กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ชุมชนร่วมใจป้องกันไข้เลือดออก และโรคไข้มาลาเรีย แบบบูรณาการ เทิดไท้องค์ราชัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี

โรงพยาบส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี หมู่ที่ 1 ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ในรอบระยะเวลา ตั้งแต่ ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๔ ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่รับผิดชอบดูแลประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลมาโมงนั้น ได้มีรายงานการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียอย่างต่อเนื่องทุกปีในปี๒๕๖๒-๒๕๖๔ จากรายงานการเกิดโรคไข้เลือดออก จำนวน ๒ ราย บางพื้นที่มีประชาชนป่วยด้วยโรคดังกล่าวจำนวนมากเป็นซ้ำซาก ทำให้มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่ ส่งผลถึงความสูญเสียรายได้ในภาคครัวเรือน โดยในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมาโมง ทั้ง ๔ หมู่บ้าน มีจำนวนผู้ป่วยสะสมตลอดระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมาเฉพาะโรคไข้เลือดออก จำนวน ๔ ราย และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพื้นที่และลักษณะภูมิประเทศของอำเภอสุคิริน เป็นป่าเขามีฝนตกชุกตลอดปีเหมาะแก่การแพร่พันธ์ของพาหะนำโรคอย่างยุงชนิดต่างๆโดยเฉพาะยุงลายและยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย มาสู่คนได้
ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ทางกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมาโมง ได้มีการสนับสนุนงบประมาณในการควบคุมโรคให้กับหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับภาระกิจการควบคุมโรคซึ่งได้แก่โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี รับผิดชอบหมู่บ้านทั้งหมด ๔ หมู่บ้านได้รับงบประมาณในการควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา ๔ ปี ทำให้การดำเนินงานในการควบคุมโรคนำโดยแมลงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานปีแรก จำนวนผู้ป่วยด้วยไข้มาลาเรียลดลงเกินกว่า๕๐ % จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลงและในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมายังไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
จากเหตุผลและข้อมูลข้างต้นนั้นสามารถเปรียบเทียบให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าหากมีการสนับสนุนด้านงบประมาณและมีการทำงานอย่างจริงจังแล้วจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวมีแนวโน้มลดลงและไม่มีการป่วยด้วยโรคดังกล่าวอีกทั้งนี้การดำเนินงานต้องมีการดำเนินงานควบคู่กับการให้สุขศึกษาในพื้นที่และการออกสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายพร้อมทั้งทำลายแหล่งเพาะพันธ์ไปพร้อมเพื่อป้องกันและลดการเกิดโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงอันตรายของโรคติดต่อที่มีอยู่ในพื้นที่มากขึ้น ๒.เพื่อให้ประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรค การดูแลตนเอง เรื่องโรคติดต่อ และสามารถดูแลเพื่อนบ้านได้ ให้มากขึ้น ๓.เพื่อให้เกิดความร่วมมือแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนอย่างมีประสิทธิ ภาพ ๔.เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย,ไข้เลือดออก

๑.ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์แก่แกนนำหมู่บ้านให้ครอบคลุม ๔ หมู่บ้าน ๒.ปฏิบัติการพ่นหมอกควันและละอองฝอย ให้ครอบคลุม ๔ หมู่บ้าน ๓.ลดอัตราการป่วยของโรคไข้มาลาเรีย จากปี ๒๕63 ลง ๕๐ % ๔.ลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออก ลง ๕๐ %

