กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและติดตามพัฒนาการเด็กอายุ 0-72 เดือน หมู่ที่ 1-4 และหมู่ 8 ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและติดตามพัฒนาการเด็กอายุ 0-72 เดือน หมู่ที่ 1-4 และหมู่ 8 ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ

เขตพื้นที่ หมู่ที่่ 1-4 และหมู่ที่ 8 ตำบลดุซงญอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กก่อนวัยเรียน (0 - 72 เดือน) มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 9.75 มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ 7

 

41.00

ทุพโภชนาการ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารผิดเบี่ยงเบนไปจากปกติ อาจเกิดจากได้รับสารอาหารน้อยกว่าปกติหรือเหตุทุติยภูมิ คือเหตุเนื่องจากความบกพร่อง ต่างจากการกิน การย่อย การดูดซึม ในระยะ ๒ - ๓ ปี แรกของชีวิต จะมีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและการเรียน ภายหลัง เนื่องจากเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตของสมองสูงสุด ซึ่งระยะเวลาที่วิกฤติต่อพัฒนาการทางร่างกายของวัยเด็กมากที่สุดนั้น ตรงกับช่วง ๓ เดือน หลังการตั้งครรภ์จนถึงอายุ ๑๘ - ๒๔ เดือนหลังคลอด เป็นระยะที่มีการสร้างปลอกหุ้มเส้นประสาทของระบบประสาท และมีการแบ่งตัวของเซลล์ประสาทมากที่สุด เมื่ออายุ ๓ ปี มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตถึงร้อยละ ๘๐ สำหรับผลกระทบทางร่างกายภายนอกที่มองเห็นได้ คือ เด็กจะมีรูปร่างเตี้ย เล็กซูบผอม ผิวหนังเหี่ยวย่นเนื่องจากขาดไขมันชั้นผิวหนัง นอกจากนี้อวัยวะภายในต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กอายุ ๐ -๗๒ เดือน เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในชุมชนและติดตามพัฒนาการเด็กที่พบสงสัยล่าช้าให้เด็กได้ฝึกตัวเองในสิ่งที่ยังทำไม่ได้ด้านต่างๆ โดยผู้ปกครองต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยในทุกๆด้านอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการในกลุ่มเด็กอายุ 0 - 72 เดือน
  1. เด็กอายุ 0 - 72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  2. อัตราเด็กที่มีน้ำหนักต่ออายุตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85
657.00 657.00
2 เพื่ออบรมเสริมความรู้ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0 – 72 เดือน แก่ผู้ปกครองเด็กที่มี น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
  1. ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 72 เดือน ที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เข้ารับการอบรมเสริมความรู้มากกว่า ร้อยละ 90
  2. อัตราเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ไม่มากกว่าร้อยละ 7
37.00 37.00
3 เพื่อประเมินพัฒนาการเด็กตามช่วงวัยในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ในทุก ๆ เดือน พร้อมกระตุ้นพัฒนาการเด็กในรายที่พบสงสัยล่าช้าในด้านต่างๆ

เด็กอายุ 0 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 95

320.00 320.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 657
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องอาหารให้แก่ผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องอาหารให้แก่ผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวัสดุเครื่องบริโภคในการสาธิตและอาหารสำหรับในการสาธิตแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ0 - 72 เดือน ที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ หมู่บ้านละ 500 บาท จำนวน 5 หมู่บ้าน เป็นเงิน 2,500 บาท
  2. ค่าอาหารเสริมวัสดุเครื่องบริโภค (นม) จ่ายให้กับเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไป (พร้อมทั้งออกติดตามเป็นระยะ) จำนวน 30 คน กล่องละ 12 บาท (กล่องใหญ่ จำนวน 1,530 กล่อง)เป็นเวลา 51 วัน รวมเป็นเงิน 18,360 บาท
  3. ค่าอาหารเสริมวัสดุเครื่องบริโภค (นมถุง) จ่ายให้กับเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี จำนวน 7 คน นมถุง คนละ 2 ถุง ๆ ละ 150 บาท รวมเป็นเงิน 2,100 บาท
  4. ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 * 2 เมตร ๆ ละ 350 บาท จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ700 บาท เป็นเงิน 700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือนที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เข้ารับการอบรมเสริมความรู้มากกว่า ร้อยละ 90
  2. อัตราเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ไม่มากกว่าร้อยละ 7
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23660.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินพัฒนาการเด็กตามช่วงวัยในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ในทุก ๆ เดือน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินพัฒนาการเด็กตามช่วงวัยในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ในทุก ๆ เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงอายุแต่ละเดือนให้กับเด็ก จำนวน 320 คน ชิ้นละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 8,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 0 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 95

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,660.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กอายุ 0 - 72 เดือน ได้รับการส่งเสริมให้ภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัยทั้ง 5 ด้าน
2. เด็กอายุ 0 - 72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังและตรวจประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการ
3. เด็กที่มีภาวะโภชนาการผิดปกติและเด็กที่มีพัฒนาการช้าได้รับการติดตาม กระตุ้น และประเมิน ภาวะโภชนาการและตรวจพัฒนาการซ้ำ ให้มีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัย
4. ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ในการส่งเสริมและประเมินภาวะโภชนาการ และพัฒนาการเด็กอายุ0 - 72 เดือน ได้อย่างถูกต้อง
5. ผู้ปกครอง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กอายุ 0 - 72 เดือน


>