กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ บริหารจัดการกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะแหน (โครงการประเภท ที่ 4 )

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะแหน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ บริหารจัดการกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะแหน (โครงการประเภท ที่ 4 )

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะแหน

กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะแหน

นายยูนุ๊ห์เลาะสุหลง
นายประภาสบุญกำเนิด
นางสุมาลีสะแลมัน
นายดุลการิมโดยหมะ

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลจะแหน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชนกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 13 (3)มาตรา 18 (4) (8) (9) และมาตรา 47ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน ประสาน และกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน รวมถึงสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร ดำเนินงาน และบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ ตามประกาศฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2557ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมี ส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่โดยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ
กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลจะแหนได้เล็งเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ขึ้นเพื่อให้คณะกรรมการบริหารกองทุนเข้าใจวัตถุประสงค์การบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เข้าใจแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจนบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการร่วมเป็นคณะกรรมการการใช้โปรแกรมในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในการทำงานด้านบัญชี การดำเนินโครงการ กิจกรรม และการจัดการข้อมูลพื้นฐานส่งผลให้ดำเนินการการบริหารจัดการงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

3.1 เพื่อให้คณะกรรมการบริหารกองทุนเข้าใจวัตถุประสงค์การบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เข้าใจแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจนบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการร่วมเป็นคณะกรรมการ ตามประกาศฉบับใหม่ พ.ศ. 2561
3.2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการกองทุน คณะทำงานมีความรู้ ความเข้าใจในการอนุมัติการกลั่นกรอง แนวทางการดำเนินงานติดตามโครงการกิจรรมเป็นไปในทิศทางเดียวกันในบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3.3 เพื่อให้คณะกรรมการบริหารกองทุนได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เรียนรู้กรณีศึกษาต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา และบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 18

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 บริหารจัดการกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
บริหารจัดการกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลจะแหน จำนวน  78,879 บาท (  ร้อยละ15 ของเงินรายรับในปีงบประมาณ  2564 ) กิจกรรมที่  6.1 การประชุมคณะกรรมการบริหาร  คณะอนุกรรมการ  คณะทำงาน ค่าตอบแทนการประชุมคณะกรรมการบริหารและคณะทำงาน
               จำนวน 18 คน X คนละ 400 บาท X 6 ครั้ง เป็นเงิน  43,200  บาท ค่าตอบแทนการประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ คณะทำงาน ค่าตอบแทนการประชุมคณะกรรมากลั่นกรองและติดตามโครงการ จำนวน 5 คน x คนละ 300 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท
รวมเป็นเงิน  46,200     บาท ค่าค่าใช้จ่ายในการอบรมเพิ่มศักยภาพบุคลคลากร เป็นเงิน       10,000     บาท กิจกรรมที่ 9.2 บริหารจัดการเรื่องการให้ความรู้ในเรื่องระเบียบต่างๆของ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 6 ครั้ง ๆ 35 บาท จำนวน 18 คน  เป็นเงิน      3,780 บาท จำนวน
กิจกรรมที่ 9.3 บริหารจัดการเรื่องวัสดุสำนักงานต่างๆเช่นกระดาษ A4 ซ่อมบำรุง หมึกพิมพ์  เอกสารประชุม  ค่าถ่ายเอกสารและทำคู่มือการดำเนินงานกองทุน ค่าจัดซื้อครุภัณฑ์ ต่าง ๆ และอื่น ๆ ฯลฯ เป็นเงิน      18,809    บาท

                        รวมเป็นเงินทั้งหมด 78,879 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถใช้งานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพของงานกองทุน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
78879.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 78,879.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>