กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชน ดูแลรักษาสุขภาพและเตรียมพร้อมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชน ดูแลรักษาสุขภาพและเตรียมพร้อมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

สถานีตำรวจภูธรสุไหงโก-ลก

ปรัชญาไบเตะ
สิงหนาทหอยตุคุ

อาคารและลานจอดรถหลังกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปาเสมัส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากปัจจุบันปัญหาการจารจรด้านการใช้รถใช้ถนน ในพื้นที่ อำเภอสุไหงโก-ลก นับวันยิ่งสะสมมากขึ้น จากการเพิ่มของจำนวนประชากร และจำนวนยานพาหนะบนท้องถนน ประกอบกับการขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดระเบียบวินัยในการปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ขับขี่ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาและเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจราจรได้ทุกเวลา ดังนั้นควรให้มีการจัดอบรมด้านวินัยจราจร เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนได้พัฒนาตนเองในการสัญจร การใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย เคารพกฎจราจร ลดปัญหาการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน โดยส่วนใหญ่ยังไม่เคารพกฎจราจร ขับรถย้อนศร ไม่สวมใส่หมวกกันน๊อค ยังขาดความรู้ความเข้าใจในสัญลักษณ์จราจร การบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อย สูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ ช่วงเวลาที่ผ่านมาในระยะที่ไม่นานเท่าใดนัก เมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะพบว่าอัตราการป่วยตายของคนไทยมีสาเหตุสำคัญเกิดจากโรคภัยที่เป็นผลมาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทั้งสิ้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจเรียกว่าพฤติกรรมเสี่ยงก็ว่าได้ พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ในหลายสถานการณ์ เช่น การอุปโภคบริโภค การพบปะสังสรรค์ (Interaction) ในกลุ่มมนุษย์ การขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ปลอดภัย ในการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนที่ไม่ปลอดภัยนั้น ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นนั้นนับเป็นความสูญเสียอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อำเภอสุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาส
ทั้งนี้จาก สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในแต่ละปีมีจำนวนมาก อุบัติเหตุเหล่านี้มักมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้ขับขี่ (2) ปัจจัยด้านรถหรือยานพาหนะ (3) ปัจจัยด้านถนนและสิ่งแวดล้อม และ (4) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการอุบัติเหตุที่เป็นผลมาจากปัจจัยทั้ง 4 ข้างต้นนี้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วย่อมส่งผลให้เกิดความเสียหายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่ตีค่าเป็นตัวเงินหรือความเสียหายที่ไม่อาจตีค่าเป็นตัวเงินได้ จากความสูญเสียดังกล่าว นับว่าเป็นภัยอย่างร้ายแรงที่จะส่งผลเสียหายต่อสังคมในภาพรวม ซึ่งรัฐบาลในยุคที่ผ่านมาจวบจนถึงรัฐบาลในยุคปัจจุบันได้เล็งเห็นความสำคัญที่จะทำการรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนมิให้เกิดขึ้นหรือให้เกิดขึ้นได้ในจำนวนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเน้นการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เป็นหลักด้วยมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐพยายามคิดรูปแบบและนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม แต่เมื่อพิจารณาถึงจำนวนสถิติที่ผ่านมา กลับพบว่าจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนนก็ยังเกิดขึ้นให้เห็น ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาแล้วการดำเนินการโดยภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่เพียงพอ ในยุคปัจจุบันควรที่จะคิดรูปแบบอื่น ๆ โดยเฉพาะการนำภาคประชาชน นักเรียน นักศึกษา ในท้องถิ่นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอุบัติเหตุอีกทางหนึ่งนั้น
สถานีตำรวจภูธรสุไหงโก-ลก จึงได้จัดทำ “โครงการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชน ดูแลรักษาสุขภาพและเตรียมพร้อมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน”โดยประชาชนในชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่มีส่วนร่วม มีการส่งเสริมให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางจราจรเกิดพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัยตลอดจนเกิดภาคีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่โดยหน่วยงานของรัฐให้การสนับสนุน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี

ประชาชนสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตใจสมบูรณ์

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีวินัย มีความรู้เรื่องกฎหมาจราจรและมีความพร้อมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ให้ ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน
  1. กลุ่มเป้าหมายมีวินัย มีความรู้เรื่องกฎหมาจราจรและมีความพร้อมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน
  2. กลุ่มเป้าหมายสามารถป้องกันอุบัติเหตุใช้เส้นทางจราจรเกิดพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัย
  3. อัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในพื้นที่ลดลง
  4. เกิดภาคีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 240
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 31/05/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสร้างจิตสำนึกให้ประชาชน ดูแลรักษาสุขภาพและเตรียมพร้อมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างจิตสำนึกให้ประชาชน ดูแลรักษาสุขภาพและเตรียมพร้อมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600.- บาท จำนวน 2 รุ่น ๆ ละ  1 คน
         เป็นเงิน  3,600.- บาท 2 ค่าสมนาคุณวิทยากรภาคปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600.- บาท จำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 4 คน
         เป็นเงิน 14,400.- บาท 3 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง รุ่นละจำนวน 135 คน
      จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 1 มื้อ ๆละ 25 บาท            เป็นเงิน  13,500.- บาท
4 ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง รุ่นละจำนวน 135 คน
      จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท              เป็นเงิน  13,500.- บาท 5 ค่าจัดทำป้ายโครงการฯ ขนาด 2.5 × 2 เมตร จำนวน 1 แผ่น           เป็นเงิน   1,250.- บาท 6 ค่าอุปกรณ์ในการจัดอบรม
      - เสื้อสะท้อนแสง จำนวน 40 ตัว ๆ ละ 280.- บาท                   เป็นเงิน   11,200.- บาท       - กรวยยางสีส้ม   จำนวน 20 อัน ๆ ละ   500 บาท                       เป็นเงิน   10,000.- บาท       - กรวยยางพับได้ พร้อมไฟ LED  จำนวน 6 อัน ๆ ละ  590  บาท       เป็นเงิน    3,540.- บาท       - นกหวีด จำนวน 40 ตัว ๆ ละ 200.- บาท                              เป็นเงิน     8,000.- บาท       - ถุงมือ จำนวน 40 คู่ ๆ ละ 25 บาท                       เป็นเงิน     1,000.- บาท       - ป้ายไวนิล“ห้ามย้อนศร”(1.1×0.7 ม.) จำนวน 4 แผ่นๆละ 193.- บาท เป็นเงิน     772.- บาท       - ป้ายไวนิล “ตรวจจับความเร็ว” (1.1×0.7 ม.) จำนวน 2 แผ่น ๆ ละ 193.- บาท เป็นเงิน    386.- บาท       - หน้ากากอนามัย จำนวน 6 กล่อง ๆ 100 บาท                 เป็นเงิน        600.- บาท       - เจลแอลกอฮอล์ ล้างมือ 450 มม.จำนวน 4 ขวด ๆ ละ 120 บาท     เป็นเงิน         480.- บาท                                 รวมเป็นเงิน 35,978.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีจิตสำนึกในการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจมากยิ่งขึ้น
    1. ประชาชนมีวินัยและมีความพร้อมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุเป็นท้องถนน
  2. ประชาชนสามารถป้องกันอุบัติเหตุใช้เส้นทางจราจรเกิดพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัย
  3. อัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในพื้นที่ลดลง
  4. เกิดภาคีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
82228.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 82,228.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีจิตสำนึกในการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจมากยิ่งขึ้น
2. ประชาชนมีวินัยและมีความพร้อมในการขับขี่รถจักรยานยนต์ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุเป็นท้องถนน
3. ประชาชนสามารถป้องกันอุบัติเหตุใช้เส้นทางจราจรเกิดพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัย
4. อัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในพื้นที่ลดลง
5. เกิดภาคีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่


>