กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านโคกโตนด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

รพ.สต.บ้านโคกโตนด

พื้นที่ หมู่ที่ 3,7,8 รพ.สต.บ้านโคกโตนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการคัดกรอง HbA1C 1 ครั้ง/ปี

 

56.41
2 ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับโลหิตสูงได้ดี

 

12.50

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขเป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วมและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากการเก็บข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนดในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงพบว่า 1.ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและได้รับการตรวจติดตามที่เหมาะสม 3 ปี ย้อนหลัง ร้อยละ 70.73,88.1 และ 48.72 ตามลำดับ 2.ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการตรวจ HbA1C อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี 3 ปี ย้อนหลัง 85.71 และ 56.41 ตามลำดับ 3.ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนและมารับการรักษาในเขตรับผิดชอบ 3 ปี ย้อนหลัง 77.4,92.17 และ 34.82 ตามลำดับ 4.ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับโลหิตได้ดี 3 ปี ย้อนหลัง 29.52,67.83 และ 12.5 ตามลำดับ จากข้อมูลข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพได้เล็งเห็นว่าผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงยังมีการควบคุมโรคที่ไม่ดีนัก จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านโคกโตนด ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดแยกกลุ่มเป้าหมายในการส่งเสริมสุขภาพ

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีประสิทธิภาพ

50.00 80.00
2 เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีผลการคัดกรองที่ผิดปกติได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

20.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 110
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมชี้แจง อสม.และผู้นำชุมชนเกี่ยวกับการจัดทำโครงการ

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมชี้แจง อสม.และผู้นำชุมชนเกี่ยวกับการจัดทำโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมจี้แชงเกี่ยวกับการจัดทำโครงการ กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มผู้ป้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 110 คน สถานที่จัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกโตนด ภายในเดือน มิถุนายน 2565 - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน อัตราคนละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.และผู้นำชุมชนรับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 2.จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
2.จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

หกิจกรรมที่ 2 จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน การดูแลสุขภาพร่างกายและการออกกำลังกายที่เหมาะสม - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 110 คน อัตราคนละ 50 คน จำนวน 1 มื้อ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 110 คน อัตราคนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ - ค่าเอกสารการอบรม จำนวน 110 ชุด ชุดละ 30 บาท - ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1 x 2 เมตร เป็นเงิน 650 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังแลการดูแลที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14950.00

กิจกรรมที่ 3 3.จัดเวทีประชุมฟื้นฟูองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานแก่อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
3.จัดเวทีประชุมฟื้นฟูองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานแก่อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 จัดเวทีประชุมฟื้นฟูองค์ความรู้แก่อาสาสมัครประจำหมู่บ้านเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่ถูกต้อง มีรายละเอียดดังนี้ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย การดูแลสุขภาพร่างกายและการออกกำลังกายที่เหมาะสม โดยมีรายจ่ายดังนี้ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 27 คน อัตราคนละ 50 บาทจำนวน 1 มื้อ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 27 คน อัตราคนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านจาก อสม.ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2700.00

กิจกรรมที่ 4 4.ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานโดยทีมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
4.ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานโดยทีมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเยี่ยมบ้านโดยทีมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน มีรายละเอียดดังนี้ ชั้งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตสูง เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว แนะนำการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม แนะนำวิธีลดความเครียดที่เหมาะสม มีรายจ่ายดังนี้ -ค่ายานพาหนะสำหรับการติดตามเยี่ยมบ้าน 27 คน อัตราคนละ 50 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการเจาะเลือดประจำปี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 90
2.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีผลการคัดกรองที่ผิดปกติได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง ร้อยละ 80


>