กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการขยะครัวเรือน ลดโรค ลดเสี่ยง ในหมู่บ้านโคกทรายปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

คณะทำงานจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านโคกทราย หมู่ที่ 3

1.นางสอเปี๊ยะ ล่านุ้ย ประธานคณะทำงานจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านโคกทราย หมู่ที่ 3
2.นางมาณี อารีมาน รองคณะทำงานจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านโคกทราย หมู่ที่ 3
3.นางฝาตีม๊ะ ลามาก เหรัญญิกกลุ่มคณะทำงานจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านโคกทราย หมู่ที่ 3
4.นางลีย๊ะ หลงโซ๊ะประชาสัมพันธ์คณะทำงานจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านโคกทราย หมู่ที่ 3
5.นายเจ๊ะอาด หาบยูโซ๊ะ เลขานุการคณะทำงานจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านโคกทราย หมู่ที่ 3

หมู่ที่ 3 บ้านโคกทราย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนในพื้นที่ มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ

 

50.00
2 ประชาชนในพื้นที่มีการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ โดยใช้หลัก 3RS คือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่

 

50.00

ขยะมูลฝอยหรือของเสีย แบ่งเป็น มูลฝอยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ มูลฝอยสด เศษอาหาร กระดาษ โฟม พลาสติก ขวดแก้ว โลหะ ฯลฯ และของเสียอันตราย ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล กากสารเคมี สารเคมีกำจัดแมลง กากน้ำมัน หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ใช้แล้ว แหล่งกำเนิดของเสียที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เกษตรกรรม ปริมาณขยะมูลฝอยดังกล่าว ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะที่เกิดขึ้นทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่างๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้น ทิ้งตามใกล้แม่น้ำลำคลอง ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ อากาศเสีย น้ำเสีย ขยะมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้น จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนู แมลงสาบ แมลงวัน และยุง เป็นพาหะนำโรคติดต่อ ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมถึงเกิดเหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมด ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน ซึ่งการจัดการมูลฝอยเป็นไปแบบไม่ถูกสุขลักษณะจะทำให้ให้ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นจากองค์ประกอบของมูลฝอย ทั้งลักษณะทางกายภาพและชีวภาพ สารเคมีอันตราย ปริมาณฝุ่นละออง เชื้อโรคต่างๆ เช่น ไวรัส แบคทรีเรีย ที่ปนเปื้อนในมูลฝอยหรือกระบวนการขั้นตอนในการจัดการมูลฝอยทั้งหมดล้วนเป็น สาเหตุสำคัญที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้ 1. โรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคปอดอักเสบเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ 2.โรคระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อุจจาระร่วง 3.โรคผิวหนัง ได้แก่ โรคติดเชื้อ โรคติดเชื้อทางผิวหนัง ภูมิแพ้ทางผิวหนัง อาการคันต่างๆ 4. โรคติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ โรคเอดส์ และบาดทะยัค เป็นต้น ในการแก้ปัญหาให้ได้ผลระยะยาวนั้น เราต้องเริ่มจากจุดเล็กๆก่อนด้วยการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน ก่อน จัดกิจกรรมให้สมาชิกในครัวได้เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการคัดแยกขยะแล้วก็สามารถขยายผลไปยังภาพรวมของชุมชนต่อไปโดยหวังว่า การลดขยะตกค้างในชุมชน จะช่วยทำให้หมู่บ้านสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยลดแหล่งเพาะพันธ์โรคในชุมชน และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ คณะทำงานจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบ้านลูโบ๊ะบาตู จึง จัดทำโครงการจัดการขยะครัวเรือน ลดโรค ลดเสี่ยง ในชุมชนบ้านโคกทราย ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ
และส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ โดยใช้หลัก 3RS คือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ

แกนนำจัดการขยะมูลฝอยและประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะและปรับสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ ร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ โดยใช้หลัก 3RS คือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่

ประชาชนมีการคัดแยกขยะในครัวเรือน ร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ เรื่องการคัดแยกขยะมูลฝอยจากต้นทาง ตามหลัก 3Rs

