กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปาเสมัส

นายปฏิวัติเด่นอร่ามคาน
นายอำราญปาติ
นางสาวพยอมนิลวิสุทธิ์
นางสาวอาบีบะสาแม
นางสาวซานีตาอุมา

สำนักงานเทศบาลตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้สัดส่วนของผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสที่อยู่คนเดียวตามลำพังในครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับสภาพสังคมในปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมแห่งผู้สูงวัย ปัญหาที่เกิดขึ้นของผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส นอกจากปัญหาด้านการเงินที่ต้องเลี้ยงชีพแล้ว ปัญหา สุขภาพร่างกายอ่อนแอช่วยเหลือตนเองได้น้อยลง ถือเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสมิใช่อยู่ที่อายุอย่างเดียวเท่านั้น แต่การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เห็นได้ชัดนั้นจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆ อย่าง เช่น พันธุกรรม การดำเนินชีวิต และสภาพจิตใจด้วย ฉะนั้นการยอมรับการเปลี่ยนแปลงจะขึ้นอยู่กับการได้รับการสุขศึกษาให้รู้ว่าจะมีการเสื่อมของร่างกาย รู้ถึงการปรับตัวหรือสังเกตการเสื่อมของร่างกายได้อย่างไร ถ้าขาดความรู้ความเข้าใจอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์อย่างมากมายซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายนั่นเอง ในผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสเมื่อร่างกายเสื่อมสมรรถภาพจะมีการเสียบทบาทของตัวเอง ทำให้ความเชื่อมั่นในตัวเองลดลง และจะส่งผลไปถึงกิจกรรมประจำวัน ไม่เป็นที่พอใจ ทำให้เกิดความวิตกกังวล และยิ่งได้พบเห็นสภาพของคนที่อยู่ในวัยเดียวกัน ยิ่งทำให้เกิดความกลัว อารมณ์เศร้า ซึมลง และสิ้นหวัง ตลอดช่วงชีวิตของมนุษย์ย่อมที่จะเผชิญกับความทุกข์สุขแตกต่างกันตามแต่ประสบการณ์ของบุคคล เรื่องของจิตใจก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน จะเป็นการดี ถ้าเราได้เตรียมตัวกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า
ประกอบกับประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนโดยรวม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาตามกระแสวัตถุนิยมได้สร้างความเปลี่ยนแปลงเป็นผลกระทบเชิงลบในระดับวิกฤตต่อสังคมไทย เป็นต้นว่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ สังคมเมืองและสังคมชนบท การศึกษาสูงแต่คุณธรรมการช่วยเหลือคนในสังคมในลักษณะพึ่งพาอาศัยและความเกื้อกูลกันน้อยลง ส่งผลให้ชุมชนอ่อนแอเกิดผลกระทบต่อสถาบันครอบครัวและขาดความสมดุล ประชาชนมีความลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสในสังคม ได้แก่ เด็ก เยาวชน คนพิการ ผู้สูงอายุ คนยากจน การเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องมีการเสริมสร้างภูมคุ้มกันประชาชนในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตรูปแบบการป้องกัน การแก้ไขฟื้นฟู การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้มีทักษะทางสังคมที่เหมาะสมภายใต้บริบทของชุมชนให้เป็นเมืองที่น่าอยู่
เมื่อเป็นเช่นนี้เทศบาลตําบลปาเสมัสจึงมีเจตจํานงที่จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้ (7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ และ พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (10) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส เทศบาลตําบลปาเสมัสได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565) ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต แผนงานสังคมสงเคราะห์ โครงการพัฒนาศักยภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสได้รับความรู้ ความเข้าใจ หลักการและวิธีการพัฒนาศักยภาพของตนเอง
เพื่อพัฒนาฟื้นฟูให้สถาบันครอบครัวและชุมชนมีการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีคืนสู่สังคมคุณภาพ และมีภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจมั่นคงยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมดี จําเป็นต้องส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้กับครอบครัวและชุมชนให้เป็นชุมชนน่าอยู่ สิ่งแวดล้อมดี
ให้มีมาตรการและกลไกลที่เสริมสร้างผลิตภาพทุนทางสังคมทุนมนุษย์ ทุนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปตาม มาตรการที่จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและบรรเทาความเดือดร้อนให้น้อยลง เทศบาลตําบลปาเสมัสจึงได้ จัดทํา “โครงการพัฒนาศักยภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส” ขึ้นโดย อบรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ กับผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้มีความรู้ความ เข้าใจ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจในการรักษาสุขภาพอนามัยของ ตนเองทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจในชีวิตประจําวัน และปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง

 

0.00
2 สร้างจิตสํานึกให้ชุมชนเกิดความเอื้ออาทรห่วงใย เห็นความสําคัญและปฏิบัติตนต่อผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสได้อย่างถูกต้อง

 

0.00
3 เพื่อให้ชุมชนมีความรัก เสียสละ สามัคคี เอื้ออาทรต่อกันและมีส่วนร่วมพัฒนาให้ชุมชนมีความ เจริญรุ่งเรือง ยั่งยืน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การรักษาสุขภาพอนามัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การรักษาสุขภาพอนามัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 65 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ         ละ 50 บาท                                เป็นเงิน 3,250 บาท              2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 65 คน
           จำนวน 2 มื้อ ๆ 25 บาท                         เป็นเงิน 3,250 บาท
        3.ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน  6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท       เป็นเงิน  3,600 บาท         4.ค่าเอกสารประกอบการอบรม
           - ค่ากระเป๋าผ้า  จำนวน 60 ชุดๆ ละ 40 บาท              เป็นเงิน 2,400 บาท            - ค่าสมุด จำนวน 60 เล่มๆ ละ 5 บาท                เป็นเงิน    300 บาท
           - ค่าปากกา จำนวน 60 ด้ามๆ ละ 5 บาท            เป็นเงิน    300 บาท         5.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.5X2 เมตร จำนวน 1 ผืน            เป็นเงิน    750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส มีความรู้ความเข้าใจในการรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองทั้ง ด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจในชีวิตประจําวัน และปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง
  2. ชุมชนเกิดความเอื้ออาทรห่วงใย เห็นความสําคัญ และปฏิบัติตนต่อผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสได้อย่างถูกต้อง

3.ชุมชนมีความรัก เสียสละ สามัคคี เอื้ออาทรต่อกันและมีส่วนร่วมพัฒนาให้ชุมชนมีความ
เจริญรุ่งเรือง ยั่งยืน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13850.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตาม/เยี่ยมเยียนบ้านผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสเพื่อพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม/เยี่ยมเยียนบ้านผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสเพื่อพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการโดยไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส มีความรู้ความเข้าใจในการรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองทั้ง ด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจในชีวิตประจําวัน และปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง
  2. ชุมชนเกิดความเอื้ออาทรห่วงใย เห็นความสําคัญ และปฏิบัติตนต่อผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสได้อย่างถูกต้อง

3.ชุมชนมีความรัก เสียสละ สามัคคี เอื้ออาทรต่อกันและมีส่วนร่วมพัฒนาให้ชุมชนมีความ
เจริญรุ่งเรือง ยั่งยืน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส มีความรู้ความเข้าใจในการรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองทั้ง ด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจในชีวิตประจําวัน และปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง
2. ชุมชนเกิดความเอื้ออาทรห่วงใย เห็นความสําคัญ และปฏิบัติตนต่อผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสได้อย่างถูกต้อง
3.ชุมชนมีความรัก เสียสละ สามัคคี เอื้ออาทรต่อกันและมีส่วนร่วมพัฒนาให้ชุมชนมีความ
เจริญรุ่งเรือง ยั่งยืน


>