กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ตำบลสร้างถ่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สร้างถ่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย ตำบลสร้างถ่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สร้างถ่อ

คณะกรรมการหมู่บ้าน ม.1- ม.17 ต.สร้างถ่อ

ม.1- ม.17 ต.สร้างถ่อ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

อายุ 5-17 ปีจำนวน 1474 คน มีกิจกรรมทางกายผ่านเกณฑ์ 400 คนมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ 1,074 คน

25.54
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี จำนวน 6442 คน มีกิจกรรมทางกายผ่านเกณฑ์ 2,500 คน มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ 3,942 คน

38.80
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

ผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป จำนวน 1625 คน มีกิจกรรมทางกายผ่านเกณฑ์ 700 คน มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ 925 คน

43.07
4 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

พื้นที่สาธารณะในตำบลจำนวนทั้งสิ้น 1,300 ไร่ มีการใช้ประโยชน์ในการมีกิจกรรมทางกาย 300 ไร่

23.08
5 ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

ประชากรทั้งตำบล 9541 คน มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยาน 3,000 คน

31.44
6 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

ประชากรทั้งตำบล 9541 คน มีการออกกำลังกาย 4000 คน

41.92
7 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

การเรียนการสอนในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งสิ้น 1400 ชั่วโมง มีการสอนActive play Active learning 400 ชั่วโมง

28.57
8 ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

หน่วยงาน สถานประกอบการในตำบลทั้งสิ้น 18 แห่ง มีกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 17 แห่ง

94.44

กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) คือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือเกิดจากเชื้อโรค หากแต่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากวิถีชีวิต หรือวิธีการใช้ชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารหวานมันเค็มจัด และมีความเครียดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมักจะค่อยๆ มีอาการและรุนแรงขึ้นทีละน้อยหากไม่ได้มีการรักษาควบคุมโดยเฉพาะโรคเบาหวาน จะนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นสาเหตุความพิการ การสูญเสียคุณภาพชีวิต และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรองค์การอนามัยโลก(WHO) ระบุว่ากลุ่มโรค NCDs นั้น ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จาก สถิติผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ในปี พ.ศ. 2552 พบว่าจำนวนการเสียชีวิตทั่วโลกไม่น้อยกว่า 35 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 63 และร้อยละ80 ของผู้เสียชีวิตเป็นประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ที่กลุ่มโรค NCDs เป็นฆาตกรฆ่าคนไทยเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งคือ 300,000 คนต่อปี คิดเป็น 73% ของการเสียชีวิตซึ่งมากกว่าสาเหตุการเสียชีวิตอื่นๆ ทุกสาเหตุรวมกันถึง 3 เท่า ทั้งสถิติการเสียชีวิตดังกล่าวยังแสดงว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตมากกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งโลกและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ )ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นปัญหาสุขภาพขนาดใหญ่ของประเทศก่อปัญหาภาระกับคนรอบข้างผู้ป่วยทำลายคุณภาพประชากร และก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล โดยรัฐต้องแบกรับต้นทุนที่เกิดจากโรคNCDs ถึง 200,000ล้านบาทต่อปี คิดเป็นต้นทุนที่คนไทยต้องแบกรับมูลค่าถึง 3,182 บาทต่อปี ทุกๆ ปี จะมีคนเสียชีวิตเพิ่มขึ้นปีละ 8,000 คน ซึ่งการแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เฉพาะหน่วยงานด้านสาธารณสุข” (ทักษพล,2557)
แนวโน้มคนไทยเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น โดยสหพันธ์เบาหวานนานาชาติได้คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2583 ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเบาหวานสูงถึง 5.3 ล้านคน และคาดการณ์ว่าจะมีผู้สูงอายุ 1 คนในทุกๆ 5 คนเป็นโรคเบาหวานซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการณ์ว่า ปัจจุบันประเทศไทยจะต้องจัดสรรงบประมาณ ร้อยละ 11 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทั้งหมดสำหรับการดูแลรักษาโรคเบาหวานและคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41 ภายในปี พ.ศ.2573 ซึ่งหากคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน รวม 3 ล้านคน/ปี จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้นประมาณ 47,596 ล้านบาท/ปี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและประชากร(สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, พ.ศ.2551)
3 ปีย้อนหลัง( ปี 2561-2563 ) อำเภอเขื่องในมีผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 5,609 ,5,814 และ 6,141 คน ตามลำดับ ในกลุ่มนี้เป็นผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 556 ,374 และ 535คนตามลำดับซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและเป็นอันดับหนึ่งของTop5ของผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มนี้หากไม่ได้รับการดูแลตนเองที่เหมาะสมจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นโรคที่ต้องรักษาต่อเนื่องมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงสาเหตุการเกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดจากผู้ป่วยขาดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

