กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ให้ความรู้และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เขตรับผิดชอบของมัสยิดนูรูอีบาดะห์ (น้ำหอม) หมู่ที่ 7 ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ให้ความรู้และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เขตรับผิดชอบของมัสยิดนูรูอีบาดะห์ (น้ำหอม) หมู่ที่ 7 ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

มัสยิดนูรุลอีบาดะห์ (น้ำหอม)

1. นายอายิ สามะแอ อิหม่ำ
2. นายสมาแอ แยนาคอเต็บ
3. นายลาเล็ง อาลีกรรมการ
4. นายมะรอฮิง มะรอนิง กรรมการ
5. นายซาการียา แซมา เลขานุการ

หมู่ที่ 7 บ้านน้ำหอม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนที่ได้รับผลกระทบที่เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

30.00

ประเทศจีนได้ยืนยันเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2562 เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในเมืองอู่ฮั่น ในเวลาต่อมาประเทศจีนและองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุชื่อเรียกของไวรัสชนิดนี้ว่าคือ "ไวรัสโคโรนา" หรือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไวรัสโคโรนาเคยเกิดการระบาดในมนุษย์แล้ว มีทั้งหมด 6 สายพันธุ์ สำหรับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดเป็นสายพันธุ์ที่ 7 คนไทยรู้จักไวรัสในตระกูลนี้มาแล้วจากโรค "ซาร์ส" หรือโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS; Severe Acute Respiratory Syndrome) ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรนาเช่นกัน และเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563 ได้พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในไทยเป็นรายแรก เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาจากเมือง อู่ฮั่น จากสถานการณ์การระบาดของโรคทั่วโลกพบว่ามีผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 109,155,699 คน เสียชีวิตแล้ว จำนวน2,407,869 คน สำหรับในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 24,786 คน เสียชีวิตแล้ว จำนวน 82 คน (ข้อมูล ณ วันที่16 กุมภาพันธ์ 2564)
การระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สามารถแพร่จากคนสู่คนผ่านทางละอองน้ำมูก น้ำลายจากจมูกหรือปากซึ่งออกมาเมื่อผู้ป่วย ไอ จามหรือพูด ละอองเหล่านี้ค่อนข้างหนัก ไปไม่ได้ไกล และจะตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว คนรับเชื้อโรคไวรัสโคโรนา ได้จากการหายใจเอาละอองเข้าไปจากผู้ป่วย หรือคนที่เป็นพาหะ ดังนั้น คนที่เดินทางจากพื้นที่ที่มีคนเป็นโรคหรือพาหะ พื้นที่เสี่ยงของโรค เช่น ปัจจุบันจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดปทุมธานี และอีกหลายจังหวัดที่มีผู้ป่วยที่ไม่ได้กล่าวถึง ตลอดจนคนเดินทางที่มาจากต่างประเทศที่เสี่ยงโรคนี้ เดินทางช่องธรรมชาติ แล้วกลับมาพักอาศัยพื้นที่บ้านเกิด ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เสี่ยงต่อการติดเชื่อและเกิดการระบาดโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และส่งผลเสียต่อสุขภาพอาจทำให้เสียชีวิตได้ และทำให้ปิดพื้นที่ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจเสียหาย ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนลำบาก
การป้องกันโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จำเป็นต้องให้ประชาชนมีความตระหนักในการรักษาสุขอนามัยของมือและมารยาทในการไอ หรือจามเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำตลอดเวลา และเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันตัวเองและคนอื่น เมื่อเป็นไปได้ รักษาระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อยืนใกล้คนที่กำลังไอหรือจาม เนื่องจากผู้ติดเชื้อบางรายอาจยังไม่แสดงอาการ การเว้นระยะห่างจากทุกคนก็ยังเป็นความคิดที่ดีหากคุณอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
จากข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่าประชาชนในพื้นที่ได้เดินทางกลับภูมิลำเนาช่วงที่มีการระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งอาจนำเชื้อมาแพร่ระบาดในพื้นที่พักอาศัยตามภูมิลำเนาในพื้นที่รับผิดชอบของมัสยิดได้ จึงได้จัดโครงการนี้เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดจากพื้นที่ต่างๆเพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ร้อยละ 100

30.00 30.00
2 เพื่อให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  จำนวน 30 คน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย

1.1.1 อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

1.1.2 สาธิตการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,500 บ.
  • ค่าอาหาร 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,500 บ.
  • ค่าวิทยากรจำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บ.
  • ค่าไวนิล ขนาด 1*2 เมตร ตร.เมตรละ 350 บาท เป็นเงิน 700 บ.
  • ค่าวัสดุประกอบการอบรม เป้นเงินจำนวน 600 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้และลดความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

การดำเนินงานโครงการนี้คาดว่าประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)และทำให้เกิดการตระหนักในการป้องกันตนเองได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่ให้มีผลอันตรายต่อร่างกายได้


>