กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนบ้านทุ่งงาย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

โรงเรียนบ้านทุ่งงาย

โรงเรียนบ้านทุ่งงาย ต.ทุ่งใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนบ้านทุ่งงาย

 

50.00

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา และเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 15 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ยังทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่รวมทั้งพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัจจุบันการระบาดของ โควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล ฉะนั้นการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง
ในการนี้ รัฐบาลมีนโยบายให้โรงเรียนเปิดเรียนแบบ on-site โดยต้องทำเป็นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covid free setting(เปิดเทอมปลอดภัยห่างไกลโควิด-19) ดังนั้นโรงเรียนจึงให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน ครู และบุคลากร ควบคู่กับการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพการศึกษา ที่ผ่านมาได้มีกิจกรรมให้ครู และนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบถ้วน และมีแผนการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงและสุ่มตรวจ ATK เชิงรุกในกลุ่มบุคลากรและนักเรียนในสังกัดเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์โรงเรียนบ้านทุ่งงาย จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนบ้านทุ่งงาย

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนวัดพรุเตาะ

50.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 93
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มครู และบุคลากรทางการศึกษา 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรอง ATK ให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนบ้านทุ่งงาย

ชื่อกิจกรรม
คัดกรอง ATK ให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนบ้านทุ่งงาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าเจลล้างมือ จำนวน 20 ลิตร ลิตรละ 78 บาท เป็นเงิน 1,560 บาท
  2. ค่าชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง หรือ ATK จำนวน 310 ชุด ชุดละ 59 บาท เป็นเงิน 18,290 บาท
  3. ค่าหน้ากากอนามัย จำนวน 12 กล่อง กล่องละ 55 บาท เป็นเงิน 660
  4. ค่าชุด PPE ป้องกันเชื้อไวรัส-เชื้อโรค และสารเคมี จำนวน 6 ชุด ชุดละ 160 บาท เป็นเงิน 960 บาท
  5. ค่าน้ำยาฆ่าเชื้อ จำนวน 18 ขวด ขวดละ 230 บาท เป็นเงิน 4,140 บาท
  6. ค่าถุงมือยางป้องกันเชื้อโรค จำนวน 3 กล่อง กล่องละ 190 บาท เป็นเงิน 570 บาท
  7. ค่าเครื่องพ่นละอองฝอยฆ่าเชื้อโรค จำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 1,500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  8. ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด จำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  9. ค่าถ่ายเอกสารและค่าวัสดุในโครงการ เช่น เอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการระบาด/ ป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด19 / แนวทางการปฏิบัติตัว หรือช่องทางการติดต่อเจ้าหน้าที่ เชิญลงทะเบียนรับวัคซีน /New Normal / DMHTT แผ่นพับ โพสเตอร์/โพสการ์ด เอกสารอื่น ๆ เป็นเงิน 500 บาท
  10. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2x2.4 เมตร เป็นเงิน 500 บาท
  11. ค่าถังขยะและถุงแดงขยะติดเชื้อ จำนวน 2 ชุด ชุดละ 60 บาท เป็นเงิน 120 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2565 ถึง 30 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :
* หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สามารถใช้จ่ายได้โดยถัวเฉลี่ยตามความจำเป็นและตามระเบียบฯ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการเฝ้าระวังด้วยการคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK และได้รับการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิต ตลอดจนได้รับความรู้ด้านการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนำโรคระบาดในชุมชน


>