มีข้อแนะนำการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ เด็กปฐมวัย (0 - 5 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายที่หลากหลาย อย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน เด็กและวัยรุ่น (6 - 17 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ผู้ใหญ่ (18 - 59 ปี) ควรมีกิจกรรม ทางกายระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือกิจกรรมทางกายระดับหนัก อย่างน้อย 75 นาที ต่อสัปดาห์และกิจกรรมพัฒนาความแข็งแรงและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ผู้สูงวัย (60 ปีขึ้นไป) ควรมีกิจกรรมทางกายเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่เพิ่มกิจกรรมพัฒนาสมดุลร่างกาย และป้องกันการหกล้ม อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ปัจจุบันคนมีวิถีชีวิตเปลี่ยนไปขาดการมีกิจกรรมทางกาย มีกิจกรรมที่ใช้พลังงานต่ำ ที่เรียกว่า “พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behaviour)” เช่น การนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ การใช้คอมพิวเตอร์ การนั่งคุยกับเพื่อน การนั่ง หรือนอนดูโทรทัศน์ ที่ไม่รวมการนอนหลับ มีแนวโน้มที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น โดยควร ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ด้วยการลุกขึ้นเดินไปมาหรือยืดเหยียดร่างกาย ทุก 1 ชั่วโมง ตลอดจนปัญหาเรื่องของปัญหาพฤติกรรมการกิน และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เร่งรีบอันนำมาสู่โรคอ้วนและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆจึงทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง และมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ตลอดเวลา มีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วน ตลอดจนโรคไข้หวัดเรื้อรังซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ทั้งหมดในตำบล 6442 คน มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 2500 คนมีเป้าหมายเพิ่มผู้มีกิจกรรมทางกายเป็น 3,000 คน

38.80 46.57
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ทั้งหมดในตำบล 1474 คน มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 400 คน เป้าหมาย 1 ปี เพิ่มเป็น 700 คน

25.54 47.49
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ทั้งหมดในตำบล 1625 คน มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 700 คน เป้าหมายเพิ่มผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายเพียงพอไม่น้อยกว่า 1000 คน

43.07 61.54
4 เพิ่มการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชนเพิ่มขึ้น ประชากรทั้งตำบล 9541 คน มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยาน 3,000 คน มีเป้าหมายเพิ่มอย่างน้อยเป็น 3500 คน

31.44 36.68
5 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน (ประชากรทั้งสิ้น 9541 คน มีผู้ออกกำลังกาย 4,000 คน มีเป้าหมายเพิ่มผู้ออกกำลังกายเป็น 4500 คน

41.92 47.16
6 เพิ่มการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ในโรงเรียนและศูฯย์เด็กเล็ก

ร้อยละของเวลาในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

28.57 42.85
7 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน

ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงานเพิ่มขึ้นจากทั้งหมด 18 แห่งมีกิจกรรมทางกายในที่ทำงานแล้ว 17 แห่ง เพิ่ม 100%

94.44 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 300
กลุ่มวัยทำงาน 500
กลุ่มผู้สูงอายุ 300
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดการความรู้และนวัตกรรม และการสื่อสาร

ชื่อกิจกรรม
การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดการความรู้และนวัตกรรม และการสื่อสาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สื่อสารในช่องทางต่าง ๆ ที่หลากหลายรูปแบบ ที่สอดคล้องกับวัยและวิถีการทำงานของกลุ่มอาชีพต่าง ๆเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรณรงค์เรื่องกิจกรรมทางกาย และการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนในชุมชน เช่น การจัดนิทรรศการ เสียงตามสายในโรงเรียน หอกระจายข่าวหมู่บ้าน 2.รวบรวมและกระจายสื่อ สื่อเอกสารคลิปสั้น เพื่อการเรียนรู้ เชิญชวนให้คนมีกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งด้านกิจกรรมทางกาย เพื่อให้โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำไปใช้ในระดับครัวเรือน ชุมชน ศูนย์เด็กเล็ก สถานที่ทำงาน 3. ชักชวนให้โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กผลิตสื่อการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้และการเล่นอย่างสร้างสรรค์ (Active learning active play) 4.สร้างความเข้าใจร่วมกับสถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรในพื้นที่ และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ที่สอดแทรกเนื้อหา วิธีการสอนที่เน้นการมีกิจกรรมทางกาย เช่น เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมปลูกป่า เดินสำรวจสมุนไพร กีฬาและการละเล่นไทย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนครั้งการถ่ายทอด การสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และการณรค์เรื่องกิจกรรมทางกาย 2. ความรู้ ความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมายต่อความสำคัญการมีกิจกรรมทางกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.การขับเคลื่อนกระบวน การนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
2.การขับเคลื่อนกระบวน การนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ผลักดันนโยบายศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนจัดรูปแบบกิจกรรมทางกายควบคู่กับกิจกรรมด้านอาหารและโภชนาการ 2.2 ผลักดันให้เกิดนโยบายการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา สถานประกอบการที่เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจ ความปลอดภัยในการมีกิจกรรมทางกาย 2.3 ร่วมสร้างนโยบายของหน่วยงาน สถานประกอบการ ในการจัดสรรเวลา สถานที่ และส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของบุคลากร พนักงาน 2.4 ร่วมสร้างข้อตกลงชุมชนในการใช้พื้นที่สาธารณะ การใช้เส้นทางสัญจร (เดิน/จักรยาน) ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน 2.4 ผลักดันนโยบายการจัดกิจกรรมทางกายในโรงเรียนผู้สูงอายุ สนับสนุนผู้สูงอายุเป็นจิตอาสาเป็นวิทยากรในโรงเรียน และศูนย์เด็กเล็ก 2.5 สนับสนุนข้อตกลงของชุมชนในการกำหนดให้มีการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายควบคู่กับการส่งเสริมกีฬาของเยาวชนในพื้นที่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 15 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดข้อตกลงนโยบายศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน สถานประกอบการ หน่วยงานในการจัดกิจกรรมทางกาย เกิดข้อตกลงการใช้พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาขีดความ สามารถเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาขีดความ สามารถเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 พัฒนาแกนนำนักเรียน แกนนำในสถานประกอบการ แกนนำในชุมชน เพื่อถ่ายทอดและเป็นผู้นำเรื่องกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง - จัดอบรมแกนนำนักเรียน
- จัดอบรมแกนนำออกกำลังกายสถานประกอบการ แกนนำชุมชน 3.2 ขอความร่วมมือครูสุขศึกษา/พละ/ครูอนามัยโรงเรียน เรื่องกิจกรรมทางกายที่ไม่ได้เน้นการออกกำลังกาย 3.3 พัฒนาความรู้ ความเข้าใจเครือข่ายผู้สูงอายุในการเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่องกิจกรรมทางกาย ให้ศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียน รู้จักการละเล่นไทย/ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทำว่าว เล่านิทาน 3.4 สร้างเครือข่าย องค์กร หน่วยงานต้นแบบให้มีความสามารถในการขับเคลื่อนงานกิจกรรมทางกาย พัฒนาศักยภาพชมรม เครือข่ายผู้ปกครอง ชมรมกีฬาในชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย เพื่อถ่ายทอดต่อ

