กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไผ่โทน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไผ่โทน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังปึ้ง

นายสมบูรณ์ ปิติจะ และคณะทำงาน

พื้นที่หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านวังปึ้ง (หมู่ 4,5,7 หมู่ 8 ตำบลไผ่โทน)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ทีมครู ก. มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ วิธีตรวจ Antgen Test (ATK-Test)

 

100.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

100.00

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปัจจุบันใรประเทศไทยยังพบผู้ป่วยรายใหม่แต่ละวันมีจำนวนที่สูงอยู่มาก สำหรับเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังปึ้ง พบมีผู้ป่วยโรคไวรัสโคโรนา 2019 ใน 3 หมู่บ้านจากจำนวนหมู่บ้านที่รับผิดชอบที่รับผิดชอบ 4 หมู่บ้านและประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบยังไม่ได้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 ครบตามเกณฑ์คือไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ทำให้ประชาชนในพื้นที่ไม่มีภูมคุ้มกันโรคดังกล่าว หากสัมผัสหรือได้รับเชื้อก็อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ดังนั้นเพื่อการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคเข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังปึ้งจึงได้จัดโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนประจำหมู่บ้าน ผู้นำหมู่บ้าน ฯลฯ เพื่อสร้างทีมวิทยากร ทีมครู ก. ขึ้น เพื่อที่ทีมวิทยากรจะได้นำองค์ความรู้ไปประชุมชี้แจงให้ความรู้แนะนำประชาชนในการป้องกันควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาและมีความรู้ในการใช้ชุดตรวจ Antigen Test (ATK-Test) ตลอดจนรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ให้ได้รับการฉีดวัคซันป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรานา ให้ได้มากที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำหมู่บ้าน ฯลฯ เพื่อสร้างทีมวิทยากร หรือทีมครู ก

ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

80.00 70.00
2 เพื่อให้ทีมวิทยากรหรือครู ก. ได้ออกให้ความรู้และรณรงค์ให้ประชาชนให้ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคฯให้ครบตามเกณฑ์

ทีมครู ก. มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคคิดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

100.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ จำนวน 50 คน คนละ 70 บาท เป็นเงิน 3500 บาท 2.ค่าอาหารและเครื่องเดิม จำนวน 50คน คนละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2500 บาท 3.ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท 4.ค่าถ่ายเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 500 บาท 5.ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 1500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำหมู่บ้าน ตลอดจนประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2.ประชาชนได้รับการสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างทั่วถึงจนก่อให้เกิดภูมิกันชุมชน ส่งผลให้พื้นที่สามารถควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำหมู่บ้าน ตลอดจนประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2.ประชาชนได้รับการสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างทั่วถึงจนก่อให้เกิดภูมิกันชุมชน ส่งผลให้พื้นที่สามารถควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้


>