กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในโรงเรียนบ้านมะยูง (ครั้งที่ 1) ประจำปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุกาสาเมาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในโรงเรียนบ้านมะยูง (ครั้งที่ 1) ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุกาสาเมาะ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

โรงเรียนบ้านมะยูง ต.ปะลุกาสามเาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ยังคงแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยในทุกเขตทั่วราชอาณาจักร เนื่องจากปรากฏกรณีไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่สามารถแพร่กระจายและมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ แต่ด้วยพบว่าไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ไม่ทำให้ผู้ติดเชื้อเกิดอาการป่วยที่รุนแรง และปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ลดลง รัฐบาลจึงได้ประกาศผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ เพื่อรักษาสมดุลด้านความมั่นคงทางสาธารณสุขกับการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และฟื้นฟูความเป็นอยู่ของประชาชนให้ใกล้เคียงกับภาวะปกติ นอกจากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจและระบบสาธารณสุขแล้ว หนึ่งในผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่หนักหนาสาหัสมากคือ การเรียนรู้/การศึกษาของเด็กและเยาวชนไทย ในช่วงที่มีการระบาดของโรคเด็กนักเรียนต้องหยุดการเรียนการสอนในโรงเรียนและมีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย แม้จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนให้เอื้อกับสถานการณ์ในปัจจุบันแต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการเรียนในห้องเรียนได้ จากการสำรวจระดับความพร้อมของการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนไทย พบว่า ระดับความพร้อมของการเรียนรู้ถดถอยลงประมาณ 0.32 - 0.39 ปี (ศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต, 2565)
ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) เพื่อรักษาสมดุลและฟื้นฟูความเป็นอยู่ของประชาชนให้ใกล้เคียงกับภาวะปกติ รวมถึงในส่วนของระบบการศึกษามีคำสั่งให้โรงเรียน/สถาบันการศึกษาทุกประเภทสามารถใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ได้ตามเหมาะสมและความพร้อม โดยรูปแบบของการดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางการจัดระเบียบและระบบต่าง ๆ ตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัดและรัดกุม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในส่วนของการเปิดเรียนแบบ On-site กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุขกำหนดหลักเกณฑ์ให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covid free setting (เปิดเทอมปลอดภัยห่างไกลโควิด-19) ดังนั้น เพื่อให้โรงเรียนในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะสามารถเปิดการเรียนการสอนแบบ On-site ได้อย่างปลอดภัยห่างไกลโรคตามหลักเกณฑ์ที่ราชการกำหนด
ในการนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ มีความประสงค์จะส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงเรียน/สถาบันการศึกษาทุกประเภทในพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะมีการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงและสุ่มตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เชิงรุกเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในกลุ่มบุคลากรและนักเรียนในพื้นที่
จึงเห็นควรให้จัดโครงการคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โรงเรียนบ้านมะยูง (ครั้งที่ 1) ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ และอาศัยอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล (29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน
2.เพื่อให้มีแกนนำที่มีความรู้ในการเฝ้าระวัง คัดกรอง และประเมินความเสี่ยงให้ทันต่อสถานการณ์
3.เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในโรงเรียนและชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 134
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 35
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/02/2022

กำหนดเสร็จ 28/02/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมให้ความรู้สร้างแกนนำให้มีความรู้ในการเฝ้าระวัง คัดกรอง และประเมินความเสี่ยงให้ทันต่อสถานการณ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมให้ความรู้สร้างแกนนำให้มีความรู้ในการเฝ้าระวัง คัดกรอง และประเมินความเสี่ยงให้ทันต่อสถานการณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*3 เมตร ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 35 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 875 บาท 3.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 35 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท 4.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน ๆ ละ 1 ชม. ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแกนนำที่มีความรู้ในการเฝ้าระวัง คัดกรอง และประเมินความเสี่ยงให้ทันต่อสถานการณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4125.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 คัดกรอง Antigen Test Kit (ATK) เชิงรุกให้กับบุคลากรและนักเรียนในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 คัดกรอง Antigen Test Kit (ATK) เชิงรุกให้กับบุคลากรและนักเรียนในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าชุดตรวจโควิด-19 หรือ Antigen Test Kit (ATK) จำนวน 149 ชุดๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 22,350 บาท 2.ค่าชุด CPE (เสื้อกาวน์กันน้ำ) จำนวน 10 ตัวๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 300 บาท 3.ค่าน้ำยาฆ่าเชื้อแอลกอฮอล์ 70% ขนาด 1,000 มิลลิลิตร จำนวน 5    แกลอนๆ ละ 160 บาท เป็นเงิน  800 บาท 4.ค่าถุงมือยางทางการแพทย์ จำนวน 1 กล่องๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 350 บาท 5.ค่า Face shield  จำนวน 15 อันๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 525 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและบุคลากรครูในโรงเรียนได้รับการตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างครอบคลุม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24325.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนและบุคลากรครูในโรงเรียนได้รับการตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างครอบคลุม
2.มีแกนนำที่มีความรู้ในการเฝ้าระวัง คัดกรอง และประเมินความเสี่ยงให้ทันต่อสถานการณ์
3.สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในพื้นที่โรงเรียนและชุมชน


>