กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดขยะอินทรีย์ ลดโรค ชุมชนบ้านทุ่งโดน 3

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

กลุ่มพอเพียงชุมชนบ้านทุ่งโดน 3

1. นายวิรัช ชนมนัส
2. นางสาวอรวรรณ อรัญดร
3. นางอุทัยวรรณ ทองอำพล
4. นายพงศ์ธร ช่างคิด
5. จ.ส.ต.ประภาส พูลประภัย

ชุมชนบ้านทุ่งโดน 3 ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่สามารถนำขยะอินทรีย์ในครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมักอินทรีย์

 

40.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่สามารถจัดทำถังขยะอินทรีย์

 

30.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่สามารถนำขยะอินทรีย์ในครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมักอินทรีย์

 

25.00
4 ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

 

25.00

ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นภายในชุมชนส่วนใหญ่เกิดจาก อาคาร บ้านเรือน และ แหล่งชุมชนขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในแต่ละวันส่วนใหญ่เป็นประเภทขยะอินทรีย์ หรือขยะเปียก เช่นเศษอาหาร เศษเนื้อสัตว์ อาหารทะเล เศษผักและเปลือกผลไม้ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีวิธีการจัดการมูลฝอยด้วยตัวเอง และยังไม่ให้ความสำคัญในการคัดแยกประเภทของขยะมูลฝอย ในการจัดการขยะในครัวเรือนปัจจุบันเศษขยะอินทรีย์ถูกทิ้งรวมกับขยะทั่วไป ส่งผลกระทบตามมา คือปัญหากลิ่นเหม็นของขยะ แมลงวัน และสัตว์นำโรคชนิดต่างๆ ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชน ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆ ตามมา

จากการที่ชุมชนบ้านทุ่งโดน 3 ได้มีการประชุมหารือร่วมกัน ระหว่างคณะกรรมการชุมชน และประชาชนส่วนหนึ่งในชุมชน ร่วมกับเทศบาล ซึ่งได้ร่วมกันหารือแนวทางในการกำจัดขยะอินทรีย์ เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคซึ่งมีแมลงต่างๆ เป็นพาหะ เช่นแมลงวัน แมลงหวี่ หนู ฯลฯ จึงมีความคิดเห็นร่วมกัน ในการจัดโครงการลดขยะอินทรีย์ ลดโรค โดยนอกจากเป็น การลดโรคแล้ว ได้ผลผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับการเพาะปลูก ให้ประชาชนปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือนโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้ในครัวเรือน โดยใช้วัสดุเหลือใช้เป็นภาชนะในการปลูกพืช

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้ เรื่อง การจัดการขยะอินทรีย์แก่ครัวเรือนมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค

ร้อยละของผู้เข้าอบรับการอบรมสามารถจัดการขยะอินทรีย์ได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น

40.00 90.00
2 เพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำถังขยะอินทรีย์ แก่ครัวเรือนเป้าหมาย

ร้อยละของผู้เข้าอบรมสามารถจัดทำถังขยะอินทรีย์ได้

30.00 80.00
3 เพื่อนำขยะอินทรีย์ในครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ เพื่อใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือนหรือรั้วบ้าน สร้างการบริโภคที่ปลอดสารพิษและสุขภาพที่ดี สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค

ร้อยละของครัวเรือนมีการนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการหมักมาใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ สร้างการบริโภคที่ดีปลอดสารพิษและมีสุขภาพที่ดีเพิ่มขึ้น

25.00 90.00
4 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์ เพิ่มขึ้น

25.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ 5
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการกำจัดขยะ และการจัดทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการกำจัดขยะ และการจัดทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กำหนดการฝึกอบรมให้ความรู้ในการกำจัดขยะ และการจัดทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือน
    กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม ชุมชนบ้านทุ่งโดน 3 , ชุมชนบ้านทุ่งโดน 4 , ชุมชนบ้านคลองหวะ 1 รวม 40 คน
  • จัดตั้งกลุ่มไลน์เพื่อติดตามการดำเนินการ
  • กลุ่มเป้าหมายฝึกปฏิบัติการจัดทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือนเพื่อเป็นปุ๋ยสำหรับพืช

