กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็ก 0-5 ปี โภชนาการดีนำสู่พัฒนาการสมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ากำชำ

ตำบลท่ากำชำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด-๕ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว จะเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิดเป็นต้นไป ซึ่งระยะแรกเกิด จะช่วยเหลือตนเองไม่ได้ จําเป็นต้องอาศัยบุคคลภายนอก โดยเฉพาะพ่อแม่ ที่ต้องให้การช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น อาหาร ให้ความรักความอบอุ่น ดูแลเอาใจใสให้ทารกมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกด้านต่างๆ ๕ ด้าน ทั้งนี้พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและ สติปัญญาด้านการเข้าใจภาษา ด้านการใช้ภาษา และด้านช่วยเหยือตัวเองและสังคม และยังพบปัจจัยว่า สภาพครอบครัว สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นบุคคลและสิ่งของ ฯลฯ มีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้แก่เด็ก นําประสบการณ์มาแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตหรือเยาว์ปัญญาได้ และนอกจากนี้ ภาวะโภชนาการของเด็กก็เป็นสิ่งสําคัญควบคู่ไปกับพัฒนาการเต็ก การมีภาวะ โภชนาการที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก โดยเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ การวางแผน พื้นฐานให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพตนเองได้อย่างเต็มที่ การขาดโภชนาการที่ดีกีดขวางการเจริญเติบโตของเด็ก ส่งผลทําให้เด็กมีพัฒนาการช้าตามมา ดังนั้น การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการกระตุ้นพัฒนาการเด็กตั้งแต่แรก จึงมีความสำคัญและจําเป็นมากที่ผู้ใหญ่จะให้แก่เด็ก แต่ปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาก สภาพครอบครัว การเลี้ยงดูเด็กก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน จากเดิมผู้เลี้ยงเป็น พ่อ แม่ เลี้ยงดูเด็กด้วยความรักและผูกพันอยู่กับบ้าน กลายเป็นการนำเด็กไปฝากเลี้ยง กับปู่ ย่า ตา ยาย และตามสถานเลี้ยงเด็กต่าง ๆ จึงทำให้พ่อ แม่ ขาดโอกาสในการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน ในการกระตุ้นพัฒนาการลูกรัก โดยเฉพาะครอบครัวที่ไม่เห็นความสำคัญด้านนี้ อนึ่งกาลเวลาอายุของเด็ก ไม่สามารถจะหวนกลับมาอีกได้ โดยเฉพาะระยะเวลาแรกเกิดถึง ๕ ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยทองของพัฒนาการเด็ก และจำเป็นต้องส่งเสริมเด็กให้มีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัยจากการดำเนินงานประเมินพัฒนาการ โภชนาการเด็ก พบว่า เด็กอายุ ๐-๕ ปี จำนวน ๒๔๖ คน ได้รับการประเมินพัฒนาการ ๕๑ คน ร้อยละ ๒๐.๗๓ มีพัฒนาการสมวัยปกติในการคัดกรองครั้งแรก ร้อยละ ๑๘.๓๐ และพัฒนาการสงสัยล่าช้า แต่ได้รับการกระตุ้นและได้รับการติดตามภายใน ๓๐ วัน ร้อยละ ๙.๘๐ สูงที่สมส่วนร้อยละ ๗๙.๘๕ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย และพบว่าผู้ปกครองเด็ก ยังขาดความตระหนัก ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ากำชำ จึงได้จัดทําโครงการเด็ก ๐-๕ ปี โภชนาการดี นำสู่พัฒนาการสมวัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ เพื่อส่งเสริมให้เด็ก ๐-๕ ปีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัยทั้ง 4 ด้าน เฝ้าระวังและตรวจประเมิน ภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก ๐-๕ ปี ในพื้นที่ ติดตาม กระตุ้น และประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการทุกเดือน ในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการให้มีภาวะโภชนาการปกติและเด็กที่มีพัฒนาการข้าให้มีพัฒนาการสมวัยรวมถึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองของเด็ก อสม. ประชาชน มีความรู้ในการส่งเสริมและประเมินภาวะโภชนาการ และพัฒนาการเด็ก ๐-๕ ปีได้อย่างถูกต้อง จะส่งผลให้เด็กมีภาวะโภชนาการปกติและมีพัฒนาการสมวัยรวมถึงการมีสุขภาพดี เติบโตเป็นกำลังสำคัญเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับการส่งเสริมภาวะโภชนาการ การประเมินพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย

 

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามเด็ก 0-5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ และพัฒนาการช้า

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี 4 หมู่บ้าน 100
เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาการช้า 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม อสม.ผู้นำชุมชนชี้แจงโครงการรูปแบบการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุม อสม.ผู้นำชุมชนชี้แจงโครงการรูปแบบการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน 50 คน อัตรามื้อละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน อัตรามื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการวางแผนรูปแบบโครงการที่ชัดเจน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการให้เด็กมีภาวะโภชนาการปกติและพัฒนาการสมวัย ตามเกณฑ์ทั้ง 5 ด้าน

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการให้เด็กมีภาวะโภชนาการปกติและพัฒนาการสมวัย ตามเกณฑ์ทั้ง 5 ด้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน 100 คน อัตรามื้อละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 100 คน อัตรามื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปส่งเสริมและประเมินภาวะโภชนาการ และพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ได้อย่างถูกต้องไปดูแล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามพัฒนาการเด็กล่าช้า ชั่งน้ำหนักเด็ก เจาะ Hct และอ่านค่าความเข้มของเลือด

ชื่อกิจกรรม
ติดตามพัฒนาการเด็กล่าช้า ชั่งน้ำหนักเด็ก เจาะ Hct และอ่านค่าความเข้มของเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารส่งเสริมโภชนาการเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ 20 คน คนละ 500 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 10000

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กได้รับการติดตาม กระตุ้นพัฒนาการ เจาะ Hct และอ่านค่าความเข้มของเลือด ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กตามเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
ประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กตามเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. การคัดกรองพัฒนาการสมวัย 5 กลุ่มวัย (9,18,30,42,60 เดือน) ร้อยละ 90
2. ความครอบคุลมของการชั่งน้ำหนักเด็ก 0-5 ปี ร้อยละ 80
3. ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปส่งเสริมและประเมินภาวะโภชนาการ และพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ได้อย่างถูกต้องไปดูแล
4. เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ และพัฒนาการช้า ได้รับการติดตาม กระตุ้นพัฒนาการ เจาะ
Hct และอ่านค่าความเข้มของเลือด ร้อยละ 100


>