเสมียน ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี (ปี 2559-2563) พบผู้ป่วยตามลำดับดังนี้ ปี 2559 จำนวน40 ราย ปี 2560 จำนวน 21 ราย ปี 2561 จำนวน 16 ราย ปี 2562 จำนวน 12 ราย และปี 2563 จำนวน 6 ราย พบผู้ป่วยอาศัยอยู่ หมู่ที่ 7จำนวน 5ราย และหมู่ที่ 3 จำนวน 1 ราย และยังพบผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายโรคไข้เลือดออกจำนวนหนึ่งด้วยที่ต้องมีการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคแบบเดียวกันกับการควบคุมโรคไข้เลือดออกจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีแนวโน้มเกิดขึ้นทุกปี และยังคงมีการระบาดทุกปีประกอบกับตำบลนาทับเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และมีลำคลองหลายสาย ด้วยสภาพอากาศร้อนชื้นและมีฝนตกต่อเนื่องเกือบตลอดทั้งปีทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในหมู่บ้านจึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกโดยการวางแผนงานกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในทุกๆปี กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาทับร่วมกับ อสม.ในพื้นที่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสมียนในพื้นที่ได้ร่วมกัน เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ตำบลนาทับ โดย ยึดหลัก มาตรการ 5 ป. 1 ข. โดยให้ประชาชนเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกระบาด ด้วยการกำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตและการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลนาทับต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชน(อสค.), อสม. และ อสค.น้อย(แกนนำนักเรียน) มีความรู้เข้าความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชน(อสค.), อสม. และ อสค.น้อย(แกนนำนักเรียน) มีความรู้เข้าความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

20.00 80.00
2 2.เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โรงเรียน/ศพด./มัสยิด/บาลาย

เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ไม่เกิน 10% โรงเรียน/ศพด./มัสยิด/บาลาย 0%

16.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน 182
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้ประชาชน(อสค.) อสม. และ อสค.น้อย(แกนนำนักเรียน)

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ประชาชน(อสค.) อสม. และ อสค.น้อย(แกนนำนักเรียน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 222 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท  เป็นเงิน 11,100  บาท    2. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 222 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท  เป็นเงิน  11,100  บาท    3. ค่าตอบแทนวิทนยากร จำนวน 6 ชม ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600  บาท    4.ค่าวัสดุ/เอกสารการอบรม จำนวน  222  ชุดๆละ 50 บาท    เป็นเงิน 11,100  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชน(อสค.) อสม. และ อสค.น้อย(แกนนำนักเรียน) มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36900.00

กิจกรรมที่ 2 ควบคุมและป้องกันโรคในหมู่บ้าน โรงเรียน ศพด. มัสยิด/บาลาย

ชื่อกิจกรรม
ควบคุมและป้องกันโรคในหมู่บ้าน โรงเรียน ศพด. มัสยิด/บาลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โรงเรียน 2 โรง ก่อนเปิดเทอม 2 ครั้ง ค่าจ้างเหมา 300 บาท x 2 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน 1,200 บาท ก่อนเปิดเทอม 2 ครั้ง ค่าจ้างเหมา 300 บาท x 2 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน1,200 บาท มัสยิด/บาลาย 8 แห่ง ปีละ 2 ครั้งค่าจ้างเหมา 300 บาท x 2 คน x 2 ครั้ง เป็นเงิน1,200บาท ทุกครั้งที่มีโรคไข้เลือดออก พ่น 2 ครั้ง (เฉลี่ย 38 ครั้ง ใช้ประมาณการ 5 ปีย้อนหลัง) ค่าจ้างเหมา 300 บาท x 2 คน x 38 ครั้งเป็นเงิน22,800บาท ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวน44 ครั้ง (ครั้งละ 25 ลิตร x 30 บาท) เป็นเงิน33,000บาท ค่าน้ำยาพ่นเคมีพ่นหมอกควัน ขวดละ 1,600 บาท x 12 ขวด เป็นเงิน 19,200บาท ค่าทรายอะเบท ถังละ 4,200 บาท x 6 ถัง เป็นเงิน 25,200บาท ค่าโลชั่นกันยุง 100 บาท/โหล x 100 โหลเป็นเงิน 10,000บาท ค่าสเปรย์กันยุง155 บาท x 12 กระป๋องเป็นเงิน 1,860บาท ค่าครุภัณฑ์เครื่องพ่นหมอกควันเป็นเงิน 40,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
153800.00

กิจกรรมที่ 3 Big Cleaning Day หมู่บ้านละ 2 ครั้ง x 6 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
Big Cleaning Day หมู่บ้านละ 2 ครั้ง x 6 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆละ 1 มื้อ x 25 บาท x 12 ครั้ง เป็นเงิน 9,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ในหมู่บ้านปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 199,700.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชน(อสค.), อสม. และ อสค.น้อย(แกนนำนักเรียน) มีความรู้เข้าความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
2. ประชาชนในพื้นที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก


>