กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในผู้สูงอายุ “ผู้สูงวัยฟันสวย สุขภาพช่องปากดี”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

หมู่ที่ 3 บ้านสำนักกอ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุมีฟันแท้ผุ

 

35.16

ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก ซึ่งสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการทำงานของระบบบดเคี้ยว ส่งผลต่อภาวะโภชนาการ และสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าควรส่งเสริมสุขภาพช่องปากในวัยเด็กเท่านั้น แต่ความจริงแล้ววัยสูงอายุก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันเพราะเมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น ระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายต่างๆ ก็จะเสื่อมสภาพ รวมทั้งเหงือกและฟันที่อยู่ในช่องปากด้วย
ข้อมูลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕60 ในกลุ่มอายุ ๖๐ ปี ขึ้นไป พบว่าร้อยละ๕6.1 ของผู้สูงอายุมีฟันอยู่ในสภาพใช้งานได้๒๐ ซี่ ส่วนในภาคใต้พบว่า ร้อยละ 49.1 ของผู้สูงอายุ มีฟันอยู่ในสภาพใช้งานได้ ๒๐ ซี่ ผู้สูงอายุมีฟันแท้คู่สบ ๔ คู่ ขึ้นไป (ฟันแท้ทั้งหมด) ร้อยละ ๓๗.5 มีค่าเฉลี่ยคู่สบฟันหลัง 2.8 คู่/คน และผู้สูงอายุร้อยละ 13.2 ไม่มีฟันทั้งปาก
จากการสำรวจสภาวะช่องปาก ผู้สูงอายุตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง พบว่า ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่ที่พบในผู้สูงอายุ คือ ตอฟันผุ และปัญหาเรื่องการบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งการป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดความผิดปกติ หรือรอยโรคใหม่ในช่องปาก เพื่อคงสภาพการใช้งานให้ได้ในวัยนี้ เป็นสิ่งจำเป็น ที่ต้องให้ความสำคัญ ดังนั้นการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องสม่ำเสมอ ทั้งโดยผู้สูงอายุเอง หรือโดยผู้ดูแล เพื่อควบคุมป้องกัน และส่งเสริมการมีสุขภาพช่องปากที่ดี
ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุ ในหมู่ที่ 3 บ้านสำนักกอ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ให้ความสำคัญของทันตสุขภาพของตนเองมากขึ้น และเป็นการส่งเสริม ป้องกัน ไม่ให้โรคในช่องปากลุกลามและทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดวางแผนแก้ไขปัญหา เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มมากขึ้น

ผู้สูงอายุมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการทำแบบทดสอบ

80.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถตรวจฟันด้วยตัวเองได้

สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตอนฝึกปฏิบัติจริง

90.00
3 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทำความสะอาดฟันแท้ และฟันเทียมได้ถูกวิธี

สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตอนฝึกปฏิบัติจริง

90.00
4 สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตอนฝึกปฏิบัติจริง

ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก จากฐานข้อมูล HDC On Cloud สสจ.พัทลุง

60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 206
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมคัดกรองสุขภาพช่องปากและอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมทันตสุขภาพในผู้สูงอายุ “ผู้สูงวัยฟันสวย สุขภาพช่องปากดี”

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมคัดกรองสุขภาพช่องปากและอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมทันตสุขภาพในผู้สูงอายุ “ผู้สูงวัยฟันสวย สุขภาพช่องปากดี”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองสุขภาพช่องปากและอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมทันตสุขภาพในผู้สูงอายุ “ผู้สูงวัยฟันสวย สุขภาพช่องปากดี” - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัด จำนวน 215 คน x 1 มื้อๆ ละx25 บาท เป็นเงิน 5,375บาท - ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบความรู้ก่อน และหลังเข้าร่วมโครงการ จำนวน 206 แผ่นๆ ละ x 0.50 บาท เป็นเงิน 206บาท - ค่าค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 206 แผ่นๆ ละ x
0.50 บาทเป็นเงิน 103บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร เมตรๆ ละ 150 บาท จำนวน 1แผ่น x 450เป็นเงิน 450 บาท - ค่าแปรงสีฟัน จำนวน 206 ด้ามๆละ x 10 บาทเป็นเงิน2,06o บาท - ค่ายาสีฟัน จำนวน206 หลอดๆละ x 16 บาทเป็นเงิน3,296บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต  ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองช่องปาก ร้อยละ 60     -ผลลัพธ์ ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก และวิธีการทำความสะอาดช่องปากตนเอง ที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11490.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,490.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
2. ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง
3. ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากโดยทันตบุคลากรและได้รับ


>