กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งค่าย

ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 6 ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย จากสถิติของ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ๒๕๖๑ พบว่าโรคมะเร็งปากมดลูกเป็น สัดส่วนร้อยละ ๓๓.๑ ของมะเร็งทุกชนิด รองลงมาได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งช่องปาก มะเร็งปอด มะเร็งรังไข่ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ และด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก โรคมะเร็งปากมดลูกถ้าตรวจพบเซลล์ผิดปกติในระยะแรกๆ จะมี โอกาสรักษาให้หายขาดได้ร้อยละ ๙๐ ดังนั้น จากปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กําหนดเกณฑ์ตัวชีวัดใน สตรี ที่มีช่วงอายุ ๓๐-๖๐ ปี ต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ (ผลงานสะสมรอบ ๕ ปีคือตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖)
ปัจจุบัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลทุ่งค่ายมีกลุ่มเป้าหมายประชากรกลุ่มนี้จํานวน ๔๒๔ คนเข้ารับการ ตรวจ ๕๔๙ คนคิดเป็นร้อยละ ๕๙.๔๒ (ของปีงบประมาณ ๒๕๖๔) ผลงานรวม ๓ ปีซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตามคํารับรองของ กระทรวงสาธารณสุข จึงจําเป็นต้องกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และเข้าใจ เห็นความสําคัญและยินยอม เข้ารับการตรวจคัดกรองให้ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
จากผลงานที่ผ่านมา กลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการน้อยเนื่องจากมีความอายและกลัวเป็นส่วนใหญ่ฉะนั้นจึงยาก ต่อการปฏิบัติงานให้ประสบความสําเร็จได้ ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลทุ่งค่าย จึงได้จัดทํา “โครงการ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก” ขึ้นมาเพื่อกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้เกิดความตระหนัก ลดความหวาดกลัวและความ อายยินยอมเข้ารับการตรวจคัดกรองฯ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test ร้อยละ 80

สตรีอายุ 30- 60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อค้นหาเซลล์ผิดปกติร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อค้นหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกและส่งต่อผู้ป่วยที่พบความผิดปกติจากการคัดกรอง ได้รับการรักษาโรคทันท่วงที

สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการส่งต่ออย่างเป็นระบบร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและตรวจมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและตรวจมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 80
2.สตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อค้นหาเซลล์ผิดปกติร้อยละ 80
3.สตรีอายุ 30-60ปีตรวจพบเซลล์ผิดปกติได้รับการส่งต่ออย่างเป็นระบบร้อยละ 100


>