กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

หมู่ที่ 8 ก้าวไกลปลอดภัยทุกกลุ่มวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ชมรม อสม. หมู่ที่ 8 /นางกลอยใจ รัตนโกศัย

1.นางกลอยใจ รัตนโกศัย
2.นางจุรีย์ พรมแก้ว
3.นางเจียม ทองต้ง
4.นางอุบล นุ่นยัง
5.นางสมศรี ไชยแก้ว

พื้นที่เขตความรับผิดชอบของหมู่ที่ 8 ตำบลบ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาสารเคมีตกค้างในร่างกาย ในชุมชนบ้านหน้าป่าหมู่ที่ 8 ถือว่าเป็นปัญหาหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน และอัตราการเกิดโรคเรื้อรังของประชาชนก็เพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นการบริโภคอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อน ทางชมรม อสม. หมู่ที่ 8 บ้านหน้าป่า ได้เล็งเห็นความสำคัญของการของการจัดเก็บกิจกรรมคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดของประชาชนทุกกลุ่มวัย การอบรมให้ความรู้การส่งเสริมการทำน้ำหมักชีวภาพและการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ เพราะการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองภายในครัวเรือนจะช่วยลดการได้รับสารเคมีตกค้างจากอาหารที่รับประทาน การที่ประชาชนประรับประทานอาหารที่มีสารพิษตกค้าง จะส่งผลกระทบให้บุคคลดังกล่าว เกิดการเจ็บป่วย ระบบทางเดินหายใจและโรคผิวหนัง เช่น อาการแพ้และผื่นคันตามร่างกาย นอกจากนี้การใช้สารเคมีในการทำการเกษตร เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยังส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ดังนั้นชมรม อสม. หมู่ที่ 8 ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการหมู่ที่ 8 ก้าวไกลปลอดภัยทุกกลุ่มวัย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ ลดการใช้สารเคมี หันกลับมาทำเกษตรอินทรีย์ ที่มีความปลอดภัยไปสู่ความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพของคนในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้รับการคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด

90.00 90.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีการบริโภคผักที่ปลอดจากสารเคมี

ร้อยละ 80 ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีอาหารที่ปลอดจากสารเคมีไว้บริโภคและแบ่งปันให้ครัวเรือนใกล้เคียงได้

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดประชาชนทุกกลุ่มวัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดประชาชนทุกกลุ่มวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าป้ายโครงการฯ 1x3 ม. จำนวน 1 ป้ายๆละ 150.-เป็นเงิน 450 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 100 คนๆละ 25.- เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดจำนวน 100 คนๆละ 50.- เป็นเงิน 5,000 บาท -ค่าวิทยากร 3 ชม.ๆละ 300.- เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 90 ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด / ประชาชนในชุมชนได้รับการคุ้มครองสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8850.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 50 คนๆละ 25.- เป็นเงิน 1,250 บาท -ค่าวิทยากร 3 ชม.ๆละ 300.-  เป็นเงิน 900 บาท -ค่าวัสดุถังทำน้ำหมัก จำนวน  50 ใบๆละ 120.-  เป็นเงิน 6,000 บาท -ค่าวัสดุกากน้ำตาล 6 แกลลอนๆละ 350.- เป็นเงิน 2,100 บาท -EM 50 แกลลอนๆละ 100.- เป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย สามารถทำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ในครัวเรือนได้/ชุมชนมีน้ำหมักชีวภาพที่มีประสิทธิภาพใช้ในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15250.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 50 คนๆละ 25.- เป็นเงิน 1,250 บาท -ค่าวิทยากร 3 ชม.ๆละ 300.- เป็นเงิน 900 บาท -ค่าวัสดุถุงปลูก ขนาด 9*18 นิ้ว จำนวน 50 คนๆละ 70.-  เป็นเงิน 3,500 บาท
    -ค่าวัสดุพันธุ์ผัก 50 คนๆละ 50.- เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีผักที่ปลอดสารพิษไว้ในบริโภคและแบ่งปันให้กับครัวเรือนใกล้เคียงได้/ประชาชนในชุมชนมีผักปลอดสารพิษไว้รับประทานในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,250.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในชุมชนสามารถปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง
2.ลดการเจ็บป่วยของประชาชนจากเข้าร่วมโครงการ
3.ประชาชนในหมู่บ้านมีสุขภาพที่ดี ได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษ


>