กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในโรงเรียนก่อนเปิดเทอม โดยชุดตรวจ ATK (โรงเรียนบ้านละหาน)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

โรงเรียนบ้านละหาน

1. นางสาวอาฟีลา หะยีนุ 0937924536
2. นางพีอะห์ กระจ่างสุต 0611941191
3. นางสาวอัยดะสะมะแอ 0828253316
4. นางทิพยา บุญให้ 0895960123
5. นางสาวจิรัชญา จิเหลา0850812068
6. นางรูซีย๊ะ อุมา 0823259464

โรงเรียนบ้านละหาน ม.8 ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละร้อยของเด็กในโรงเรียนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด

 

30.00

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ยังทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่รวมทั้งพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัจจุบันการระบาดของ โควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล ฉะนั้นการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง
ในการนี้ รัฐบาลมีนโยบายให้โรงเรียนเปิดเรียนแบบ on-site โดยต้องทำเป็นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covid free setting(เปิดเทอมปลอดภัยห่างไกลโควิด-19) ดังนั้นโรงเรียนจึงให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน ครู และบุคลากร ควบคู่กับการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพการศึกษา ที่ผ่านมาได้มีกิจกรรมให้ครู และนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบถ้วน และมีแผนการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงและสุ่มตรวจ ATK เชิงรุกในกลุ่มบุคลากรและนักเรียนในสังกัดเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ โรงเรียนบ้านละหานจึง ได้จัดทำโครงการตรวจตรวจATK และค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ( Covid 19)ในโรงเรียน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน

ร้อยละร้อยความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน

15.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 127
กลุ่มวัยทำงาน 17
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/01/2022

กำหนดเสร็จ 31/03/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนเรื่องโควิด 19

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนเรื่องโควิด 19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนเรื่องโควิด 19

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 1 ตรวจ ATK ให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ตรวจ ATK ให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ถุงมือยางป้องกันเชื้อโรค จำนวน 2 กล่องกล่องละ 130 บาท เป็นเงิน 260 บาท -ค่าถุงแดงขยะติดเชื้อจำนวน 2 แพ็กๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 120 บาท -ค่าชุดตรวจ ATK จำนวน 288 ชุด (ตรวจ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ ครั้งที่ 2 เดือนมีนาคม 2565 ) ชุดละ 130 บาท เป็นเงิน 37,440 บาท -เจลแอลกอฮอล์ล้างมือชนิดเติม 2 แกลลอนแกลลอนละ 349 บ. เป็นเงิน 698 บาท -เครื่องวัดอุณหภูมิพร้อมเจลล้างมืออัตโนมัติ เป็นเงิน 1,700 บาท -ค่าหน้ากากอนมัย จำนวน 6 กล่อง กล่องละ 35 บาท เป็นเงิน 210 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้รับการตรวจATk ร้อยละ100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40428.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,428.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียน มีความรู้และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองจากโรคโควิด 19 ได้
2.นักเรียน ครูและบุคลากร ไดัรับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK


>