กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ประจำปี ๒๕๖๕

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองออำเภอระแงะจังหวัดนราธิวาส

เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองออำเภอระแงะจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

 

8.85
2 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่

 

13.79

โรคเรื้อรังเป็นโรคซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากตัวเลขของผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันพบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานทั้งสิ้น 189 ล้านคนและคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึง 324 ล้านคน ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่เสียชีวิตจากภาวะโรคแทรกซ้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถป้องกันและควบคุมได้ อีกทั้งยังพบว่า อายุเฉลี่ยของการเริ่มต้นป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้นน้อยลงเรื่อยๆ และมีแนวโน้มจะลุกลามไปถึงเด็กในอนาคตอันใกล้ด้วยวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเรื่องการรับประทาน โรคเรื้อรังนอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานคือ "กรรมพันธุ์" และ "สิ่งแวดล้อม" ในส่วนของกรรมพันธ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานได้ การรักษาเบาหวานโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์จึงไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือประชาชนทั่วไปต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ค่ายเบาหวานหรือกิจกรรมชมรมอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเช่นคนปกติโดยปราศจากโรคแทรกซ้อน ซึ่งทางทีมผู้ดูแลเกี่ยวกับโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อให้ห่างไกลโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ จึงได้ออกรณรงค์คัดกรองเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป เขตรับผิดชอบจำนวน 1,235 คน พบผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งสิ้นจำนวน 311 คน พบผู้ที่เป็นโรคทั้งสิ้นจำนวน 471 คน โรงพยาบาลส่งเสริมสสุขภาพตำบลบองอ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ประจำปี 2565 เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม.มีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

อสม.มีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง ร้อยละ ๘๐

70.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มปกติมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

กลุ่มปกติมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง ร้อยละ ๘๐

60.00 80.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง ร้อยละ ๘๐

55.00 80.00
4 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลง

จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลดลง  ร้อยละ ๕

8.85 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง กลุ่มปกติ จำนวน ๒ รุ่น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง กลุ่มปกติ จำนวน ๒ รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าไวนิลป้ายโครงการ ๑ แผ่น ขนาด ๑x๓ เมตร เป็นเงิน๗๕๐บาท -ค่าอาหารกลางวัน๒๐๐ คน x ๕๐ บาท เป็นเงิน๑๐,๐๐๐บาท -ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม๒๐๐ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ เป็นเงิน๑๐,๐๐๐บาท -ค่าวิทยากร ๖ ชม.ๆละ ๖๐๐ บาท x ๒ รุ่น เป็นเงิน ๗,๒๐๐บาท - ค่าจ้างเหมาเต้นท์ จำนวน๒ หลังๆละ๗๐๐บาทx ๒ รุ่นเป็นเงิน ๒,๘๐๐บาท - ค่าเช่าเก้าอี้จำนวน ๑๐๐ ตัว x ๗ บาท x ๒ รุ่น เป็นเงิน ๑,๔๐๐ บาท - ค่าเช่าเครื่องเสียง ๑,๓๐๐บาทx ๒ รุ่น เป็นเงิน ๒,๖๐๐บาท รวมเป็น๓๔,๗๕๐บาท

กำหนดการอบรมให้ความรู้ ตามโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ประจำปี ๒๕๖๕ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส


กิจกรรมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง กลุ่มปกติ

เวลา กิจกรรม 08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 09.00 น. - 10.30 น. กิจกรรมให้ความรู้เรื่อง อาหาร ลดเสี่ยง ลดโรค โดย นายรสเดชมะ 10.30 น. - 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
10.45 น. - 12.00 น. กิจกรรมให้ความรู้เรื่อง อาหาร ลดเสี่ยง ลดโรค โดย นายรสเดชมะ 12.00 น. - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. –14.45 น. แนวทางการประเมินสุขภาพของตนเอง โดย นายรสเดชมะ 14.45 น. – 15.00 น. รับประทานอาหารว่าง
15.00 น. - 16.15 น.กิจกรรมเรียนรู้ การจัดการเพื่อการปรับเปลี่ยนสุขภาพที่เหมาะสม โดย นายรสเดชมะ 16.15 น. – 16.30 น. ปิดการอบรม

หมายเหตุ : วันและเวลาดังกล่าว อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มปกติมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34750.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง กลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง กลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน๑๐๐ คน x ๕๐ บาท เป็นเงิน๕,๐๐๐บาท -ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม๑๐๐ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ เป็นเงิน๕,๐๐๐บาท -ค่าวิทยากร ๖ ชม.ๆละ ๖๐๐ บาทเป็นเงิน ๓,๖๐๐บาท - ค่าจ้างเหมาเต้นท์ จำนวน๒ หลังๆละ๗๐๐บาทเป็นเงิน ๑,๔๐๐บาท - ค่าเช่าเก้าอี้จำนวน ๑๐๐ ตัว x ๗ บาท เป็นเงิน ๗๐๐ บาท - ค่าเช่าเครื่องเสียง ๑,๓๐๐บาท เป็นเงิน ๑,๓๐๐บาท รวมเป็น๑๗,๐๐๐บาท

กำหนดการอบรมให้ความรู้ ตามโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ประจำปี ๒๕๖๕ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส


กิจกรรมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง กลุ่มเสี่ยง

เวลา กิจกรรม 08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 09.00 น. - 10.30 น. กิจกรรมให้ความรู้เรื่อง อาหาร ลดเสี่ยง ลดโรค โดย นายรสเดชมะ 10.30 น. - 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
10.45 น. - 12.00 น. แนวทางการประเมินสุขภาพของตนเอง โดย นายรสเดชมะ 12.00 น. - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. –14.45 น. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่อง ลดพุง ลดโรค โดย นายรสเดชมะ 14.45 น. – 15.00 น. รับประทานอาหารว่าง
15.00 น. - 16.15 น.กิจกรรมเรียนรู้ การจัดการเพื่อการปรับเปลี่ยนสุขภาพที่เหมาะสม โดย นายรสเดชมะ 16.15 น. – 16.30 น. ปิดการอบรม

หมายเหตุ : วันและเวลาดังกล่าว อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เพื่อให้อสม.มีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง
๒. เพื่อให้กลุ่มปกติมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง
๓. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง
๔. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลง


>