กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุและการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ประจำปี พ.ศ. 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าพุทรา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุและการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ประจำปี พ.ศ. 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าพุทรา

สำนักปลัด(งานสาธารณสุขฯ) องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพุทรา

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพุทรา อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพช

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

49.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

57.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

63.00
4 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

 

58.00
5 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

26.00
6 ร้อยละสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ

 

88.00
7 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

67.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

26.00 30.00
2 เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

จำนวน สถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้น

88.00 90.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลงลด

49.00 45.00
4 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

57.00 50.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

63.00 73.00
6 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหารปลอดภัยและเพียงพอ

ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

67.00 76.00
7 เพื่อลด จำนวนผู้สูงอายุที่ติดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม  ลดลง

58.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ขั้นเตรียม

ชื่อกิจกรรม
1. ขั้นเตรียม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  2. ประสานงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เอกสารต่างๆ

งบประมาณ 1. ค่าอุปกรณ์สาธิตการออกกำลังกาย (รอกกะลามะพร้าว) จำนวน 30 อันๆละ 220 บาท  เป็นเงิน  6,600  บาท 2. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 x 4 เมตร จำนวน 1 ป้ายๆละ 600 บาท เป็นเงิน  600  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 1 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบขอบเขตงาน สามารถประสานงานกันได้ชัดเจน
  • ประชาชนทราบโครงการ เตรียมพร้อมลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
  • เอกสารลงทะเบียนพร้อมสำหรับประชาชน
  • รอกกะลามะพร้าว จำนวน 30 อัน เป็นอุปกรณ์สาธิตการออกกำลังกาย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

กิจกรรมที่ 2 2. ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
2. ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ลงทะเบียน และพิธีเปิดโครงการโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพุทรา
  2. บรรยายให้ความรู้การเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  3. การส่งเสริมการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยและมีทักษะที่ถูกต้อง
  4. ทบทวนท่าการออกกำลังกายและสาธิตการออกกำลังกายด้วยรอกกะลามะพร้าว

งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและน้ำดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 60 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2565 ถึง 10 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการฯ
  • ได้รับความรู้ในการเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • มีการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยและมีทักษะที่ถูกต้อง
  • ได้ท่าการออกกำลังกายและสาธิตการออกกำลังกายด้วยรอกกะลามะพร้าว
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9100.00

กิจกรรมที่ 3 3. ขั้นสรุปและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
3. ขั้นสรุปและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประเมินผลหลังอบรม โดยใช้แบบประเมินความรู้และแบบประมินความพึงพอใจ
  2. สรุปผลการดำเนินโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มีนาคม 2565 ถึง 9 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • รายงานโครงการให้คณะกรรมการกองทุนฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงช่วงก่อนวัยสูงอายุ การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ สังคม ในสภาพแวดล้อมที่ดีและสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข รวมถึงสามารถนำไปปฏิบัติในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้ถูกต้อง
2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถประเมินสุขภาพของตนเอง และคนใกล้ชิดที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุได้อย่างถูกต้อง
3. ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย


>