กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจ ATK เชิงรุก ในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองคอหงส์

1. นายเดชา วิมาลัย ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โทร. 089 463 3904

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

65.17
2 ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

 

54.31
3 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

 

76.03

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปถึง 30 กันยายน 2564 นั้น เห็นได้สถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะกรุงเทพ และปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้และรวมถึงจังหวัดสงขลา ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสุงสุดและเข้มงวด สถานการณ์ภายในประเทศการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานสถานการณ์ประจำวันเบื้องต้น โดยข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 มีผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 7,006 ราย แยกเป็นทั่วไป 6,235 ราย และจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 771 ราย หายป่วยกลับบ้าน 7,591 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2564) จำนวน 2,035,718 ราย กำลังรักษา 87,271 ราย และมีผู้เสียชีวิต 29 ราย และสถานการณ์ติดเชื้อโควิด-19 เขตพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ พบจำนวนผู้ป่วย รายใหม่ 32 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมรวม 1,400 ราย หายป่วยสะสม 1,100 ราย และเสียชีวิตสะสม 0 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 การระบาดระลอกใหม่นี้มีรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก และพบผู้ป่วยในหลายพื้นที่ ตลอดจนมีรายงานการติดต่อระหว่างคนสู่คนภายในประเทศ จึงเป็นเหตุผลสำคัญให้ทางองค์การอนามัยโลกได้ประกาศภาวะฉุกเฉินระดับโลก จากสถานการณ์การระบาดรอบใหม่ของประเทศไทย ทำให้ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ประกาศยกระดับตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และต่อมาได้ขยายเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะนั้น โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ที่มีการกลายพันธุ์เป็นหลายสายพันธุ์ยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเสี่ยงที่จะเกิดภาวะวิกฤตด้านสาธารณสุขทั้งนี้จากสถานการณ์ข้อมูลการแพร่ระบาดในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ ซึ่งการใช้ ATK ในการคัดกรองยอมรับว่าได้ผลดีและรวดเร็วโดยดำเนินการตามมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแนวทางในการตรวจและควบคุมโรคนี้

ดังนั้น เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมระงับโรคติดต่อ ประกอบกับหนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่ มท. 0808.2/ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เทศบาลเมืองคอหงส์ จึงจัดทำโครงการตรวจ ATK เชิงรุก ในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

65.17 86.90
2 เพิ่มการดูแล ป้องกัน คนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19  ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

54.31 82.55
3 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

76.03 97.76

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 3,165
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 4,766
กลุ่มวัยทำงาน 30,721
กลุ่มผู้สูงอายุ 7,377
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมการใช้ชุดตรวจโควิด 19 (Antigen Test Kit) หรือ ATK

ชื่อกิจกรรม
อบรมการใช้ชุดตรวจโควิด 19 (Antigen Test Kit) หรือ ATK
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมแนวทางและข้อควรระวังการใช้ชุดตรวจ วิธีการใช้ชุดตรวจ การอ่านและแปลผลชุดตรวจ ATK ด้วยตนเอง

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าวิทยากรอบรม จำนวน 1 คน x 600 บาท x 1 ชั่วโมง
เป็นเงิน 600 บาท
2. ค่าวิทยากรฝึกปฏิบัติ จำนวน 6 คน x 600 บาท x 2 ชั่วโมง
เป็นเงิน 7,200 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 25 บาท x 4 มื้อ
เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 7 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถใช้ชุดตรวจ ATK และแปลผลได้ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

กิจกรรมที่ 2 ลงพื้นที่ตรวจ ATK ให้กับประชาชนเทศบาลเมืองคอหงส์

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่ตรวจ ATK ให้กับประชาชนเทศบาลเมืองคอหงส์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดซื้อวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ ทางการแพทย์เพื่อใช้ในการตรวจคัดกรอง
  • ลงพื้นที่ตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จำนวน 30 ชุมชน

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าชุดตรวจ ATK แบบ Home Use จำนวน 40,000 ชิ้น x 100 บาท
เป็นเงิน 4,000,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 50 คน x 80 บาท x 10 มื้อ
เป็นเงิน 40,000 บาท
3. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1 x 3 เมตร x 150 บาท
เป็นเงิน 450 บาท
4. ค่าชุด PPE เบอร์ M จำนวน 300 ชุด x 315 บาท
เป็นเงิน 94,500 บาท
5. ค่าชุด CPE จำนวน 1,000 ชุด x 20 บาท
เป็นเงิน 20,000 บาท
6. ค่าถุงมือ เบอร์ S M จำนวน 400 กล่อง x 250 บาท
เป็นเงิน 100,000 บาท
7. ค่าหมวก จำนวน 400 ใบ x 20 บาท
เป็นเงิน 8,000 บาท
8. ค่าเจลแอลกอฮอล์ (500 ml) จำนวน 120 ขวด x 50 บาท
เป็นเงิน 6,000 บาท
9. ค่าหน้ากาก N95 จำนวน 200 ชิ้น x 30 บาท
เป็นเงิน 6,000 บาท
10. ค่าเฟรชชิล จำนวน 1,000 ชิ้น x 30 บาท
เป็นเงิน 30,000 บาท
11. ค่าถุงดำ จำนวน 50 แพ็ค x 80 บาท
เป็นเงิน 4,000 บาท
12. ค่าถุงแดง จำนวน 50 แพ็ค x 80 บาท
เป็นเงิน 4,000 บาท


.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ ได้รับการตรวจ ATK อย่างทั่วถึง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4312950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,326,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชน
2. ชุมชนปลอดโรค ไม่มีการระบาดเพิ่มในพื้นที่



.

.


>