งบประมาณ
ค่าอาหารกลางวัน ค่าอาหารว่าง 100 บาท* 66 คน เป็นเงิน 6600 บาท ค่าตอบแทนวิทยากร 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2400 บาท ค่าป้ายอบรม 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 10 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดแกนนำนักเรียน แกนนำในสถานประกอบการ แกนนำในชุมชน แกนนำผู้สูงอายุ ที่สามารถถ่ายทอดและเป็นผู้นำกิจกรรมทางกาย เกิดเครือข่าย องค์กร หน่วยงานต้นแบบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 4 การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือ ข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือ ข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 พัฒนาความร่วมมือในการใช้สนามในสถานที่ราชการ หรือเอกชนหลังเลิกงานเพื่อนันทนาการและออกกำลังกายสำหรับประชาชน 4.2 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น/พื้นที่ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย 4.3 สร้างความร่วมมือกับองค์กร หน่วยงานในการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น แสงสว่างในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนยามค่ำคืน 4.4 ร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุข พม. ศธ.ในการสนับสนุนการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเครือข่ายให้ความร่วมมือเพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 จัดกิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมทางกายในสถานประกอบการ ในชุมชน
1. สำรวจจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ - ในชุมชน จัดให้มีการรวมกลุ่มออกกำลังกายทุกเย็นวันจันทร์ พุธ ศุกร์ วันละ 30 นาที โดยมีแกนนำออกกำลังกายในชุมชนเป็นผู้นำ - ในชุมชน ผู้ที่ไม่พร้อมการรวมกลุ่มออกกำลังกายในชุมชน ให้มีการทำกิจกรรมทางกายที่ครัวเรือน กำหนดทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ วันละ 30 นาที โดยมี ผู้นำออกำลังกาย และอสม. ออกเยี่ยมแนะนำการมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล และติดตามสำรวจการปฏิบัติตามข้อตกลงเดือนละ 1 ครั้ง - ในหน่วยงาน สถานประกอบการ มีการจัดกิจกรรมทางกายก่อนทำงานและก่อนเลิกงานทุกวัน ครั้งละ 15 นาที

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผู้ร่วมกิจกรรมทางกายในชุมชน ในหน่วยงาน ในสถานประกอบการ
จำนวนผู้ปฏิบัติตามข้อตกลงการทำกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

6.1 ติดตามประเมินพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายในแต่ละกลุ่มอายุ ติดตามสถานะสุขภาพในกลุ่มวัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ ระดับความดันโลหิต รอบเอว ดัชนีมวลกาย
6.2 รายงานสะท้อนข้อมูล คืนข้อมูลให้หน่วยงานสถานประกอบการ ทุก 1 เดือน 6.3 สรุปข้อมูล คัดเลือกบุคคลต้นแบบ จัดหารางวัลมอบเชิดชูเกียรติบุคคลต้นแบบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 27 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานผลการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสถานะสุขภาพ ประชาชนในแต่ละกลุ่มวัยมีพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

คนในชุมชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอส่งผลให้มีสถานะสุขภาพที่ดี


>