กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลาเส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการเด็ก0-5 ปี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลาเส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเส

ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ ๑ บ้านกะลาเส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป จากข้อมูลระบบรายงาน Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราภาวะเตี้ยของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ จากปี พ.ศ. 2558 - 2564 (ร้อยละ 11.5, 11.4, 9.7, 10.1. 15.8, 10.5 และ 10.6 ตามลำดับ) อัตราภาวะผอมของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ ในปี พ.ศ. 2558 - 2564 (ร้อยละ 5.7, 5.7, 5.6, 5.1, 6.4, 5.5 และ 5.5 ตามลำดับ) อัตราภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในปี 2564 ลดลงจากปี 2562 คือจากร้อยละ 10.8 เป็นร้อยละ 8.8 และอัตราเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีสูงดีสมส่วน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีพ.ศ. 2560 - 2564 (ร้อยละ 49.9,51.7, 58.6, 63.7 และ 62.6 ตามลำดับ) จากรายงานดังกล่าว จะเห็นว่า เด็กอายุ 0-5 ปี มีภาวะทุพโภชนาการในเกณฑ์ที่ยังต้องให้การดูแลแก้ไข และส่งเสริม โดยการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาล และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเส จึงได้จัดทำโครงการอบรมส่งเสริมโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็ก 0- 5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ 2. เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี

เด็ก 0 - 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการครอบคลุม และผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การเจริญเติบโตของเด็กกลุ่มดังกล่าวสมบูรณ์ตามวัย และเพิ่มความสุขในครอบครัว ชุมชนต่อไป

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 53
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการอบรมส่งเสริมโภชนาการเด็ก 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
โครงการอบรมส่งเสริมโภชนาการเด็ก 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส จำนวน  9,500 บาท
รายละเอียด แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การจัดอบรม และการติดตามเยี่ยมบ้าน ดังนี้     1.งบประมาณในการจัดอบรม    -ค่าอาหารว่าง 1 มื้อๆละ ๒๕ บาท จำนวน 6๐ คน              เป็นเงิน 1,50๐บาท    -เอกสารประกอบการอบรม จำนวน 60 เล่มๆละ 15 บาท  จำนวน 900 บาท   เป็นเงิน   90๐ บาท    -ค่าป้ายไวนิล ๑*๒ ตร.ม.ๆละ 3๐๐ บาท                  เป็นเงิน   300 บาท    -ค่าวิทยากรจำนวน 3 ชม.ๆ ละ 3๐๐ บาท                  เป็นเงิน   9๐๐ บาท     งบประมาณในการจัดอบรม รวมเป็นเงิน 3,600 บาท (สามพันหกร้อยบาทถ้วน)     2.งบประมาณในการติดตามเยี่ยมบ้าน    -เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอลสำหรับเด็กน้ำหนักไม่เกิน 20 กก. (แบบนอน)      เป็นเงิน 3,500บาท     จำนวน ๑ เครื่องๆละ 3,500 บาท    -เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล (แบบยืน) จำนวน ๑ เครื่องๆละ 1,500 บาท        เป็นเงิน 1,500บาท    -สายวัด จำนวน 60 เส้นๆละ 15 บาท                        เป็นเงิน   900 บาท     งบประมาณในการติดตามเยี่ยมบ้าน รวมเป็นเงิน 5,900 บาท (ห้าพันเก้าร้อยบาทถ้วน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,500 บาท (เก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก 0 - 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการครอบคลุม และผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การเจริญเติบโตของเด็กกลุ่มดังกล่าวสมบูรณ์ตามวัย และเพิ่มความสุขในครอบครัว ชุมชนต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็ก 0 - 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการครอบคลุม และผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การเจริญเติบโตของเด็กกลุ่มดังกล่าวสมบูรณ์ตามวัย และเพิ่มความสุขในครอบครัว ชุมชนต่อไป


>