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่องการคัดแยกขยะมูลฝอยจากต้นทาง ตามหลัก 3Rs
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องการคัดแยกขยะมูลฝอยจากต้นทาง โดยวิทยากรจาก เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข อบต.บ้านควน
    รุ่นที่ 1 วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2565 จำนวน 30 คน
    รุ่นที่ 2 วันที่ 21 มิถุนายน 2565 จำนวน 30 คน
    รุ่นที่ 3 วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2565 จำนวน 30 คน
    รุ่นที่ 4 วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2565 จำนวน 30 คน
    รุ่นที่ 5 วันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2565 จำนวน 30 คน
    กำหนดการ
    เวลา 13.30 น.- 15.00 น. เรื่องการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทาง ตามหลัก 3RS
    เวลา 15.00 น. - 16.30 น. สรุปประเด็น ปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน
    รายละเอียดงบประมาณ
    1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คนๆละ 25.- บาท จำนวน 5 ครั้ง เป็นเงิน 3,750.- บาท
    2.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1.2 X 2.5เมตร (ตารางเมตรละ 150.- บาท) เป็นเงิน 450.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2565 ถึง 11 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ได้รับความรู้เรื่องการคัดแยกขยะมูลฝอยจากต้นทาง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4200.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ลดการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ลดการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประชาสัมพันธ์และรณรงค์ลดการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างความตื่นตัวและรับรู้ของชุมชนกิจกรรมประชาสัมพันธ์และรณรงค์ลดการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 เป็นต้นไป
รายละเอียดงบประมาณ
1.ป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม ประชาสัมพันธ์มาตรการทางสังคมและให้ความรู้ ขนาด 1.2 X 2 เมตร (ตารางเมตรละ 150.- บาท) จำนวน 6 ป้าย เป็นเงิน 2,160.- บาท
2.ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม จัดกิจกรรมสำรวจปริมาณขยะมูลฝอยในถังขยะครัวเรือน รณรงค์การจัดการขยะในชุมชน (จำนวน 1 วัน) จำนวน 15 คนๆละ 110.- บาท เป็นเงิน 1,650.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้รับรู้ถึงข้อมูลข่าวสารและเกิดการตื่นตัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3810.00

กิจกรรมที่ 3 ตลาดจัดการขยะเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี

ชื่อกิจกรรม
ตลาดจัดการขยะเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมตลาดนัดรีไซเคิล แลกรับขยะอันตรายในชุมชน (นำขยะรีไซเคิลในครัวเรือนมาแลกไข่ไก่) กิจกรรมให้ความรู้ในการคัดแยกประเภทของขยะมูลฝอย
รายละเอียดงบประมาณ 1.ไข่ไก่ จำนวน 25 แผงๆ 110.- บาท 2,750.- บาท
2.วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม (โทรโข่ง ปากกา เครื่องคิดเลข ฯลฯ) เป็นเงิน 1,500.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดกิจกรรมตลาดนัดรีไซเคิล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4250.00

กิจกรรมที่ 4 สร้างแรงจูงใจในการกำจัดขยะและของเสียอันตรายให้ถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
สร้างแรงจูงใจในการกำจัดขยะและของเสียอันตรายให้ถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สร้างแรงจูงใจในการกำจัดขยะและของเสียอันตรายให้ถูกวิธี โดยวิธีการจัดการน้ำมันพืชเก่าแลกน้ำมันพืชใหม่ เพื่อลดการใช้น้ำมันทอดซ้ำ ในชุมชนและการจัดทำ EM บอล เพื่อบำบัดน้ำเสียในชุมชน รายละเอียดงบประมาณ
1.น้ำมันพืชใหม่ 250 กรัมจำนวน100 ขวดๆละ 25.- บาท เป็นเงิน 2,500.- บาท
2.วัสดุ อุปกรณ์ อื่นๆ เช่น ถังใส่น้ำมันเก่า ถุงพลาสติก ฯลฯเป็นเงิน 450.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดแรงจูงใจในการกำจัดขยะและของเสียอันตรายอย่างถูกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,210.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการถั่วเฉลี่ยจ่าย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในพื้นที่ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะเพิ่มขึ้น
2.ประชาชนในพื้นที่มีการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ โดยใช้หลัก 3Rs คือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ เพิ่มขึ้น


>