กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลูกผัก รักษ์สุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

โรงเรียนบ้านปงตา

1. นายมุคลิศ คอลออาแซ 2. นางแวนาปีซ๊ะ มะตีมัน 3. นางโสรยา บอซู 4. นางตอบ๊ะ อาแว 5. นางสาวฮายาตี เซ็งและ

โรงเรียนบ้านปงตา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนได้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้นทำให้ประชาชนขาดการเคลื่อนไหวออกแรงในชีวิตประจำวันและขาดการออกกำลังกาย ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ การป้องกันที่ดีอีกทางเลือกหนึ่งคือการสร้างสุขภาพดี ด้วยการออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ ซึ่งต้องเลือกปฏิบัติให้เหมาะสมวัยด้วย องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความว่า กิจกรรมทางกายไม่ได้จำกัดเฉพาะการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเท่านั้น แต่รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายใดๆ ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อและพลังงานในชีวิตประจำวันทั่วไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นในการทำงาน เช่น การขึ้นบันได การเดินระหว่างอาคาร การเดินทาง เช่น การเดิน หรือปั่นจักรยานไปยังสถานที่ต่างๆ หรือกิจกรรมนันทนาการ เช่น การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา เพราะฉะนั้นกิจกรรมทางกายจึงทำได้ทุกที่ทุกเวลาเพื่อสุขภาพที่ดี โรงเรียนบ้านปงตาจึงเห็นว่า นักเรียนควรมีกิจกรรมทางกายระหว่างอยู่บ้าน โดยการจัดกิจกรรมปลูกผัก รักษ์สุขภาพ เพื่อส่งเสริมผู้เรียนมีกิจกรรมเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายในแต่ละวัน
และมีสุขภาพร่างกายที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียนมีกิจกรรมเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายในแต่ละวัน

นักเรียนร้อยละ 80 มีกิจกรรมเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายในแต่ละวัน

0.00
2 นักเรียนและผู้ปกครองสามารถทำฮอร์โมนนมสดได้

ร้อยละ 80 ของนักเรียนและผู้ปกครองสามารถทำฮอร์โมนนมสดได้

0.00
3 นักเรียนมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในระดับสมส่วน

นักเรียนมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ดีขึ้นและสมส่วน

0.00

1. นักเรียนร้อยละ 80 มีกิจกรรมเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายในแต่ละวัน
2. ร้อยละ 80 ของนักเรียนและผู้ปกครองสามารถทำฮอร์โมนนมสดได้
3. นักเรียนมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในระดับสมส่วน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 65
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/06/2022

กำหนดเสร็จ 15/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการทำฮอร์โมนนมสดเพื่อเร่งผักให้โต

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการทำฮอร์โมนนมสดเพื่อเร่งผักให้โต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ให้ความรู้เรื่องการทำฮอร์โมนเร่งพืชให้โตสูตรต่างๆ เพื่อเร่งพืชให้โตอย่างปลอดภัยโดยวิทยากร
  2. สาธิตวิธีการทำฮอร์โมนนมสดโดยวิทยากร
  3. ให้นักเรียนและผู้ปกครองทดลองทำฮอร์โมนนมสด

- ค่าวิทยากร 1 คน 6 ชั่วโมง 600x6 = 3,600
- ค่าอาหารว่างนักเรียนและผู้ปกครอง 2 มื้อ 30 บาท 30x129x2 = 7,740 - ค่าอาหารกลางวันผู้ปกครอง 60 บาท 60xุ64 = 3,840 - ค่านมสด กล่องละ 13 บาท 13 กลุ่ม13x13x2 = 338
- ค่าผงชูรส ถุงละ 5 บาท 13 กลุ่ม 5x13x2 = 130
- ค่าเครื่องดื่ม M150 ขวดละ 12 บาท 13 กลุ่ม 12x13x2 = 312

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มิถุนายน 2565 ถึง 14 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและผู้ปกครองสามารถทำฮอร์โมนนมสดเพื่อใช้เร่งต้นไม้ให้โตได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15960.00

กิจกรรมที่ 2 ผักโตไว ขยับกายทุกวัน

ชื่อกิจกรรม
ผักโตไว ขยับกายทุกวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. นักเรียนชั่งน้ำหนักส่วนสูงเพื่อวัดดัชนีมวลกาย(MBI)ก่อนเริ่มทำกิจกรรม
  2. นักเรียนปลูกผักในภาชนะที่เตรียมไว้
  3. ใช้ฮอร์โมนนมสด รดต้นผักที่ปลูก
  4. ดูแล รดน้ำ พรวนดิน ทุกวันจนต้นผักโตเต็มที่และสามารถนำมารับประทานได้
  5. นักเรียนชั่งน้ำหนักส่วนสูงเพื่อวัดดัชนีมวลกาย(MBI)หลังทำกิจกรรม

- ค่าเมล็ดผักบุ้ง ถุงละ 25 บาท 12 กลุ่ม 25x12x2 = 600 - ค่าตะกร้า อันละ 89 บาท 12 กลุ่ม 89x12x2 = 2,136 - ค่าบัวรดน้ำ 10ลิตร อันละ 95 บาท 12 กลุ่ม 95x12 = 1,140 - ค่าพลั่ว-ส้อม คู่ละ 45 บาท 12 กลุ่ม 45x12 = 540

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2565 ถึง 11 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีกิจกรรมเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายในแต่ละวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4416.00

กิจกรรมที่ 3 ผักสวย สุขภาพดีอวอร์ด

ชื่อกิจกรรม
ผักสวย สุขภาพดีอวอร์ด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. นักเรียนแต่ละกลุ่มวาดภาพระบายสีแปลงผักของตัวเอง
  2. นักเรียนนำเสนอผลงานโดยการบอกวิธีการปลูกผัก การดูแลในแต่ละวัน
  3. ครูผู้รับผิดชอบให้รางวัลสำหรับกลุ่มที่มีต้นผักสวยและสมาชิกในกลุ่มมีดัชนีมวลกายที่ดีขึ้นกว่าเดิม สีชอล์คpentel ราคา 58 บาท 58x12 = 696 ค่าอาหารว่างนักเรียน 30x65 = 1,950
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กรกฎาคม 2565 ถึง 12 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนเห็นความสำคัญของกิจกรรมทางกายในแต่ละวันและมีดัชนีมวลกายที่ดีขึ้นกว่าเดิม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2646.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,022.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีกิจกรรมเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายในแต่ละวัน
2. นักเรียนและผู้ปกครองสามารถทำฮอร์โมนนมสดได้
3. นักเรียนมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในระดับสมส่วน


>