กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

วัยเรียนวัยใส ห่วงใยสุขภาพ บางปลาหมอปี 65

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมตาดีกาหมู่ที่ 8บ้านบางปลาหมอ

1. นายสะอารี มะตีเยาะ
2. นายอัชรีย์ สะมาแอ
3. นายดือราซ ยุนุ
4. นางเสาเดาะ ตาเละ
5. นางสาวซีตีคอรีเยาะ มูฮิ

หมู่ที่ 8 บ้านยางปลาหมอ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

61.95

เด็กวัยเรียนคือเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-19 ปี ซึ่งกำลังศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในการส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้องด้านสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญหากได้ปลูกฝังและเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ จะทำให้เด็กหรือเยาวชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง โรคหรืออุบัติเหตุต่างๆในเด็กวัยเรียนอาจพบได้บ่อยเกิดขึ้นเสมอ และจากสถานการณ์ด้านสุขภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภาวะทางทุพโชนาการ ยาเสพติด สุขภาพจิต ภัยมืดต่างๆที่คุกคามสุขภาพ ทางชมรมมองเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมและเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพให้แก่เด็กวัยเรียนต้องมีการการจัดกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆเพื่อให้เด็กๆได้เข้าร่วมกิจกรรมในการเรียนรู้ให้เข้ากับวัยที่กำลังเรียนรู้ และเติบโตอย่างมีคุณภาพในอนาคต กิจกรรมที่เข้ากับกลุ่มวัยนี้คือการที่ให้เด็กๆได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย มีการขยับกายและสอดแทรกในเรื่องขององค์ความรู้และการเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่ดี
ทุกภาคส่วนในพื้นที่ต้องร่วมกันเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพ ชมรมตาดีกาบ้านบางปลาหมอก็เป็นองค์กรที่มีความสำคัญในพื้นที่มีหน้าที่ในการฝึกอบรมเยาวชนให้มีจริยธรรม ความรู้ และพัฒนาการของเยาวชน นอกเหนือจากเวลาเรียนปกติของเยาวชน เป็นเวลายาวนานได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และยังเห็นคุณค่าของการมีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ จึงได้จัดทำโครงการวัยเรียนวัยใส ห่วงใยสุขภาพ บางปลาหมอ ปี 65 เพื่อเพิ่มทักษะด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัว เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพดีนำสู่พัฒนาการที่ดีตามวัยและการใช้เวลาว่าง การแบ่งเวลาที่สมเหตุสมผลต่อการใช้ชีวิตในประจำวันได้อย่างมีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กเยาวชนในพื้นที่ได้มีความรู้ ทัศนคติที่ดีและมีภูมิคุ้มกันต่อภัยมืดที่คุกคามสุขภาพในปัจจุบัน

ร้อยละ 90 ของเด็ก 6 – 12 ปี ได้รับการอบรมและฟื้นฟูองค์ความรู้ด้านสุขภาพ

90.00 81.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 6 – 12 ปี ในหมู่บ้านได้มีกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกายอย่างสม่ำเสมอ

ร้อยละ 90 ของเด็ก 6 – 12 ปี ได้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วันๆละไม่น้อยกว่า 30 นาที

90.00 81.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาทักษะ องค์ความรู้

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาทักษะ องค์ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องส่งเสริมสุขภาพแก่เด็กและเยาวชนในหัวข้อ “คุณค่าของตนเอง” - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 1 วัน ๖๐ บ x ๖๐ คนเป็นเงิน ๓,๖๐๐ บาท. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 วัน ๓๕ บ.x ๖๐ คน x ๒ มื้อเป็นเงิน๔,๒๐๐ บาท - ค่าวิทยากรจำนวน๔ ชม. x ๓๐๐ บ.เป็นเงิน๑,๒๐๐ บาท - ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ๑ ผืน เป็นเงิน ๘๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 9,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นนำไปสู่การปรับเปลี่ยนทัศนคติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9800.00

กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้จิตอาสา พัฒนาบ้านเกิด

ชื่อกิจกรรม
เรียนรู้จิตอาสา พัฒนาบ้านเกิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาบ้านเกิด สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนปลอดโรค - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจิดกิจกรรม (ถุงดำ ถุงแดง ถังขยะ วัสดุทางการเกษตร จอบ เสียม พันธ์ไม้ และอื่นๆเพื่อใช้ในกิจกรรม) เป็นเงิน2,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการจัดกิจกรรมและเด็กๆเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
  • เยาวชนเกิดการเรียนรู้
  • ประชาชนมีความสนใจและตระหนักในกิจกรรมที่ลูกหลานได้ร่วมกิจกรรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2600.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกาย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมการขยับ การเคลื่อนไหวทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมขยับกาย เคลื่อนไหวทางกายในเวลาว่าง - ค่าวัสดุกิจกรรมอุปกรณ์ในการจิดกิจกรรม (ลูกฟุตบอล วอลเลย่ ตะกร้อ แฮนด์บอล เชือกกระโดด และอื่นๆที่ใช้ในกิจกรรม เป็นเงิน2,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2600.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เด็กและเยาวชนในศูนย์ตาดีกาบ้านบางปลาหมอ มีความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ
๒. เด็กและเยาวชนมีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใต
๓. เยาวชนในพื้นที่ได้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมจิตอาสาต่างๆ เช่น กิจกรรมส่งเสริมด้านสุขภาพ กิจกรรมดูแลสิ่งแวดล้อม
๔. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานในพื้นที่


>