กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแก่ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรควัณโรคและโรคเรื้อน ปีงบประมาณ2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

โรงพยายาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านลาไม

พื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านลาไม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันนี้ประชาชนเริ่มมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปจากสังคมชนบทเริ่มเข้าสู่สังคมเมืองมากขึ้นทำให้ประชนชนได้รับความสะดวกสบายซึ่งก่อให้เกิดโรคภัยมากมายทั้งโรคที่อุบัติใหม่และโรคที่ระบาดมานานแล้ว ซึ่งโรคต่างๆที่เกิดขึ้นได้มีความรุนแรงทำให้ประชาชนมีความวิตกกังวลกับโรคที่อุบัติขึ้นใหม่
วัณโรคเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 120,000 ราย และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน คาดว่าน่าจะมีประมาณ 2,200 ราย ซึ่งในจำนวนผู้ป่วยรายใหม่นี้มีผู้ป่วยเพียงประมาณ 70,000 ราย ที่ขึ้นทะเบียนรักษา และคาดว่ามีผู้ป่วยที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนรักษาประมาณ 50,000 ราย ในส่วนผู้ป่วยประชากรต่างด้าว คาดว่ามีผู้ป่วยปีละประมาณ 2,000 ราย ผู้ต้องขังในเรือนจำ 1,407 ราย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาวัณโรค และได้เร่งรัดให้มีการยกระดับเป้าหมายลดโรค จากเดิมมุ่งเน้นการควบคุมการระบาดของโรค มุ่งไปสู่การยุติปัญหาวัณโรคในประเทศไทย โดยใน 5 ปีแรก (ปี 2559-2563) มีเป้าหมายลดอัตราป่วยลงร้อยละ 20 หรือให้เหลือผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 96,000 ราย และเป้าหมายระยะยาวคือให้อัตราป่วยรายใหม่ลดเหลือน้อยกว่า 10 ต่อประชากรแสนคน (ประมาณ 7,000 ราย) ใน 20 ปีข้างหน้า โดยการรักษาวัณโรคค่อนข้างมีปัญหา เพราะคนไข้ต้องรับประทานยาทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา ๖ เดือน และถ้าขาดยาไปก็จะทำให้เชื้อโรคดื้อยาจนไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ในที่สุดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการค้นหาเชิงรุกและติดตามผู้ป่วยกินยาจนครบกำหนด พร้อมเฝ้าระวังปัญหาเชื้อวัณโรคดื้อยาเพิ่มสิทธิการตรวจติดตามผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา โดยกำหนดแนวทางการควบคุมโรคมุ่งเน้น “ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายและระบบดูแลรักษา” สถานการณ์โรคเรื้อน ทั่วประเทศมีผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษารวม ๕๗๖ ราย กระจายอยู่ทุกภาค โดยพบผู้ป่วยรายใหม่ ๑๘๘ ราย ซึ่งจะพบว่าผู้ป่วยรายใหม่มีความพิการขั้นรุนแรงก่อนมาพบแพทย์รักษา เช่น หนังตาปิดไม่สนิทเวลาหลับ นิ้วมือนิ้วเท้าหงิก งอ กุดหรือด้วนสูงขึ้นถึงร้อยละ ๑๖ เพิ่มจากปี ๒๕๕๓ ที่พบร้อยละ ๑๔ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความล่าช้าในการค้นพบผู้ป่วย ซึ่งเกิดจากความล่าช้าที่เกิดจากตัวผู้ป่วยเพราะอาการเริ่มแรกของโรคเรื้อนมีอาการทางผิวหนังมีลักษณะเป็นเพียงวง หรือผื่น ไม่เจ็บ ไม่ปวด ผู้ป่วยจึงไม่สนใจปล่อยทิ้งไว้อีกสาเหตุหนึ่งคือความล่าช้าของสถานบริการสาธารณสุขที่ไม่สามารถตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโรคเรื้อนได้ ซึ่งโรคเรื้อนเป็นโรคผิวหนังที่ไม่มีวัคซีนหรือยาป้องกันแต่มียารักษาที่ให้ผลดีวิธีการเดียวที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือ การตรวจร่างกายให้รู้โรคได้เร็วที่สุด สถานการณ์ผู้ป่วยวัณโรคในตำบลเขาไพร ปี 2560 - 2562 พบจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา จำนวน 5 ราย รักษาหายแล้ว จำนวน 1 ราย และกำลังรักษาอยู่ 4 ราย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
ดังนั้น เพื่อให้การป้องกันรักษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีต่อผู้ป่วยและชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านลาไม จึงได้จัดทำโครงการ “การให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแก่ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรควัณโรคและโรคเรื้อน” เพื่อสามารถคัดกรองหากลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคในชุมชนให้พบทันเวลาก่อนเกิด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการคัดกรองโรควัณโรคและโรคเรื้อน

 

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรควัณโรคและโรคเรื้อน

 

0.00
3 3.เพื่อให้มีการรักษาผู้ป่วยโรควัณโรคและโรคเรื้อนได้ทันเวลาและลดโอกาสการเกิดความพิการ

 

0.00
4 4.เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่่วย TB แบบ DOST ให้เป็นไปตามมาตรฐานระบบ NTIP

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 189
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/04/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมตรวจคัดกรอง ประเมินสุขภาพและค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยงและอบรมให้ความรู้เรื่องวัณโรค แก่ ผู้ป่วย ผู้ดูแลและกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมตรวจคัดกรอง ประเมินสุขภาพและค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยงและอบรมให้ความรู้เรื่องวัณโรค แก่ ผู้ป่วย ผู้ดูแลและกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x3 เมตร เป็นเงิน 750บาท กลุ่มเป้าหมาย 189 คน แบ่งเป็น 4 รุ่น
  • ค่าอาหารกลางวัน1 มื้อๆละ 50 บาทจำนวน 189 คน เป็นเงิน9,450 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 189 คน เป็นเงิน 9,450 บาท - ค่าวิทยากร วันละ 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 4 วัน เป็นเงิน 14,400 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรมและทำกิจกรรม189 คนๆละ 50 บาทเป็นเงิน 9,450 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการคัดกรองโรควัณโรคและโรคเรื้อน
2.ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรควัณโรคและโรคเรื้อน
3.ทำให้มีค้นหาผู้ป่วยโรควัณโรคและโรคเรื้อนรายใหม่ในพื้นที่
4.ทำให้มีการรักษาผู้ป่วยโรควัณโรคและโรคเรื้อนได้ทันเวลาและลดโอกาสการเกิดความพิการ


>