กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารเช้าเพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองแจ่มใส ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมานชัยพัฒน์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมานชัยพัฒน์

1.นางเจ๊ะอะ สัญญา ตำเหน่ง ครู เบอร์โทร 0850796221
2.นางลิยะ เหมสลาหมาด ตำเหน่ง ครู เบอร์โทร 0950859431
3.นางสาวกูจิตรา หลังจิ ตำเหน่ง ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก เบอร์โทร 0896812018
4.นางสาวฮามีน๊ะ จิตต์เพียร ตำเหน่ง ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก เบอร์โทร 0860148114
5.นายเจ๊ะอาด สัญญา ตำเหน่ง ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กเบอร์โทร 0896559070

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมานชัยพัฒน์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

 

15.00

หลักการและเหตุผล
การพัฒนาชาติที่สำคัญ คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งกายและจิตใจ ตลอดจนมีความสามารถในการเรียนรู้เพื่อให้มีศักยภาพสูงอันเป็นปัจจัยหลัก ในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืนอันดับแรกของการพัฒนาคน คือ การพัฒนาสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานการพัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม จิตใจและสติปัญญา ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรมของเด็ก อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ขวบเป็นช่วงสมองของเด็กมีการเติบโตมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ หากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมอื่นๆได้เหมาะสม สมองของเขาก็จะเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้ คือ รากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของคนเราเมื่อเติบโตขึ้น วัย 5 ขวบแรกจึงเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตที่มีความต้องการสารอาหารครบทุกหมู่ ทำให้เด็กมีปัญญาเฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบุูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้และการเจริญของร่างกาย เมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบิกบาน พร้อมเปิดรับการเรียนรู้ใหม่ๆ อาหารเช้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจากการสอบถามและสังเกตุจากเด็กนักเรียนทั้งหมด ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์มาโรงเรียน และ จากผลงานวิจัยตีพิมพ์ออกมามากมายเกี่ยวกับประโยชน์ของการทานอาหารเช้าที่ส่งผลต่อทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และพลังสมองของเด็กเพราะการที่นักเรียนไดรับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเป็นประจำ จะมีสมาธิและสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ด้กว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้า และจะทำให้เด็กฉลาดและเก่งขึ้น ดังนั้น อาหารเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับ แต่ด้วยปัจจุบันการใช้ชีวิตที่เร่งรีบชองผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด ทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัยเนื่องจากขาดอาหารสำคัญมื้อแรก จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมานชัยพัฒน์ ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงจัดทำโครงการอาหารเช้า เพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองใส เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมายชัยพัฒน์ ได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบหมู่ เพื่อสุขภาพและร่างกายเจริยเติบโตสมวัย มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัย จากการจัดกิจกรรมปีที่ผ่านมา กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 คนพบว่า เมื่อเสร็จสิ้นโครงการเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐาน ร้อยละ 80 เป็นไปตามเกณฑ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

จำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน(คน)

15.00 0.00
2 เพิ่มการกินอาหารเช้าของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

จำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ที่กินอาหารเช้าอย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้น

5.00 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 15
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ศึกษาพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของเด็กกลุ่มอายุ 2-5 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมาชัยพัฒน์
-ประเมินภาวะโภชนาการในเด็ก โดย การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงบันทึกผลลงในสมุดบันทึกประวัติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2565 ถึง 31 มกราคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

วางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารในกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ ร่วมสร้าง โภชนาการสมวัยในศูุนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
เรียนรู้ ร่วมสร้าง โภชนาการสมวัยในศูุนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ ครู ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 25 คน เพื่อขับเคลื่อนงานโภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และจุดประกายความความคิดเด็กไทยมีโภชนาการสมวัยเพื่อนำไปสู้นวัตกรรมโภชนาการ กำหนดการ
เวลา 13.00- 13.30 น.ลงทะเบียน/เปิดพิธี
เวลา 13.30 - 14.30 น.วิเคราะห์การจัดอาหารและโภชนาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของตนเองและการแก้ปัญหา โดยวิทยากรนักโภชนาการ รพ.สตูล
เวลา 14.30 - 15.30 น.วางแผนจัดการด้านอาหารและโภชนาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยวิทยากรนักโภชนาการ รพ.สตูล
เวลา 15.30 - 16.30 น.เทคนิคการทำอาหารให้อร่อย และรูปลักษณ์ชวนกินสำหรับเด็กปฐมวัย โดยวิทยากรนักโภชนาการ รพ.สตูล
เวลา 16.30 น. ปิดพิธี
รายละเอียดงบประมาณ
1.ค่าอารอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 คนๆละ 25.- บาท เป็นเงิน 625.- บาท
2.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600.- บาท จำนวน 1 คนเป็นเงิน 1,800.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 เมษายน 2565 ถึง 15 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ได้รับการส่งเสริมอาหารเช้าเหมะสมตามช่วงวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2425.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการบริโภคอาหารเช้า

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการบริโภคอาหารเช้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก พร้อมแปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิง การเจริญเติบโตสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ติดตามเด็กก่อนวัยเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการพร้อมให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ผู้ปกครองและให้อาหารเสริมนมแก่เด็กทุกวันทำการ ในภาวะที่พบขาดสารอาหารรุนแรงประสานงานกับเจ้าหน้าที่เพื่อส่งเข้ารักษาต่อ โดยเมนูประจำสัปดาห์หมุนเวียนไปดังนี้
วันจันทร์/พุธ เมนูน้ำเต้าฮู้/โอวัลตินร้อน/ขนม /นม/ไข่ วันอังคาร/พฤหัสบดี/ศุกร์ เมนูข้าวตม สลับปลา/เนื้อ/ไก่/กุ้ง /นม/ไข่
รายละเอียดงบประมาณ
1.จัดทำอาหารเช้าเพื่อน้อง ทุกวันทำการสำหรับเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 15 คนๆละ 16.-บาท จำนวน 104 วัน เป็นเงิน 24,960.00 บาท
2.จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 3,600.- บาท
หมายเหตุ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 จึงมีการเปลี่ยนแปลงการจัดอาหารให้เด็กจากเดิมเด็กรับประทานอาหารที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯเปลี่ยนแปลงมารับอาหารที่ศูนย์ฯกลับไปรับประทานที่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ได้รับประทานอาหารเช้าที่เหมาะสมกับช่วงวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28560.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,985.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการถั่วเฉลี่ยจ่าย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐานลดลง
2.จำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ที่กินอาหารเช้า อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้น


>