กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา(Covid-19) โรงเรียนปัตตานีวิทยา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

โรงเรียนปัตตานีวิทยากลุ่มคน (ระบุ 5 คน)

1. นายมูฮามัดยากี หะยีสะอิ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนปัตตานีวิทยา
2. นางสาวสะอีดะห์ สุหลง ผู้อำนวยการโรงเรียนปัตตานีวิทยา
3. นางสาวฟาตีเมาะ แวนาแว ครูอนามัยโรงเรียน
4. นางสาวซีตีมารีแย เจะโวะครูผู้ประสานงานโครงการ
5. นายมูฮำหมัด เจะสะอิ เจ้าหน้าที่การเงิน

โรงเรียนปัตตานีวิทยา ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจา-นุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ยังทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่รวมทั้งพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัจจุบันการระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล ฉะนั้นการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง
ในการนี้ รัฐบาลมีนโยบายให้โรงเรียนเปิดเรียนแบบ on-site โดยต้องทำเป็นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covidfreesetting(เปิดเทอมปลอดภัยห่างไกลโควิด-19) ดังนั้นโรงเรียนจึงให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน ครูและบุคลากร ควบคู่กับการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพการศึกษา ที่ผ่านมาได้มีกิจกรรมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบถ้วน และมีแผนการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงและสุ่มตรวจ ATK เชิงรุกในกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในสังกัดเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์
โรงเรียนปัตตานีวิทยา จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหานักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) เชิงรุกด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ในสถานศึกษา

ร้อยละ 100 ของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)

0.00 100.00
2 . เพื่อคัดกรองนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษา จากการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันและลดการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ตามนโยบายของรัฐบาลและนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัด

ร้อยละ 100 ของนักเรียน ครูและบุคลากรทาง  การศึกษา ที่ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์สามารถเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องตามมาตรฐาน

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 262
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อ/จัดจ้าง ค้นหาและคัดกรองด้วยชุดตรวจ ATK ให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อ/จัดจ้าง ค้นหาและคัดกรองด้วยชุดตรวจ ATK ให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แอลกอฮอล์สำหรับเช็ดอุปกรณ์ต่าง ๆขนาด 5 ลิตรจำนวน 15 แกลอน ๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 6,750บาท
  2. เจลล้างมือชนิดขวดฝาปั๊ม ขนาด 450 มล.จำนวน 30 ขวด ๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
  3. ชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วน (น้ำลายและจมูก) จำนวน 287 ชุด ๆ ละ 75 บาทเป็นเงิน 21,525 บาท
  4. หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (ผู้ใหญ่)จำนวน 10 กล่อง ๆ ละ 100 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท
  5. หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (เด็ก)จำนวน 15 กล่อง ๆ ละ 120 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท
  6. น้ำยาฆ่าเชื้อ ขนาด 2,500 มล. จำนวน10ขวด ๆ ละ 90 บาท เป็นเงิน900บาท
  7. ถุงมือยางป้องกันเชื้อโรค จำนวน 10 กล่อง ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  8. เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดแบบขาตั้งจำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ1,900 บาท เป็นเงิน 3,800บาท
  9. ถุงแดงใส่ขยะติดเชื้อ ขนาด 26×34 นิ้ว จำนวน 10 ห่อ ๆละ 80 บาทเป็นเงิน800บาท
  10. ถังขยะติดเชื้อแบบฝาปิด จำนวน 1 ชุด ชุดละ 320 บาท เป็นเงิน320 บาท
  11. ค่าป้ายไวนิล 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC)ขนาด 2.50×1.20 เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 900 บาท
    (สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ)รวมเงิน 42,045บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ที่มีความเสี่ยงได้รับการคัดกรองโควิด-19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42045.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,045.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการคัดกรองเบื้องต้นด้วยชุดตรวจ ATKไม่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ในสถานศึกษาและชุมชน
2. สถานศึกษามีวัสดุอุปกรณ์เพียงพอในการค้นหาและคัดกรองนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา


>