กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนปลอดขยะ ปลอดโรค ปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

1. นายอุทิศ คงทอง
2. นางหนูอั้น ไข่ทอง
3. นางศรีอมร ฉิ้มสังข์
4. นางปรีดา เทพชนะ
5. นางอวยพร คงหมุน

หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครัวเรือนต้นแบบที่แยกขยะถูกต้อง

 

120.00

ปัจจุบันปัญหาการกำจัดขยะเป็นปัญหาใหญ่ของหลายๆ ประเทศ แม้ในประเทศไทยเองก็กำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัดขยะ เช่น หาพื้นที่ว่างเปล่าห่างไกลเป็นที่ทิ้งขยะ หรือแม้แต่การแสวงหาหนทางทางชีวปฎิบัติใดๆ วิธีการต่างๆ ก็ยังไม่สามารถหาจุดสมดุลได้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขยะทุกวันนี้ คนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้างขยะได้มากถึง 14 ล้านตันต่อปี แต่ความสามารถ ในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง 70% ของขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้างและปัญหาทางมลภาวะต่างๆ คือ 1. อากาศเสีย เกิดจากการเผามูลฝอยกลางแจ้งทำให้เกิดควันและสารมลพิษทางอากาศ 2. น้ำเสีย เกิดจากการกองมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้นเมื่อฝนตกจะเกิดน้ำเสียซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำทำให้เกิดมลภาวะมลพิษทางน้ำ 3. แหล่งพาหะนำโรค จากมูลฝอยตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน 4. เหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมดทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน ซึ่งการไม่แยกประเภทของขยะนั้นเป็นสาเหตุซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน คือ เมื่อขยะหลาย ๆ ประเภทถูกทิ้งรวมกันโดยไม่ได้แยกประเภท เช่น ขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะที่สามารถนำมารีไซเคิล และขยะที่เป็นพิษ สารเคมีต่างๆจากขยะที่เป็นพิษจะไหลลงสู่พื้นดิน ถ้าขยะที่ไม่ได้แยกประเภทถูกนำไปเผารวมกันก็จะก่อให้เกิดแก๊สพิษ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การที่ไม่แยกประเภทขยะ ทำให้ขยะบางประเภทซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ เช่น ขวดพลาสติก แก้วพลาสติก กระดาษ นั้นยากต่อการแยกประเภท ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากรมากขึ้นซึ่งผลจากการไม่แยกประเภทของขยะนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว จึงจัดทำโครงการชุมชนปลอดขยะ ปลอดโรค ปลอดภัยขึ้น เพื่อเป็นการรณรงค์และส่งเสริมการลดปริมาณขยะ การทิ้ง การคัดแยกขยะและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธีโดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้ประชาชน มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ วิธีการลดปริมาณขยะ การคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่ การกำจัดขยะอย่างถูกวิธี รวมทั้งขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง จากการที่ประชาชนนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติคัดแยกขยะจากต้นทาง ส่งผลให้มีการจัดการขยะโดยชุมชน ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการรักษาความสะอาด และสร้างธรรมนูญสุขภาพครบทั้ง 3 หมู่บ้าน

ประชาชนทุกครัวเรือนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดและและสร้างธรรมนูญสุขภาพครบทั้ง 3 หมู่บ้าน

0.00 3.00
2 เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ทุกหมู่บ้านเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

สภาพแวดล้อมของหมู่บ้านเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทุกหมู่บ้าน

0.00 3.00
3 เพื่อลดขยะในครัวเรือนลง ร้อยละ 30 ของขยะทั้งหมด

ครัวเรือนมีการแยกขยะและจัดการขยะในครัวเรือน ขยะลดลง ร้อยละ 30

120.00 189.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,629
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำสุขภาพครอบครัว การจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และการนำขยะไปใช้ประโยชน์

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำสุขภาพครอบครัว การจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และการนำขยะไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 3 วัน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • เอกสารประกอบการอบรม จำนวน 120 ชุด ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2565 ถึง 20 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • แกนนำสุขภาพครอบครัวที่ผ่านการอบรมมีการจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และการนำขยะไปใช้ประโยชน์ทุกครัวเรือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13200.00

กิจกรรมที่ 2 การแยกขยะและการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนและการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์จากขยะในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การแยกขยะและการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนและการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์จากขยะในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กากน้ำตาล จำนวน 12 แกลลอน (5 ลิตร) ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ถังมีฝาปิด จำนวน 60 ใบๆละ 150 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ครัวเรือนการแยกขยะและการจัดการขยะอินทรีย์และการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์จากขยะในชุมชนทกครัวเรือนที่เข้าร่วมอบรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
เรียนรู้ร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างหมู่บ้าน
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • แกนนำสุขภาพครอบครัวมีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทุกคนทั้ง 3 หมู่บ้าน และเกิดนวัตกรรมชุมชนจากขยะอินทรีย์ 2 ชิ้นงาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,800.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ทุกครัวเรือนเป้าหมายมีการจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และนำขยะไปใช้ประโยชน์
- ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกโรคอุจจาระร่วง ของประชาชนในพื้นที่
- บ้านเรือน หมูบ้าน ชุมชน มีสภาพเอื้อต่อการป้องกันโรค
- มีผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนจากขยะ 2 ชิ้นงาน


>