กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กรณีเบาหวาน ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

รพ.สต.แหลมโตนด

ม.1-ม.9 ต.แหลมโตนด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

45.50
2 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

0.65
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

62.50

สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลกซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า ในปี 2552 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 422 ล้านคน ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 1.5 ล้านคน นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรทั่วโลกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 8.5 หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้ว พบว่า ปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คนป่วยเป็นโรคเบาหวาน ส่วนในประเทศไทย จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราตายด้วยโรคเบาหวานต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมของประเทศในปี 2556 - 2558 เท่ากับ 14.93, 17.53 และ 17.83 ตามลำดับ เห็นได้ว่า อัตราการตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี และจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายในประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ครั้งที่ 3, 4 และ 5 (ปี 2547, 2552 และ 2557) พบว่า ความชุกของโรคเบาหวาน ของครั้งที่ 3 ร้อยละ 7 ใกล้เคียงกับครั้งที่ 4 ร้อยละ 6.9 ส่วนครั้งที่ 5 เพิ่มสูงขึ้นเป็น ร้อยละ 8.8 (คิดเป็น 4.8 ล้านคน)นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2551 ยังพบว่าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกในการรักษาพยาบาลโรคเบาหวานเฉลี่ย 1,172 บาทต่อราย ส่วนผู้ป่วยในค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ย 10,217 บาทต่อราย รวมค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้น 3,984 ล้านบาทต่อปี หากคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน รวม 3 ล้านคนต่อปี มารับบริการที่สถานพยาบาล จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้นประมาณ 47,596 ล้านบาทต่อปี
จังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 3.95อำเภอควนขนุนมีอัตราตาย
ร้อยละ 4.39 และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2559 – 2563ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนี้ 453.01, 597.10, 498.53,536.00,408.32ต่อแสนประชากร ตามลำดับจากสถิติการเกิดโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไป ตำบลแหลมโตนดอำเภอควนขนุนจังหวัด ปี ๒๕63ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน คัดกรอง จำนวน 1,733 คนผลการคัดกรอง กลุ่มปกติ จำนวน986 คน ร้อยละ56.90 กลุ่มแฝง/เสี่ยงคน จำนวน661คน ร้อยละ38.14กลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน80คน ร้อยละ 4.62และกลุ่มสงสัยเป็นโรคได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน3รายอัตราป่วยรายใหม่คิดเป็น 87.16 ต่อแสนประชากร การที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วยดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

45.50 40.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

62.50 50.00
3 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

0.65 0.20
4 เพื่อคัดกรองคัดกรองเบาหวานในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป

ร้อยละประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขั้นไป ได้รับการคัดกรองเบาหวาน

1750.00 1400.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 720
กลุ่มผู้สูงอายุ 1,030
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองคัดกรองเบาหวานในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองคัดกรองเบาหวานในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองคัดกรองเบาหวานในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป 1.ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาลในเลือด พร้อมเข็มเจาะ จำนวน 45 กล่อง x 390 บาท เป็นเงิน 17,550 บาท 2. ค่าถ่ายเอกสาร แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะโรคกลุ่ม Metabolic จำนวน 2,200 แผ่น x 0.50 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท 3. สำลีก้อนชุบแอลกอฮอล์สำเร็จรูป แผงละ 8 ก้อน กล่องละ 100 แผง ราคา 1,350 x3 กล่องเป็นเงิน 4,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมดูแลสุขภาพเท้าและตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมดูแลสุขภาพเท้าและตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กระดาษเช็ดเท้า จำนวน 30 ห่อ x 65 บาท เป็นเงิน 1,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยได้ดูแลสุขภาพเท้าและตรวจประเมินสุขภาพเท้า ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1950.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุ 35-65ปี ที่มีความเสี่ยง CVD risk

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุ 35-65ปี ที่มีความเสี่ยง CVD risk
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุ 35-65 ปี ที่มีความเสี่ยง CVD risk

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความเสี่ยง CVD risk ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
2. ลดอัตราการเกิดเบาหวานรายใหม่
3. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.
4. กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX>=100 mg/dL) ได้รับการเจาะFBS ซ้ำเพื่อติดตามผล
5. ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความเสี่ยง CVD risk ลดลง
6. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้าตามเกณฑ์มาตรฐานได้รับการส่งต่อในรายที่พบภาวะผิดปกติ


>