กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

วัยรุ่นสร้าง ชุมชนดี มีสุข บากงปลอดยาเสพติด ปี 65

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมคนรักกีฬา ม.2 บ้านบากง

1. นายบาฮารี อีซอ
2. นายซูไฮมี บูละ
3. นายมะอาลาวี สอมะ
4. นายมะรอปี ไทย
5. นายโซฟียัล คาเร็ง

หมู่ที่ 2 บ้านบากง ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

69.23
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

60.57
3 จำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี(คน)

 

0.00

ด้วยปัจจุบันสถานการณ์การเผยแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังคงระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขยาเสพติดเป็นแนวนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดหลัก "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม "ซึ่งกำหนดให้เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ให้ร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศไทย พบว่ามีเด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชนเป็นที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูง และการหลอกลวง เป็นต้น ดังนั้น เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยผนึกกำลังทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังของแผ่นดิน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด
ชมรมคนรักกีฬา ม.2 บ้านบากง เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ที่มีความใกล้ชิดกับวัยรุ่นในพื้นที่ ได้มีกิจกรรมหลายๆกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับวัยรุ่น มาหลายปี จากการสังเกตและรวบรวมข้อมูลของชมรมพบว่าในพื้นที่หมู่บ้านบากง ตำบลตุยง ไม่มีการระบาดของยาเสพติด แต่หมู่บ้านรอบนอกหรือชุมชนใกล้เคียงมีการระบาดของยาเสพติด เพื่อเป็นการป้องกันและเฝ้าระวัง วัยรุ่นในหมู่บ้านที่อาจจะตกเป็นทาสของยาเสพติดจากบุคคลภายนอกหมู่บ้าน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดกิจกรรมเพื่อให้วัยรุ่นในพื้นที่มีการรวมตัวเพื่อทำกิจกรรม ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อหมู่บ้าน ไม่ใช่รวมตัวเพื่อเพื่อสิ่งอบายมุขต่างๆจะต้องมีการส่งเสริมสุขภาพ ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นภารกิจที่ทุกภาคส่วนต้องดำเนินการร่วมกัน และในสภาพปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด มาในรูปแบบและวิธีต่างๆ มากมาย เข้าไปสู่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาต่างๆ มากยิ่งขึ้น ทางชมรมจึงเห็นความสำคัญที่จะต้องมีการขับเคลื่อนเพื่อเป็นแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนในพื้นที่ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำโครงการวัยรุ่นสร้าง ชุมชนดี มีสุข บากง ปี 65 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนมีทักษะ รับรู้วิธีป้องกันและทันต่อภัยของยาเสพติด

ร้อยละ 90 ของเยาวชนในพื้นที่มีทักษะ รับรู้วิธีป้องกันและทันต่อภัยของยาเสพติด

60.00 54.00
2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้แก่กลุ่มเยาวชนในพื้นที่ในรูปแบบการขยับ การเคลื่อนไหวทางกายอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 90 ของเยาวชนในพื้นที่ได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมที่เป็น ประโยชน์ต่อหมู่บ้าน

60.00 57.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนของชุมชนเพื่อเฝ้าระวังภัยคุกคามจากยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนของชุมชนเพื่อเฝ้าระวังภัยคุกคามจากยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมเครือข่ายสุขภาพ (ตัวแทนชมรม ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา อสม.) - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 60 มื้อ  เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน
  • ชุมชนเข้มแข็ง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาเพื่อชุมชนน่าอยู่

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาเพื่อชุมชนน่าอยู่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณเพื่อการขับเคลื่อนกิจกรรม - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25 บาท x 100 มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในกิจกรรม เช่น ถังขยะ ถุงดำ ถุงแดง ถุงมือ จอบ คราด พันธุ์ไม้ และอื่นๆที่ใช้ในกิจกรรมเป็นเงิน5,000 บาท
- ทำสื่อประชาสัมพันธ์เป็นเงิน2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เยาวชนมีการเฝ้าระวังภัยคุกคามจากยาเสพติด
  • มีกิจกรรมจิตอาสาเพิ่มกิจกรรมการขยับกาย การเคลื่อนไหวทางกาย ชุมชนน่าอยู่ขึ้น
  • เยาวชนมีทัศนคติ และองค์ความรู้ต่อภัยของยาเสพติดที่ดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย อย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย อย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย อย่างต่อเนื่อง เช่น
- การปลูกผักสวนครัว - การเล่นกีฬา การออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆตามความเหมาะสม เช่น กีฬาวอลเลย์บอล กีฬาฟุตบอล ตะกร้อ เป็นต้น งบประมาณเพื่อการขับเคลื่อนกิจกรรม - ค่าวัสดุ อุปกรณ์การกีฬา เช่น ลูกฟุตบอล วอลเลย์บอล ตะกร้อ ตาข่าย วัสดุ อุปกรณ์ทางการเกษตร เช่น เมล็ดพันธ์พืช จอบ บัวรดน้ำหรืออื่นๆที่ใช้ในกิจกรรมเป็นเงิน5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เยาวชนรู้จักคุณค่าของตนเอง มีสุขภาพกาย ใจที่แข็งแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน และถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน และถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินโครงการและจัดทำรายงานรูปเล่มส่งคณะกรรมการกองทุนฯ
- ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มรายงานผลโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. วัยรุ่นได้ตระหนักเกี่ยวกับโทษภัยของยาเสพติดและรู้จักวิธีการป้องกันให้ห่างไกลจากยาเสพติด
2. วัยรุ่นมีพฤติกรรมไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด รักสุขภาพมีทัศนคติ และมีกิจกรรมการเคลื่อนไหว การขยับกายอย่างต่อเนื่อง
3. หมู่บ้านบากงเป็นหมู่บ้านน่าอยู่ปลอดยาเสพติด
4. วัยรุ่นเป็นกำลังหลักของหมู่บ้านในทุกเรื่อง
5. วัยรุ่นมีความรู้สึกสำคัญมีคุณค่าในตนเอง และชุมชน


>