กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดเชิงรุกในตำบลมะรือโบออก ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก

รพ.สต.มะรือโบออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ณ ปัจจุบันการฝากครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์มากในทางสูติศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาฝากครรภ์ ไม่ได้รับการดูแลขณะตั้งครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะมีโอกาสเกิดภาวะเสี่ยงหรือได้รับอันตรายจากการตั้งครรภ์ และการคลอดมากกว่า และรุนแรงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจครรภ์และดูแลครรภ์อย่างถูกต้องและทันเวลา และต่อเนื่องสม่ำเสมอ ภาวะเสี่ยงต่างๆ อาจมีระดับของอันตรายถึงชีวิตของมารดาหรือทารกได้หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมไปถึงสามีและญาติผู้อยู่ใกล้ชิดกับหญิงตั้งครรภ์ได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรภ์ ก็จะสามารถดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจและเห็นความสำคัญของการคลอดในสถานพยาบาลของรัฐ ซึ่งมีความพร้อมทั้งทางด้านเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ก็จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ได้ ช่วยลดปัญหามารดาตายคลอดจากการตกเลือดหลังคลอด ทารกตายปริกำเนิด รวมถึงการติดเชื้อหลังคลอด ที่ส่งผลกระทบถึงชีวิตของมารดาและทารกได้ จะเห็นได้ว่าหญิงตั้งครรภ์จะสามารถ ดูแลครรภ์และคลอดได้อย่างปลอดภัย มีบุตรที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องประกอบกับปัจจัยหลายๆด้าน
จากสถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็ก ของตำบลมะรือโบออกอำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาสในปี ๒๕๖๔พบว่า อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๔๑ อัตราโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ ๗.๘ และอัตราการคลอดบุตรน้อยกว่า 2,500 กรัม คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๘๔ ซึ่งถือว่าอยู่ในอัตราที่สูง ปัญหาดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงการมีภาวะเสี่ยงต่อการหญิงตั้งครรภ์และบุตร และส่งผลให้ไม่ได้รับการวางแผนการป้องกันดูแลถึงวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในรายที่มีภาวะเสี่ยงสูง (High Risk )
ดังนั้นรพ.สต.มะรือโบออก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ จึงได้เห็นความสำคัญในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะเริ่มตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดบุตรเพื่อลูกเกิดรอดและแม่ปลอดภัยจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดเชิงรุกในตำบลมะรือโบออกขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

ร้อยละ 80 หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

55.00 55.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ไม่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด

ไม่เกินร้อยละ 10 หญิงตั้งครรภ์และ แกนนำแม่อาสา ที่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด

55.00 55.00
3 เพื่อหญิงตั้งครรภ์และ แกนนำแม่อาสา มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ร้อยละ 80 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

55.00 55.00
4 เพื่อให้มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์

ร้อยละ 80 มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์

55.00 55.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 55
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขดำเนินการสำรวจติดตามหญิงตั้งครรภ์ใน

ชื่อกิจกรรม
เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขดำเนินการสำรวจติดตามหญิงตั้งครรภ์ใน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการสำรวจติดตามหญิงตั้งครรภ์ใน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ที่เข้าอบรมจำนวน 50 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,300 บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่เข้าอบรม จำนวน 50 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 2,750 บาท 3.ค่าสมุดปกแข็ง จำนวน 50 เล่ม x 15 บาท  เป็นเงิน   825 บาท 4.ค่าปากกา จำนวน 50 ด้าม x 5 บาท เป็นเงิน 275 บาท 5.ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร 50 ใบ x 80 บาท เป็นเงิน  4,400  บาท 6.ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 7.ค่าไวนิล 1 ชุด x 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15050.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ไม่เกินร้อยละ 10 หญิงตั้งครรภ์และ แกนนำแม่อาสา ที่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ออกติดตามเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ออกติดตามเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์12สัปดาห์ ร้อยละ 80
2.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด ไม่มากกว่า ร้อยละ10
3.หญิงตั้งครรภ์ทุกรายมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร้อยละ80
4.มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 80


>