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าวิทยากรกลุ่มอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 คน x 800 บาท x 6 ชั่วโมง
เป็นเงิน 14,400 บาท
2. ค่าที่พักวิยากร ร่วมกับชุมชนบ้านคอหงส์ 4
3. ค่าวิทยากร (ไป-กลับ) ร่วมกับชุมชนบ้านคอหงส์ 4
4. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 40 คน x 80 บาท x 1 มื้อ
เป็นเงิน 3,200 บาท
5. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 25 บาท x 1 มื้อ
เป็นเงิน 1,000 บาท
6. ค่าคู่มือการฝึกอบรม จำนวน 40 เล่ม x 20 บาท
เป็นเงิน 800 บาท
7. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1 x 3 เมตร x 150 บาท
เป็นเงิน 450 บาท
8. ค่าขี้เลื่อย จำนวน 100 กระสอบ x 50 บาท
เป็นเงิน 5,000 บาท
9. ค่าน้ำตาลทราย จำนวน 10 กิโลกรัม x 25 บาท
เป็นเงิน 250 บาท
10. ค่าวัสดุจัดทำถังขยะอินทรีย์ ประกอบด้วย ถังขนาด 120 ลิตร ท่อ PVCกาว เทปพันกะละมัง เป็นเงินจำนวน 800 บาท
จำนวน 40 คน x 2 ชุด x 800 บาท
เป็นเงิน 64,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการกำจัดขยะ และการจัดทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือน
  2. สามารถนำขยะอินทรีย์เปลี่ยนเป็นปุ๋ยพืชผักและดินสำหรับปลูกพืช
  3. สามารถลดภาระของเทศบาลในการจัดเก็บขยะและค่าใช้จ่ายในการจัดขยะ
  4. ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับถังขยะอินทรีย์ 2 ถัง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
89100.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการปลูกผักอินทรีย์ เพื่อสุขภาพ การเตรียมดินการเพาะต้นกล้า การปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการปลูกผักอินทรีย์ เพื่อสุขภาพ การเตรียมดินการเพาะต้นกล้า การปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้ในการปลูกผักอินทรีย์ เพื่อสุขภาพ การเตรียมดินการเพาะต้นกล้า
    การปลูกผักปลอดสารพิษโดยการนำปุ๋ยที่ได้จากการทำถังขยะอินทรีย์มาปลูกผัก

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 1 คน x 600 บาท x 6 ชั่วโมง
เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 40 คน x 80 บาท
เป็นเงิน 3,200 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 25 บาท x 1 มื้อ
เป็นเงิน 1,000 บาท
4. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1 x 3 เมตร x 150 บาท
เป็นเงิน 450 บาท
5. ค่าหน้าดิน จำนวน 2 คันรถ x 1,800 บาท
เป็นเงิน 3,600 บาท
6. ค่าแกลบดำ จำนวน 20 กระสอบ x 50 บาท
เป็นเงิน 1,000 บาท
7. ค่ากาบมะพร้าว จำนวน 20 กระสอบ x 50 บาท
เป็นเงิน 1,000 บาท
8. ค่าเมล็ดพันธุ์พืชต่าง ๆ (ผักกาด ผักกวางตุ้งพริก ผักบุ้ง มะเขือ ฯลฯ) จำนวน 240 ซอง x 20 บาท
เป็นเงิน 4,800 บาท
9. ค่ากระถางต้นไม้ จำนวน 80 ใบ x 50 บาท
เป็นเงิน 4,000 บาท
10. ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท

.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคในครัวเรือน
  2. สมาชิกในครัวเรือนลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเนื่องจากได้บริโภคผักปลอดสารพิษ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 112,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครัวเรือนสามารถผลิตผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคในครัวเรือน
2. สามารถนำขยะอินทรีย์เปลี่ยนเป็นปุ๋ยพืชผักและดินสำหรับปลูกพืช
3. สามารถลดภาระของเทศบาลในการจัดเก็บขยะและค่าใช้จ่ายในการจัดขยะ


>