กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

1 นายอุทิศ คงทอง
2 นายงหนูอั้น ไข่ทอง
3 นางศรีอมร ฉิ้มสังข์
4 นางปรีดา เทพชนะ
5 นางอวยพร คงหมุน

หมู่ที่ 1.7,9 ตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้านขายของชำในชุมชน จำหน่ายอาหารเสื่อมคุณภาพ หมดอายุ (ร้าน)

 

15.00

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจโดยทั่วไปของประเทศ ได้มีการพัฒนาจากสังคมเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรมดังนั้นจึงเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากที่จะให้ผู้บริโภคได้เลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและผู้จำหน่ายจะได้จำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพด้วย ซึ่งประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลงผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้จะมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลและมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) แล้วก็ตามแต่ยังมีพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแฝงมากับภาชนะบรรจุอาหาร “โฟม” ที่นิยมใช้กันทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงาน ดังกล่าวอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่ายก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขึ้นย่างต่อเนื่อง ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และต้องใช้เวลาในการย่อยสลายซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบและขบวน การกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และภาวะโลกร้อนได้ ในปัจจุบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยพบว่าป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ เช่น โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อนอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานอาหารแปลกปลอม อาหารสุกๆดิบๆ การบริโภคอาหารที่ใส่กล่องโฟม เป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว มีพื้นที่รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน มีประชากรรับผิดชอบ 2,739 คน มีจำนวนหลังคาเรือน 629 หลังประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง รับจ้าง เกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวแต่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน วิถีชีวิตชนบทโดยส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารตามสั่ง อาหารปรุงสุกที่บรรจุกล่องโฟม ที่มีจำหน่าย โดยทั่วไปในพื้นที่เนื่องจากไม่มีเวลา ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมดังกล่าวได้ จากการวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพของประชากรในพื้นที่ พบว่ายังป่วยด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และโรคติดเชื่อในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรวมพลังกันดำเนินการหลายๆมาตรการทุกรูปแบบในการดูแลประชาชนในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2565 ขึ้นในบริบทพื้นที่ชุมชน ครอบคลุม ร้านขายของชำในชุมชน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนสุขภาพที่ดี และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของรัฐ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ในการลดความเสี่ยงจาการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของแกนนำสุขภาพครอบครัว ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคทุกคน

แกนนำสุขภาพครอบครัวมีองค์ความรู้และศักยภาพ ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคทุกคน

289.00 626.00
2 เพื่อสร้างเครือข่ายและความเข้มแข็งการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านอาหารและร้านขายของชำทุกร้าน

เครือข่ายมีความเข้มแข็งการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของร้านอาหารและร้านขายของชำทุกร้าน

15.00 20.00
3 เพื่อพัฒนาร้านชำผ่านการดำเนินงานร้านชำคุณภาพ

ร้านชำได้รับการพัฒนาผ่านการดำเนินงานร้านชำคุณภาพทุกร้าน

18.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 629
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวผู้นำชุมชน เจ้าของร้านชำ ในการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำสุขภาพครอบครัวผู้นำชุมชน เจ้าของร้านชำ ในการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร 1 คน เวลา 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรมจำนวน 73 คน ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,650 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรม จำนวน 73 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25บาท เป็นเงิน 3,650 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 มีนาคม 2565 ถึง 21 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • แกนนำสุขภาพครอบครัวผู้นำชุมชน เจ้าของร้านชำ มีความรู้ ทักษะ ในการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านชำ ทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10900.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินอาหารและร้านชำคุณภาพ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินอาหารและร้านชำคุณภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขพร้อมด้วย แกนนำสุขภาพ ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่าย ลงประเมินร้านชำคุณภาพ
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤษภาคม 2565 ถึง 13 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้านขายของชำผ่านการประเมินร้านชำคุณภาพทุกร้าน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
เรียนรู้ร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • แกนนำสุขภาพ ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่าย มีการแลกเปลียนเรียนรู้งานคุมครองผู้บริโภคร่วมกัน
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มิถุนายน 2565 ถึง 22 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • แกนนำสุขภาพ ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่าย ได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลงานคุมครองผู้บริโภคร่วมกันทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,900.00 บาท

หมายเหตุ :
- งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำสุขภาพครอบครัว ภาคีเครือข่าย มีความรู้ ทักษะ การเฝ้าระวังตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ทุกคน
2. ไม่พบสารต้องห้ามในร้านอาหารทุกร้าน
3. ร้านชำทุกร้านมีคะแนนผ่านการประเมินร้านชำคุณภาพ


>