กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยาบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองความเสี่ยงโรคโควิด-19 กลุ่มนักเรียนเเละครูโรงเรียนบ้านยาบี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยาบี

โรงเรียนบ้านยาบี

-

โรงเรียนบ้านยาบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563และตามมติคณะรัฐมนตรี ได้ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปถึง
30 กันยายน 2564 และในปี 2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (Covid-19) ที่ 11 / 2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุมตามข้อกำหนดออก ตามความในมาตรา 19 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคมพ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 นั้น สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดต่อเชื้อ Covid - 19 ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในหลายพื้นที่ของประเทศโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑลรวมถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดถึง 29 จังหวัดเนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศไทย ซึ่งจังหวัดปัตตานี อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดด้วย อีกทั้งยังมีการรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกัน ไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคลากรทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงใน 7 กลุ่มโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูงหรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ของกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข จึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกันตามหลัก New Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ในการนี้มีนโยบายให้โรงเรียนเปิดสอนแบบ on-site โดยต้องทำเป็นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covid freeมีกิจกรรมให้ครูและนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกัน covid-19 ครบถ้วน มีการสุ่มตรวจนักเรียนที่มาเรียน onsite ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19)ให้ทันต่อสถานการณ์ ด้วยเหตุนี้โรงเรียนบ้านยาบี จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองความเสี่ยงโรคโควิด-๑๙ กลุ่มนักเรียนและครูโรงเรียนบ้านยาบี เพื่อเป็นการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส Covid-19 ในสถานศึกษา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส Covid - 19 ในสถานศึกษา
  1. นักเรียน ครูและบุคลากรในสถานศึกษา ได้รับการคัดกรองร้อยละ 90
50.00 90.00
2 2. เพื่อจัดหา/เตรียมชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด – 19 ไว้ในการตรวจคัดกรองเชิงรุก หากมีกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อเพิ่มในอนาคต
  1. มีชุดอุปกรณ์การตรวจคัดกรองโรคโควิด – 19 พร้อมสำหรับการลงพื้นที่ตรวจเชิงรุกในอนาคต หากมีกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อเพิ่ม
50.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 219
กลุ่มวัยทำงาน 24
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 31/03/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. คัดกรอง ATK ให้กับนักเรียนครู และบุคลากรในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
1. คัดกรอง ATK ให้กับนักเรียนครู และบุคลากรในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit (ATK)  243 ชุด ชุดละ 55.-บาท  เป็นเงิน 13,365 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการเฝ้าระวัง จากการคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATKและมีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21870.00

กิจกรรมที่ 2 2. รวบรวมผลการคัดกรองฯ เพื่อรายงานผลให้แก่ผู้บริหารต่อไป

ชื่อกิจกรรม
2. รวบรวมผลการคัดกรองฯ เพื่อรายงานผลให้แก่ผู้บริหารต่อไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการเฝ้าระวัง จากการคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATKและมีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,870.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการเฝ้าระวัง จากการคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATKและมีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด


>