กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประคับประคองระยะสุดท้ายของชีวิตที่บ้าน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์

1. นางอรวรรณ วัฒนกุล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โทร. 081 767 4862

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายของชีวิต (คน)

 

5.00

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นการดูแลแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เป็นการดูแลที่ต้องอาศัยทีมสหสาขาวิชาชีพโดยยึดผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลางเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และความพึงพอใจ ช่วยให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ มีเกรียรติสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ครอบครัวสามารถใช้ชีวิตช่วงวิกฤติกับผู้ป่วยได้อย่างราบรื่น การให้บริการโดยทีมแพทย์และพยาบาลในปี 2564 ที่ผ่านมาให้บริการผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจำนวน 5 ราย ผู้รับบริการและญาติยินยอมการดูแลแบบประคับประคองที่บ้านจนถึงวาระสุดท้าย อย่างสมศักดิ์ศรี มีความรู้สึกอบอุ่นในครอบครัว มีการแสดงถึงความเชื่อทางด้านจิตวิญญาณ

การดำเนินงานในการดูแลผู้ป่วยประคับประคองที่บ้าน ยังคงติดตามอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ให้บริการและร่วมเข้าแผนการดูแลที่บ้าน จำนวน 5 ราย ดังนั้นการลงเยี่ยมนอกเวลาของทีมสหสาขาจากโรงพยาบาลหาดใหญ่ เพื่อเพิ่มความมั่นใจความพึงพอใจให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว เป็นการเพิ่มทักษะแก่พยาบาลวิชาชีพ และจิตอาสาของเทศบาลเมืองคอหงส์ที่รับผิดชอบในแต่ละชุมชนได้มีความรู้ ทักษะ ความมั่นใจในการบริการแบบประคับประคอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายของชีวิต

จำนวนผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายของชีวิต (คน) ลดลง

5.00 2.00
2 เพื่อลดความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด

การพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิดโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ

5.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 5
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เยี่ยมบ้านผู้ป่วยและครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้านผู้ป่วยและครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • วางแผนการดูแลร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ Pallilative care Team เวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่ ในการดูแลผู้ป่วยเฉพาะราย
  • ออกเยี่ยมผู้ป่วยและครอบครัวที่ยินยอมรักษาที่บ้าน
  • ให้บริการด้านการพยาบาลตามแผนการรักษาของแพทย์ เช่น ยาอมใต้ลิ้นเพื่อช่วยลดอาการเหนื่อยหอบ การให้ยามอร์ฟีนเพื่อลดความเจ็บปวด
    ความสุขสบายกาย ลดความทุกข์ทรมาน โดยทีมแพทย์พยาบาลจากโรงพยาบาลหาดใหญ่และทีมพยาบาลวิชาชีพ จิตอาสา เทศบาลเมืองคอหงส์


    ค่าใช้จ่าย
  1. ค่าแพทย์(รพ.หญ) จำนวน 5 คน x 200 บาท/ชั่วโมง x 4 ชั่วโมง x 3 ครั้ง
    เป็นเงิน 12,000 บาท
  2. ค่าพยาบาล(รพ.หญ) จำนวน 5 คน x 80 บาท/ชั่วโมง x 4 ชั่วโมง x 3 ครั้ง
    เป็นเงิน 4,800 บาท
  3. ค่าพยาบาล(ทม.คอหงส์) จำนวน 5 คน x 80 บาท/ชั่วโมง x 4 ชั่วโมง x 3 ครั้ง
    เป็นเงิน 4,800 บาท
  4. ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท

.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยและญาติได้รับการดูแล มีความพร้อม และความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. การทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ของเครือข่ายโรงพยาบาลหาดใหญ่และศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองคอหงส์
2. มีระบบการดูแลระยะสุดท้ายชัดเจน มีความภาคภูมิใจร่วมกัน
3. ผู้ป่วยและญาติได้รับการดูแล มีความพร้อม และความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย


>