กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ให้ความรู้และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เขตรับผิดชอบของมัสยิดอัลอิสลามียะห์ (กาเต๊าะ) หมู่ที่ 6 ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ให้ความรู้และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เขตรับผิดชอบของมัสยิดอัลอิสลามียะห์ (กาเต๊าะ) หมู่ที่ 6 ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

มัสยิดอัลอิสลามิยะ บ้านกาเต๊าะ

1. นายอาหะมะ สาและ อิหม่ำ
2. นายมาหะมะ สาเระคอเต็บ
3. นายรอเซะ เซ็งเงาะกรรมการ
4. นายมะรอเซะ บาโด กรรมการ
5. นายยาการียา ลาเตะ เลขานุการ

ม.6 บ้านกาเต๊าะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนมีความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 30 คน

 

30.00

ประเทศจีนได้ยืนยันเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2562 เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในเมืองอู่ฮั่น ในเวลาต่อมาประเทศจีนและองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุชื่อเรียกของไวรัสชนิดนี้ว่าคือ "ไวรัสโคโรนา" หรือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไวรัสโคโรนาเคยเกิดการระบาดในมนุษย์แล้ว มีทั้งหมด 6 สายพันธุ์ สำหรับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดเป็นสายพันธุ์ที่ 7 คนไทยรู้จักไวรัสในตระกูลนี้มาแล้วจากโรค "ซาร์ส" หรือโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS; Severe Acute Respiratory Syndrome) ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรนาเช่นกัน และเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563 ได้พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในไทยเป็นรายแรก เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาจากเมือง อู่ฮั่น จากสถานการณ์การระบาดของโรคทั่วโลกพบว่ามีผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 109,155,699 คน เสียชีวิตแล้ว จำนวน2,407,869 คน สำหรับในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 24,786 คน เสียชีวิตแล้ว จำนวน 82 คน (ข้อมูล ณ วันที่16 กุมภาพันธ์ 2564)
การระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สามารถแพร่จากคนสู่คนผ่านทางละอองน้ำมูก น้ำลายจากจมูกหรือปากซึ่งออกมาเมื่อผู้ป่วย ไอ จามหรือพูด ละอองเหล่านี้ค่อนข้างหนัก ไปไม่ได้ไกล และจะตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว คนรับเชื้อโรคไวรัสโคโรนา ได้จากการหายใจเอาละอองเข้าไปจากผู้ป่วย หรือคนที่เป็นพาหะ ดังนั้น คนที่เดินทางจากพื้นที่ที่มีคนเป็นโรคหรือพาหะ พื้นที่เสี่ยงของโรค เช่น ปัจจุบันจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดปทุมธานี และอีกหลายจังหวัดที่มีผู้ป่วยที่ไม่ได้กล่าวถึง ตลอดจนคนเดินทางที่มาจากต่างประเทศที่เสี่ยงโรคนี้ เดินทางช่องธรรมชาติ แล้วกลับมาพักอาศัยพื้นที่บ้านเกิด ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เสี่ยงต่อการติดเชื่อและเกิดการระบาดโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และส่งผลเสียต่อสุขภาพอาจทำให้เสียชีวิตได้ และทำให้ปิดพื้นที่ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจเสียหาย ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนลำบาก
การป้องกันโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จำเป็นต้องให้ประชาชนมีความตระหนักในการรักษาสุขอนามัยของมือและมารยาทในการไอ หรือจามเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำตลอดเวลา และเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันตัวเองและคนอื่น เมื่อเป็นไปได้ รักษาระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อยืนใกล้คนที่กำลังไอหรือจาม เนื่องจากผู้ติดเชื้อบางรายอาจยังไม่แสดงอาการ การเว้นระยะห่างจากทุกคนก็ยังเป็นความคิดที่ดีหากคุณอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
จากข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่าประชาชนในพื้นที่ได้เดินทางกลับภูมิลำเนาช่วงที่มีการระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งอาจนำเชื้อมาแพร่ระบาดในพื้นที่พักอาศัยตามภูมิลำเนาในพื้นที่รับผิดชอบของมัสยิดได้ จึงได้จัดโครงการนี้เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดจากพื้นที่ต่างๆเพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ร้อยละ 100

30.00 30.00
2 เพื่อให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  จำนวน 30 คน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย

1.1.1 อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

1.1.2 สาธิตการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,500 บ.
  • ค่าอาหาร 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,500 บ.
  • ค่าวิทยากรจำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บ.
  • ค่าไวนิล ขนาด 1*2 เมตร ตร.เมตรละ 350 บาท เป็นเงิน 700 บ.
  • ค่าวัสดุประกอบการอบรม เป้นเงินจำนวน 600 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ร้อยละ 100
  2. ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)จำนวน 30 คน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)


>