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มแกนนำควบคุมโรคประจำหมู่บ้าน 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วิธีการดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
วิธีการดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินการ ใช้เวลาในการดำเนินโครงการ ๘ เดือน โดยมีกลวิธีดังนี้ ระยะเตรียมการก่อนดำเนินโครงการ ๑.ประชุมทีมงานเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบโครงการ ๒.เตรียมสถานที่เพื่อจัดการอบรม ทีมงาน ควบคุมโรคระดับหมู่บ้าน ๓.จัดทำเอกสารต่าง ๆ และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินโครงการ เช่น -แบบทดสอบก่อนและหลังอบรม -แผนที่หมู่บ้านเป้าหมาย -สมุดคุมการออกปฏิบัติงานควบคุมโรค -คู่มือการพ่นสารเคมี -ทะเบียนคุมแผนการพ่นสารเคมี -กล้องดิจิตอลสำหรับเก็บภาพผลงาน ระยะดำเนินการ ก่อนการระบาด
๑.จัดอบรมทีมงานพ่นสารเคมี เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนลงปฏิบัติงาน ๒.สำรวจค่าBI,CI,HI
๓.สำรวจข้อมูลและแนวทางการระบาดของโรค รวมถึงกำหนด นิยามต่างๆ ไว้เพื่อกำหนดทิศทางในกรณีเกิดเหตุการณ์ระบาดขึ้น ๔.ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์แก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดระหว่างการปฏิบัติงาน เช่น
-กลุ่ม อสม. -แกนนำครอบครัว -กลุ่มแม่บ้าน -กลุ่มเยาวชน -กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ๕.ทำแผนการออกให้สุขศึกษา ๖.ทำแผนการออกพ่นสารเคมีและเตรียมทรายอะเบท ๗.สรุปผลการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเพื่อวางแผนการในขั้นต่อไป ๘.ออกพ่นสารเคมีตามแผน ครั้งที่ ๑ ๙.เก็บข้อมูล ข้อปัญหาอุปสรรค ที่มีในระหว่างการปฏิบัติงาน มาประเมินแก้ไข เพื่อวางแผนใช้ในครั้ง ต่อไป ๑๐.สรุปการปฏิบัติงานครั้งที่ ๑ เพื่อเสนอต่อผู้บังคับบัญชาระดับต่อไป ระยะดำเนินการขณะมีการระบาด
๑.ตรวจสอบข้อมูลที่ไดรับแจ้งหรือที่ได้จากการค้นหาให้ละเอียดรอบคอบ ๒.ลงสอบสวนโรคพร้อมด้วยทำการควบคุม ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ได้แก่ -สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย -พ่นสารเคมีรัศมี ๑๐๐ เมตรตามมาตรการ -แจกทรายอะเบท ๓.ให้สุขศึกษารายบุคคล / รายกลุ่ม ตามแต่กรณี ให้บริการในเชิงรุกทุกพื้นที่ ๔.เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์หาสาเหตุ ๕.เขียนรายงาน ๕๐๖ ทุกราย ๗.ติดตามเฝ้าระวังการเกิดโรคซ้ำ ในระยะเวลา ๒๑ วัน ระยะดำเนินการหลังการระบาด
๑.ออกให้บริการในเชิงรุกในทุกพื้นที่เพื่อเป็นการปฏิบัติการเชิงจิตวิทยาชุมชน ๒.ออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยทุกรายเพื่อติดตามอาการ ๓.ให้สุขศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องการฟื้นฟูร่างกายและการดูแลตนเอง ๔.สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำ ๕.สรุปผลการดำเนินโครงการและเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์แก้ไขปัญหา เพื่อวางแผนการใช้ในครั้งต่อไป ๖.สุ่มสำรวจความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 งบประมาณ

ชื่อกิจกรรม
งบประมาณ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ     ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมาโมง ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้ - ค่าจัดอบรมกลุ่มแกนนำควบคุมโรคประจำหมู่บ้าน  ๔๐ คน -ค่าอาหารในการจัดอบรม ๕๐ บาท x ๑ มื้อ x ๔๐ คน             เป็นเงิน  ๒,๐๐๐บาท -ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง ๒๕ บาท x ๑ มื้อ x ๔๐ คน        เป็นเงิน  ๑,๐๐๐บาท -ค่าจัดทำป้ายไวนิล ขนาด ๑x๓ เมตร จำนวน ๑ ผืน                       เป็นเงิน ๗๕๐ บาท           -ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการผสมน้ำยาพ่นหมอกควัน หมูบ้านละ ๒ ครั้ง ระยะห่าง ๑ เดือน           -น้ำมันดีเซลหมู่บ้านละ ๓๐ ลิตร x ๒ ครั้ง x ๔ หมู่บ้าน จำนวน ๒๔๐ ลิตร x ๓๕ บาท                 เป็นเงิน ๘,๔๐๐ บาท           -น้ำมันเบนซินหมู่บ้านละ ๑๐ ลิตร x ๒ ครั้ง x ๔ หมู่บ้านจำนวน  ๘๐ ลิตร x ๓๗ บาท             เป็นเงิน ๒,๙๖๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๕,๑๑๐.- บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยสิบบาทถ้วน)ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15110.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,110.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ประชาชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงอันตรายของโรคติดต่อที่มีอยู่ในพื้นที่มากขึ้น
๒.มีการบูรณาการระหว่าหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ให้มากขึ้น ต่อเนื่อง ตลอดไป
๓.ผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย ลดน้อยลงทุกปี จนไม่มีผู้ป่วยอีกในอนาคต
๔.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ที่ได้ รวมถึงนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ในการควบคุมป้องกันโรคได้
๕.ชุมชนสามารถพึงตนเองได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
๖.ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าตลอดไป


>