กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คัดแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนและครัวเรือน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ชมรม อสม. หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านพร้าว/นางกนกวรรณ หลินมา

1.นางกนกวรรณ หลินมา
2.นางสาววิณารัตน์ สาครินทร์
3.นางรัตนา เพชรขาวช่วย
4.นางเรณู ชูเนื่อง
5.นางสาววนิดา สงอักษร

หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาขยะเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติที่ทุกหน่วยงาน/องค์กรต้องร่วมมือกันแก้ไข หากปัญหาขยะไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกวิธีจะก่อให้เกิดมลพิษทางสิงแวดล้อมและแหล่งเพาะพันธุ์โรคต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน โดยปริมาณขยะที่เพิ่มสูงขึ้นทุกเดือน หากไม่ได้รับการกำจัดที่ถูกวิธีก็จะเป็นปัญหาชุมชนและเพิ่มค่าใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการ ดังนั้นทางชมรม อสม.หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านพร้าว ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการคัดแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนและครัวเรือน เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ประชาชนสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกวิธี และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดต้นทุนในการบริการจัดการขยะในครัวเรือนได้อีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในครัวเรือนและในพื้นที่รู้จักคัดแยกขยะและลดปัญหาขยะในชุมชน

ร้อยละ 80 ของครัวเรือน ได้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการคัดแยกขยะและการทำน้ำหมักชีวภาพ

80.00 80.00

เพื่อให้ประชาชนในครัวเรือนและในพื้นที่รู้จักคัดแยกขยะและลดปัญหาขยะในชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน และแนะนำวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน และแนะนำวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการ 1x3 ม. @150 เป็นเงิน 450 บาท
  • ค่าวิทยากร 3 ชม.ๆละ 300.- เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าอุปกรณ์การทำน้ำหมัก ถังดำ ขนาด 12x15 นิ้ว จำนวน 60 ใบๆละ 120.- เป็นเงิน 7,200 บาท
  • ค่าวัสดุการทำน้ำหมักชีวภาพ 15 ชุดๆละ 330.- เป็นเงิน 4,950 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25.- เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของครัวเรือน ได้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการคัดแยกขยะและการทำน้ำหมักชีวภาพ /ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถคัดแยกขยะและทำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ในครัวเรือนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
**ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม**

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการกำจัดขยะในครัวเรือนได้อย่างถูกต้อง
2.สามารถลดจำนวนขยะในชุมชน
3.สามารถนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์
4.มีครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะในครัวเรือน


>