กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลาเส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลาเส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเส

1. โรงเรียนกมลศรี หมู่ 1 ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 2. วัดกมลศรี หมู่ 1 ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 3. ชุมชน/หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ ๑ บ้านกะลาเส และหมู่ 5 บ้านหนองใหญ่ ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกาจังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยในปัจจุบัน ซึ่งจากสถิติพบว่ามีการแพร่ระบาดทั่วทุกหมู่บ้านในเขตเมืองและเขตชนบท เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประเทศ โดยในปี ๒๕๖3 ประเทศไทพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 47,738 ราย อัตราป่วย 72.00 ต่อแสนประชากร และเสียชีวิตจำนวน 32 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.07 (กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง,2563) ในส่วนของข้อมูลผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ของจังหวัดตรัง มีจำนวน 407 ราย อัตราป่วย 63.28 ต่อแสนประชากร และเสียชีวิตจำนวน 2 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.49เมื่อแบ่งย่อยลงมาในระดับอำเภอ พบว่าอำเภอสิเกา พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 12 ราย อัตราป่วย 31.19 ต่อแสนประชากร และเสียชีวิตจำนวน 1 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 8.33
แม้ว่าในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเส จะไม่พบทั้งผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก แต่การพิจารณาตามหลักระบาดวิทยา จะมีการระบาดใหญ่เป็นปีเว้นปีหรือปีเว้นสองปี ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าในปี 2565 อาจเป็นปีที่มีการระบาดใหญ่ของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อีกครั้ง จากปัญหาที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรค โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเส จึงได้จัดทำโครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ครอบคลุมไปถึงโรงเรียน สถาบันการศึกษา วัด และดำเนินการป้องกันอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในครัวเรือนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 2. เพื่อควบคุมป้องกันโรคและลดอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออก

สามารถควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ให้อยู่ในเกณฑ์น้อยกว่า 50 ต่อแสนประชากร ทำให้ลดอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส จำนวน  55,800 บาท
รายละเอียด ดังนี้ -ค่าอาหารว่าง จำนวน 51 คนๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน 1,275 บาท/ครั้ง        เป็นเงิน   5,100  บาท (รณรงค์ 1 ครั้ง/เดือน เป็นเวลา 4 เดือน รวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง )                     
-ค่าไฟฉายระบบชาร์จไฟ จำนวน 29 กระบอกๆละ 200 บาท        เป็นเงิน   5,800  บาท -ค่าปรอทดิจิตอล จำนวน 27 อันๆละ  30๐ บาท                 เป็นเงิน  8,100    บาท   (ใช้ในการคัดกรองอุณหภูมิผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่าย PUI ในละแวกของ อสม.) -ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด ๑.5×2.5 เมตร จำนวน 2ผืนๆละ 500 บาทเป็นเงิน 1,00๐  บาท -ค่าสเปรย์กำจัดยุง/แมลง จำนวน ๓50 กระป๋องๆละ ๖๐ บาท           เป็นเงิน 21,0๐๐ บาท -ค่าโลชั่นทากันยุงขนาดซอง 5๐ โหล โหลละ 60 บาท              เป็นเงิน   3,6๐๐  บาท -ทรายอะเบท เคลือบสารทีมีฟอส ๑% ขนาดบรรจุ 500 ซองๆละ 50 กรัม/ถัง เป็นเงิน 11,2๐๐ บาท จำนวน 4 ถังๆละ 2,80๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวน 55,800 บาท (ห้าหมื่นห้าพันแปดร้อยบาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
55800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สามารถควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ให้อยู่ในเกณฑ์น้อยกว่า 50 ต่อแสนประชากร ทำให้ลดอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่


>